วันอาทิตย์, 19 พฤษภาคม 2567

สนข.จัดประชุมระดมความคิดเห็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ

Spread the love

สนข.จัดประชุมระดมความคิดเห็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ 

รถไฟ

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวเส้นทางที่เหมาะสม ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน

เมื่อวันที่ 24 กรกฎษคม 2557  เวลา 09.00 น. ณ ห้องอิมพีเรียลบอลรูม โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ นายนาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวเส้นทางที่เหมาะสม ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 500 คนนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากกระทรวงคมนาคม มีนโยบายที่จะพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา เป็นยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาการคมนาคมและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งรถไฟความเร็วสูงจะเป็นระบบขนส่งที่ทันสมัย มีความรวดเร็ว ตรงเวลา มีความปลอดภัยสูง เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศ ขณะเดียวกันศักยภาพของรถไฟความเร็วสูงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในหลากหลายด้าน อาทิ ลดระยะเวลาการเดินทาง สู่จังหวัดตามแนวเส้นทางได้หลายแห่ง รวดเร็วกว่ารถยนต์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างประเทศสามารถนั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองมายังสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเดินทางต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ พัฒนาเมืองการค้าและการลงทุน ในพื้นที่ตามแนวเส้นทาง สร้างโอกาสใหม่ธุรกิจ ทั้ง SMEs และ OTOP ได้มาเผยแพร่ในสถานีรถไฟ สร้างงาน สร้างรายได้สู่ประชาชนในท้องถิ่น คุ้มค่าระยะยาว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รถไฟความเร็วสูง ใช้พลังงานไฟฟ้า ก่อให้เกิดมลพิษน้อยกว่าขนส่งรูปแบบอื่น ลดกรนำเข้าเชื้อเพลิง ในภาคการขนส่งของประเทศปัจจุบัน สนข.ได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – พิษณุโลกแล้วเสร็จ และได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ในการสัมมนาได้นำเสนอผลการคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด คือเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง เริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยเป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กม. และสถานีศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กม. ส่วนอีก 3 สถานีได้แก่ สถานีลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมซึ่งอยู่ในตัวเมือง มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทางทั้งสิ้น 296 กิโลเมตรสำหรับเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงพิษณุโลก-ลำปาง เมื่ออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาสก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานนีรถไฟลำปาง 2.ช่วงลำปาง-เชียงใหม่ จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านทางช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไป อำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา จากนั้นบรรจบเข้ากับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.647+000 ก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร จากนั้นวิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูนและช่วงลำพูน-เชียงใหม่จะอยู่ในเขตทางรถไฟสำหรับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง และในส่วนตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง มีการพิจารณารายละเอียดและกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กม. มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสัญจรเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ทุกด้านอย่างรอบคอบจากการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา พบว่าประชาชนให้การตอบรับโครงการดี เนื่องจากประชาชนมีความเข้าใจว่าการมีรถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เพียงแค่มีรถไฟวิ่งเข้ามาที่สถานี แต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนจากพื้นที่ต่างๆ เดินทางมายังแต่ละจังหวัดได้ง่ายขึ้นที่ราคาที่ไม่แพงจนเกินไป คาดว่าจะสามารถแข่งขันกับการเดินทางโดยเครื่องบินได้ โครงการนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่จังหวัดที่มีเส้นทางรถไฟพาดผ่านให้เกิดการขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ เป็นหัวเมืองหลักที่กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานจากจังหวัดใกล้เคียง สำหรับการคัดเลือกบริษัทที่มาดำเนินการ ขณะนี้มีประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และฝรั่งเศส ที่ให้ความสนใจ ซึ่งรัฐบาลจะเปิดกว้างให้กับทุกประเทศในการแข่งขัน โดยจะมีการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยี และให้แต่ละบริษัทแข่งขันในด้านราคา ซึ่งไม่ได้ดูเฉพาะการเสนอราคาตอนต้น แต่ดูราคาตลอดอายุการใช้งาน โครงการสร้างทางรถไฟระดับพื้น โครงการสร้างทางรถไฟยกระดับช่วงสั้น ในระดับ 15 เมตร หากผ่านชุมชนให้รถสามารถสัญจรได้ การหารือการเชื่อมต่อของ 2 ฝั่ง หากผ่านพื้นที่นาจะมีทางเชื่อมผ่านให้ประชาชนผ่านได้ จะมีการศึกษาในการเปิดจุดผ่านต่างในตำแหน่งที่เหมะสม จะทำสะพานช่วงสั้นเป็นหลัก ทางรถไฟระดับพื้นจะมีการกั้นตลอดแนว ในการทำงานโครงการแต่ละจังหวัดมีตัวแทนส่งเข้าไปทุกจังหวัดที่รถไฟผ่านจะให้ความเห็นในการทำงาน ผลการศึกษาในทางวิชาการมีการคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นด้วยในการลงพื้นที่ ผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาในงานที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงการ ขอให้ประชาชนที่มารับฟังให้คำแนะนำในเอกสารหลังจากนี้จะมีการสัมมนาครั้งที่ 3 เพื่อนำเสนอผลสรุปโครงการในทุกด้านอีกครั้งประมาณปลายเดือนกันยายน 2557 หลังจากนั้น สนข. จะนำเสนอรายงาน EIA ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน และนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2

