วันศุกร์, 3 พฤษภาคม 2567

ถอดบทเรียนหญิงไทยเสียชีวิต 2 ราย ขณะเทรคกิ้งที่เนปาล

19 ธ.ค. 2022
3261
Spread the love

ถอดบทเรียนหญิงไทยเสียชีวิต 2 ราย ขณะเทรคกิ้งที่เนปาล

“ความจริง เทรคกิ้งเนปาล” ไม่อันตรายอย่างที่คิด

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา มีสื่อหลายสำนักทั้งไทยและต่างประเทศได้นำเสนอข่าว การเสียชีวิตของนักเทรคเกอร์หญิงไทยจำนวน 2 ราย ซึ่งเป็นข่าวที่คนไทยจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะนักเทรคเกอร์ที่ชื่นชอบในการเทรคกิ้งที่ประเทศเนปาล เพราะบางคนยังไม่เคยมาและบางคนก็เคยมาแล้วในรูทที่ไม่ยากนัก พอเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบนี้ทำให้หลาย ๆ คนกลัวการเทรคกิ้งที่ประเทศเนปาลไปเลย จากประสบการณ์จริงของผู้เขียนซึ่งเคยเทรคกิ้งที่ประเทศเนปาลมาหลายครั้งตั้งแต่รูทที่มีความสูงตั้งแต่ 2,000-4,773 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ลักษณะภูมิประเทศของเนปาลจะแตกต่างกันไปและสภาพอากาศมีความแปรปรวนมาก ยิ่งในฤดูหนาวระดับความสูงตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป จะหนาวจัดมากในเวลากลางคืน และอาจจะมีหิมะตกได้ซึ่งไม่อาจจะคาดเดาได้เลยซึ่งการเทรคกิ้งธรรมดาและการ Climb จะแตกต่างกันคือ

การ Trekking คือการท่องเที่ยวที่ต้องเดินเท้า ไปในสถานที่ธรรมชาติต่างๆ มักจะเป็นป่าเขา และมักจะอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลพอสมควร ซึ่งการเดินเท้าไปเป็นระยะทางไกล ไปเป็นเวลาหลายๆวัน และต้องแบกของใช้ส่วนตัวติดตัวไปบ้าง แม้ว่าจะมีลูกหาบหรือ porter ช่วย ดังนั้นต้องเตรียมตัวอย่างดี สุขภาพร่างกายโดยทั่วไปต้องแข็งแรงซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเบื้องต้นก็จะเป็น ไม้เท้าเทรค เสื้อ Down Jacket กางเกงเทรคกิ้ง ลองจอนบุขน  ฮีทเทค Heat tech ถุงมือ หมวก กระบอกเก็บน้ำร้อน ร้องเท้าถุงเท้าเทรคกิ้ง ถุงนอน เสื้อกันฝน ผ้าบัฟเป็นต้น แต่การเทรคกิ้งในฤดูหนาวอาจจะต้องเพิ่มอุปกรณ์กันหนาวมากขึ้นและกันลื่นเวลาเดินบนหิมะ CRAMPONS

การ Climb  (Summitting/Climbling) คือ การปีนขึ้นภูเขา เพื่อขึ้นไปยังยอดของภูเขาลูกนั้นซึ่งจะยากกว่าการเทรคกิ้งมากและใช้ประสบการณ์สูง อุปกรณ์มากกว่า อุปกรณ์กันหนาวทั้งหลายที่ต้องเตรียมไปให้พอ  ซึ่งหลักๆ จะเป็น summit suit ที่สามารถกันอุณหภูมิได้ถึง -40 องศา climbing boots แล้วก็ crampons รองเท้าตะปูสำหรับน้ำแข็ง ลิงก์อ้างอิง คุยกับหมออีม “หญิงไทยคนแรก” ผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ http://www.culturedcreatures.co/first-thai-woman-on-everest/

ดังนั้น กรณีศึกษาในเคสนี้ ก็คือ ทำไมการเทรคกิ้งธรรมดาจึงทำให้มีผู้เสียชีวิต จากการติดตามข่าวและเก็บข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ในการเทรคกิ้งที่ต่างมาให้ข้อมูลในกลุ่ม Thailand Mountaineering Club ซึ่งมีสมาชิกผู้ชื่นชอบการ Trekking และการ Climb อยู่ในกลุ่มนี้มากถึง 27,851 คน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพราะต้องการความรู้เพื่อนำมาใช้ในการผจญภัยของแต่ละคน รูทที่ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ท่านไปในครั้งนี้ ชื่อว่า Mesokanto Pass ความสูงประมาณ 5,120 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลโดยจะเดินเลียบทะเลสาบ Tilicho Lake ทางตะวันออกเป็นเส้นทางที่ยังไม่มีเกสเฮ้าส์ ในโซน Annapurna Circuit trek ซึ่งต้องมีการข้ามพาส ต้องมีการนอนเต็นท์ระหว่างทาง 2 คืนซึ่งเป็นเรื่องที่โหดในระดับหนึ่งในการเทรคกิ้งฤดูหนาวที่เนปาลคิดดูขนาดฤดูเทรคกิ้งในช่วงเดือนเมษายนตอนเราอยู่ในเกสเฮ้าส์ยังหนาวจับใจขนาดนั้นซึ่งผลการชันสูตรผู้เสียชีวิตได้ระบุว่าเป็น AMS Acute Mountain Sickness เรียกง่าย ๆ สำหรับสายเทรคกิ้งว่าแพ้ความสูง และ Frost bite หรือภาวะผิวหนังถูกทำลายจากความเย็นจัด เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังและเนื้อเยื่อสัมผัสกับความเย็นจัดผลชันสูตรระบุว่าผู้ประสบเหตุอยู่ท่ามกลางหิมะ 14 ชั่วโมง

