วันเสาร์, 4 พฤษภาคม 2567

เชียงใหม่ประชุมติดตามสถานการณ์หารือแนวทางการบริหารจัดการด้านการตลาดผลไม้และปัญหาภัยแล้ง

Spread the love

88cd22bb-c764-49e1-a005-d1b49a11d2b7

b72a62c3-c0c4-4abc-aa44-b0581387a252

เชียงใหม่ประชุมติดตามสถานการณ์หารือแนวทางการบริหารจัดการด้านการตลาดผลไม้และปัญหาภัยแล้ง

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559  เวลา 09.00 น. นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์ หารือแนวทางการบริหารจัดการด้านการตลาดผลไม้และปัญหาภัยแล้ง ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งเพาะปลูกลำไยอันดับหนึ่งของภาคเหนือ ในปีการผลิต 2559 มีพื้นที่ปลูกให้ผลประมาณ 316,032 ไร่ จำนวน เกษตรกรผู้ปลูกทั้งหมด 54,356 คน จำนวนการผลิตทั้งหมด 277,118 ตันประเด็นสภาพปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในปีการผลิต 2559 นายยกสมาคมผู้ผลิตลำไยอบแห้ง ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสินค้าลำไยที่ส่งผ่านประเทศเวียดนามเข้าไปยังประเทศจีน จะถูกส่งศุลกากรของประเทศจีนตรวจสอบเอกสารการนำเข้าลำ หากไม่มีเอกสารดังกล่าว ผู้ค้าที่จีนจะถูกศุลกากรของประเทศจีนดำเนินคดี และถูกยึดสินค้า จากปัญหาข้างต้นส่งผลให้มีลำไยอบแห้งทั้งเปลือกปี 2558 คงค้างในมือผู้ค้าย่อย สถาบันเกษตรกร และกลุ่มการเกษตร ประมาณ 1,000 ตันซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาลำไย ปีการลิต 2559 แล้วด้วยสภาพอากาศที่แห้งแล้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เกษตรกรส่วนหนึ่งมีความกังวลว่าผลผลิตลำไยส่วนใหญ่ในพื้นที่ขาดน้ำจะมีขนาดผลเล็กไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจเกิดปัญหาด้านการตลาดทั้งสดและอบแห้งและห้วงเวลาที่เก็บเกี่ยวผลผลิต มักเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก (15กรกฎาคม-15 สิงหาคม) ส่วนค่าแรงในการเก็บเกี่ยวลำไย (ตะกร้าขาว,มัดปุ๊ก)ซึ่งต้องมีทักษะ อัตราค่าแรงงาน 4-5 บาทต่อกิโลกรัม(ค่าแรงงานต่อวัน ไม่ต่ำกว่าวันละ 500 บาท) ค่าแรงลำไยสดร่วง 2-3 บาท ต่อกิโลกรัม โดยหากคิดค่าจ้างแรงงานต่อวัน 200-300 บาท/วัน และโครงสร้างการตลาดพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าลำไยอบแห้งทั้งเปลือก พึ่งพิงตลาดส่งสำคัญ ประเทศจีน มีสัดส่วนถึงร้อยละ 98ทางด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาลำไยโดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาปัญหาดังนี้ ขึ้นทะเบียนล้ง(จุดรับซื้อลำไยทุกประเภท)ในพื้นที่โดยการจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนการรับซื้อ พร้อมทั้งแสดงใบทะเบียนพาณิชย์/ใบทะเบียนนิติบุคคล ให้ติดไว้ ณ จุดรับซื้อทุกแห่งให้ครบถ้วนทุกพื้นที่ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำผลผลิตลำไยคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด(การตัดแต่งช่อผล)และการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ให้ได้ผลผลิต/ไร่สูงขึ้นและผลผลิตลำไยเกรด AA เพิ่มขึ้น พัฒนาแรงงานที่มีทักษะให้มากขึ้นอย่างทั่วถึงเพื่อรองรับในช่วงที่ผลผลิตกระจุกตัว ทั้งนี้เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด

CNX NEWS เจาะข่าว  ตรงใจคุณ