วันศุกร์, 3 พฤษภาคม 2567

รับมือกับอาการแพ้ควาสูง Acute Mountain Sickness (AMS) อย่างไรให้ปลอดภัย

Spread the love

รับมือกับอาการแพ้ควาสูง Acute Mountain Sickness (AMS) อย่างไรให้ปลอดภัย

Acute Mountain Sickness (AMS) แพ้ความสูง เป็นอย่างไร แอดมีประสบการณ์จริงมาเล่าให้ฟังค่ะ เรื่องจริง เกิดจริง แต่ไม่น่ากลัวและป้องกันได้ค่ะ

โรคนี้ น่าจะยังไม่มีชื่อไทยที่ชัดเจน แต่เรียกกันในวงการเทรคเกอร์ว่า โรคแพ้ความสูง มีหลายคนที่เป็นเทรคเกอร์ป้ายแดงอาจจะ กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะมาเทรคกิ้งเพราะโรคนี้ แต่ไม่ต้องกลัวนะคะ เพราะการเทรคเป็นการเดินไต่ขึ้นไปในระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้ขึ้นแบบรวดเดียวเหมือนการท่องเที่ยวในเมืองสูง ๆ ที่ต้องขึ้นเครื่องบินไปลงบนพื้นที่ที่มีความสูง ร่างกายไม่มีการปรับตัวรับกับความสูง ซึ่งบริเวณที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้น ความกดอากาศจะลดลง  ยิ่งสูงอากาศจะเบาบางลง

ซึ่งจะพบในนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากๆ เช่น ไปเที่ยวทิเบต เที่ยวประเทศเปรู โบลิเวีย หรือมาเทรคที่ประเทศเนปาลนี่แหละค่ะ ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนน้อยได้ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย ท้องเสีย เป็นต้นและมักจะเกิดขึ้นในระดับความสูงตั้งแต่ 2,000-2,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมากนะคะ ว่าถ้านักท่องเที่ยวที่จะมาเทรคที่เนปาลถ้าได้ซื้อประกันภัยส่วนบุคคลไว้ ทางบริษัทที่รับประกันจะอนุมัติการเคลมประกันในประเทศเนปาลในจุดที่ลูกค้าเกิดอาการในระดับความสูง 2,500 เมตรขึ้นไปค่ะ

แอดขอแนะนำให้นักเทรคเกอร์ทุกท่านสังเกตอาการตัวเองตลอดระยะเวลาการเทรคค่ะ แอดยกตัวอย่างเช่นในรูท Annapurna Base Camp Trek ความสูง  4,130 M. เราต้องเริ่มสังเกตอาการตัวเองตั้งแต่ หมู่บ้าน Chhomrong ถึง Dovan ในการเทรคโปรแกรมของแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกันนะคะ แต่ในระหว่าง 2 หมู่บ้านนี้ ความสูงจะอยู่ที่ประมาณ 2,170-2,600 เมตร ถ้าท่านไหนกลัวก็สามารถท่านยา  Diamox หรือชื่อสามัญคือ Acetazolamide ต้องกินยาล่วงหน้าก่อนขึ้นที่สูงประมาณ 24-48 ชั่วโมงจนถึง Base Camp และกินต่อสัก 1-2 วัน จนกว่าจะลงมา หลังจากที่เราลงมาในความสูงที่ต่ำกว่า 2,500 เมตร ร่างกายก็จะปรับตัวให้เป็นปกติค่ะ

สำหรับท่านไหนที่คิดว่าไม่ไหว ต้องรีบแจ้งไกด์เช่นปวดหัวมาก อาเจียน ท้องเสีย (ต้องรีบแจ้งนะคะ) ไม่ต้องกลัว อย่าให้ถึงตอนค่ำ หรือกลางคืนเพราะไกด์จะไม่สามารถประสาน Helicopter ให้คุณได้ ทุกอย่างจะลำบากมากถ้าเกิดอะไรขึ้นในตอนกลางคืนค่ะ  แอดขอแนะนำให้คุณ ๆ ลืมมันไปเลยค่ะ เรื่องแพ้ความสูง เพราะในส่วนหนึ่งที่เกิดการแพ้ความสูงคือ ความเครียด การนอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ในการทำให้นอนหลับบนเขา บางท่านอาจจะมีตัวช่วย เช่นแอดจะทานนมผึ้ง หรือ ยาแก้แพ้อากาศก่อนนอน ซึ่งจะทำให้เรานอนหลับและผ่อนคลาย ลดความเครียดระหว่างที่เราต้องนอนแปลกที่ได้ดีทีเดียวค่ะ  เราต้องศรัทธาว่าเราจะไปถึง ฉันต้องไปถึงป้ายไม้เก่า ๆ นั้นให้ได้ ขอบคุณธรรมชาติที่ให้เราได้มายืนในจุดนี้ ท่องไว้ค่ะท่องไว้ อิอิ

 

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกตามนี้เลยค่ะ

www.thenepalguide.com

Namaste Trekking ท่องเที่ยวเนปาล เทรคกิ้งเนปาลโดยคนไทยในเนปาล