ใครที่เคยไปเทรคที่ ปากีสถาน หรือ แคชเมียร์มาแล้วจะนึกภาพออกว่าการนอนเต็นท์ระหว่างการเทรคกิ้งนั้นต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างการเตรียมอาหารการเตรียมอุปกรณ์กันหนาวต้องเยอะมากแค่ไหน รวมถึงลูกหาบ ม้าหรือลาที่ช่วยขนของ ซึ่งทริปนี้การเทรคกิ้งที่เนปาลจะใช้ลูกหาบและในทริปนี้มีผู้ร่วมเดินทางจำนวน 22 คน นักท่องเที่ยว 11 คน หัวหน้ากรุ๊ปทัวร์คนไทย 1 คน ไกด์เนปาล 2 คน ลูกหาบ 8 คน ซึ่งการเทรคกิ้งธรรมดาก็ต้องใช้ลูกหาบ 1 คนต่อนักท่องเที่ยว 2 คนอยู่แล้วแต่นี่เป็นรูทที่ต้องมีการแบกอุปกรณ์เต็นท์เครื่องมือในการทำอาหารถ้านับเฉพาะที่ต้องขนสัมภาระให้นักท่องเที่ยวก็ 6 คนและต้องแยกลูกหาบที่แบกอุปกรณ์อีก ลูกหาบ 8 คนไม่พอแน่นอนและการประเมินเส้นทางและความเสี่ยงต่าง ๆ ของรูทเป็นเรื่องที่เกิดคาดจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินต่อวันใช้เวลาเกิน 10 ชั่วโมงและหนาวมากอุณหภูมิติดลบ มีหนึ่งในผู้ที่ร่วมทริปนี้ได้เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ของเธอผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวตั้งแต่เริ่มเทรคจนถึงตอนลงจากเขา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0ZNVxxt1TwXmzZTBfHC3zSk6Jm5JzfLgB9QZDiWGgFpZSHmBgt1Mxwujfk7HKmTAXl&id=100002973824735&mibextid=Nif5oz

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโหดร้ายสำหรับพวกเขาจริง ๆ และจากการสรุปของอีกท่านหนึ่งจากเฟซบุ๊กส่วนตัวเช่นกัน

http://facebook.com/100001623343073/posts/pfbid0UBWvX6KVWmotKH1ZfKbz74JhnBGwsv2vEvK9HaUrwv2JnzkZxoEyfddsaY4fo1Ljl/?mibextid=Nif5oz

เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่หลงใหลการเทรคกิ้งที่ประเทศเนปาลซึ่งสมาชิกหลาย ๆ คนก็ได้เรียกร้องให้ผู้จัดทริปนี้ออกมาแถลงข่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเขาตั้งแต่วันที่เกิดเหตุแต่ทางผู้จัดก็ได้โพสต์แสดงความเสียใจดังนี้

ในการเทรคกิ้งที่ประเทศเนปาล จริง ๆ แล้วไม่อันตรายเลยสำหรับผู้ที่ตัดสินใจมาเทรคกิ้งจะต้องเตรียมร่างกายอย่างน้อย 3 เดือนแล้วแต่รูทที่เลือก เลือกบริษัทที่ไว้ใจได้มีประสบการณ์ศึกษารูทก่อนตัดสินใจเดินทาง เตรียมอุปกรณ์เทรคกิ้งให้พร้อม ร่างกายคนเราไม่เหมือนกันต้องจำคำนี้ไว้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬา หรือแข็งแรงแค่ไหนคุณก็สามารถเป็น AMS ได้เรื่องนี้ต้องอาศัยดวงอย่างเดียว และการดูแลตัวเองในทุกช่วงการขึ้นเขาสังเกตอาการตัวเอง และแจ้งไกด์ทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ และจงจำไว้อีกอย่างหนึ่งว่า คุณจะต้องแจ้งไกด์ทันทีอย่าฝืนเพราะบริษัท เฮลิคอปเตอร์จะบินถึง 4 โมงเวลาเนปาลเท่านั้น ซึ่งจะเป็นเวลาที่บริษัทประกันที่เมืองไทยปิดพอดีเพราะเวลาที่เนปาลช้ากว่าเมืองไทย 1.15 ชั่วโมง และเบอร์ติดต่อ Hotline ก็จะติดต่อได้ยากมากในการประสานเฮลิคอปเตอร์จะใช้เวลาพอสมควรเพราะทางบริษัทที่เนปาลจะต้องบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยวก่อนที่บริษัทประกันภัยทางประเทศไทยจะอนุมัติบางเคสต้องสำรองเงินสดจ่ายก่อนแล้วนำเอกสารไปเคลมประกันที่เมืองไทยต่อไป

เราหวังว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้จะเป็นบทเรียนสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้จัดได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีก เราขอให้มันเป็นครั้งสุดท้าย

 

ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวผู้สูญเสียอีกครั้งค่ะ