 

 

สำนักข่าว CNX NEWS “เจาะข่าว ตรงใจคุณ”


สนข.จัดประชุมระดมความคิดเห็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ

14 ก.พ. 2014
302
Spread the love

สนข.จัดประชุมระดมความคิดเห็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ

ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่

 

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ พิจารณา 3 เส้นทาง ระบุกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง 16 นาที ค่าโดยสารราคา 1,074 บาท ยันเดินหน้าโครงการต่อแม้ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านสภาฯ

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา  เวลา 09.00 น. ณ ห้องอิมพีเรียลบอลรูม โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่  นายชนะ แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข) กล่าวว่า ปัจจุบัน สนข.ได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – พิษณุโลกแล้วเสร็จ และได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่  ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง

ในการสัมมนาได้มีการเสนอแนวเส้นทางเลือกของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก – เชียงใหม่ 3 แนวเส้นทาง โดย จ.พิษณุโลก จะผ่าน อ.บางกระทุ่ม อ.เมืองพิษณุโลก และ อ.พรหมพิราม เข้าสู่ทางเลือก ประกอบด้วย 3 เส้นทาง ประกอบด้วย

1.แนวทางเลือกที่ 1 เป็นแนวเส้นทางที่ใช้ที่ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วน เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กม.มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

2.แนวทางเลือกที่2 เป็นแนวเส้นทางที่ปรับเข้าใกล้ตัวเมือง จ.แพร่ โดยแยกออกที่ อ.ห้วยไร่ จ.แพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิมที่ ต.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

3.แนวทางเลือกที่3 เป็นแนวเส้นทางใหม่ที่แยกจาก จ.พิษณุโลก มุ่งไป จ.สุโขทัย ไปทางสวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ผ่านเข้าเมืองลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

โดยช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ทุกทางเลือกจะวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงบริเวณ ดอยขุนตาล จนถึงลำพูนจะตัวแนวเส้นทางใหม่ เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ จากนั้นวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงเชียงใหม่

สำหรับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง และในส่วนตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง มีการพิจารณารายละเอียดและกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กม. มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสัญจรเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ทุกด้านอย่างรอบคอบ

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการศึกษานี้ใช้ระยะเวลา 14 เดือน ขณะนี้ดำเนินการมาแล้ว 3 เดือน เหลือระยะเวลาศึกษาอีกประมาณ 1 ปี แต่คาดว่าน่าจะทราบแนวเส้นทางก่อนหน้านั้น โดยต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่อยู่ในเส้นทางทั้ง 3 เส้นทาง เมื่อพิจารณาเลือกเส้นทางแล้วก็จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งว่าทำไมถึงเลือกเส้นทางนั้น สำหรับงบประมาณในการดำเนินการ หากร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านการพิจารณาก็จะใช้วิธีการกู้เงินมาดำเนินการเป็นรายโครงการ ซึ่งจะใช้ระยะเวลามากขึ้น

จากการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา พบว่าประชาชนให้การตอบรับโครงการดี เนื่องจากประชาชนมีความเข้าใจว่าการมีรถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เพียงแค่มีรถไฟวิ่งเข้ามาที่สถานี แต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนจากพื้นที่ต่างๆ เดินทางมายังแต่ละจังหวัดได้ง่ายขึ้นที่ราคาที่ไม่แพงจนเกินไป เช่น การเดินทางจากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่จะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง 16 นาที ราคาค่าโดยสาร 1,074 บาท คาดว่าจะสามารถแข่งขันกับการเดินทางโดยเครื่องบินได้ โครงการนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่จังหวัดที่มีเส้นทางรถไฟพาดผ่านให้เกิดการขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ เป็นหัวเมืองหลักที่กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานจากจังหวัดใกล้เคียง สำหรับการคัดเลือกบริษัทที่มาดำเนินการ ขณะนี้มีประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และฝรั่งเศส ที่ให้ความสนใจ ซึ่งรัฐบาลจะเปิดกว้างให้กับทุกประเทศในการแข่งขัน โดยจะมีการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยี และให้แต่ละบริษัทแข่งขันในด้านราคา ซึ่งไม่ได้ดูเฉพาะการเสนอราคาตอนต้น แต่ดูราคาตลอดอายุการใช้งาน และเห็นว่าแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ยังคิดว่าโครงการนี้ก็จะดำเนินการต่อเพราะมีการจัดทำเป็นแผนแม่บทมากว่าสามรัฐบาลแล้ว และประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นโครงการนี้เป็นประโยชน์ของประเทศในระยะยาว เพียงแต่การดำเนินการต้องมีการคำนึงถึงสถานะทางการเงินของประเทศด้วยว่าเหมาะสมเพียงใด

 

สำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน