วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

FTA WATCH ค้านเจรจาการค้าเสรี รัฐบาลไทย-สหภาพยุโรป

10 ก.ย. 2013
317
Spread the love

 

FTA WATCH ค้านเจรจาการค้าเสรี รัฐบาลไทย-สหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ 10 ก.ย.56 แพทย์หญิงประคอง  วิทยาศัย จากมูลนิธิเกื้อดรุณ ได้เปิดเผยว่า ได้มีรายงานจากกลุ่ม FTA WATCH รัฐบาลได้มีการตอบสนองต้องการเรียกร้องของภาคธุรกิจ เช่น ไม่ให้เพิ่มการคุ้มครองแรงงาน และไม่ให้เพิ่มมาตรฐานสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งไม่ให้นำเรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อนมาบังคับภาคธุรกิจ แต่รัฐบาลกลับไม่เหลียวแลผลกระทบต่อชีวิตและการทำมากินของประชาชน เช่น

1.ยารักษาโรคจะถูกผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้น ยาจะมีราคาแพง เพราะต้องเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา TRIPs+ หรือ ทรปพลัส

2.เปิดทางให้บริษัทเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ เพราะต้องเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV 1991

3.เปิดทางให้มีการจดสิทธิบัตรจุลินทรีย์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์ยากรชีวภาพที่สำคัญยิ่ง เพราะต้องเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามูดาเปสต์

4.เปิดทางให้บริษัทเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการลงทุนทางการเกษตรด้วยเงินทุน เทคโนโลยี การเอื้อประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินตนเอง

5.เปิดทางให้สินค้าอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เอลกอฮอล์ และยาสูบเข้ามาทำให้สินค้าเหล่านี้ราคาถูก ซึ่งกระทบต่อสุขภาพ

6.เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องผ่าน อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรียกค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดินได้

 

ทั้งนี้กลุ่ม FTA WATCH  สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก มูลนิธิชีววิถี ภาคประชาชน เกษตรกร เครื่องข่ายผู้บริโภค เครือข่าวทรัพยากร เครือข่างงานงานนอกระบบ ผู้ติดเชื้อ SIV ผู้ใช้ยา ผู้ทำงานทางสาธารณสุข และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ จะได้มีการชุมนุมขึ้นในวันที่ 18-19 ก.ย.56 ที่จะถึง บริเวณข่วงประตูท่าแพ เพื่อขับเคลื่อนตรวจสอบการเจรจา FTA เพื่อที่จะให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลประโยชน์ ดังนี้

1.รัฐบาลต้องไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้องตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา WTO โดยเฉพาะในประเด็นขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร (TRIPs+) การผูกขาดข้อมูลทางยา การกีดกันการแข่งขันของยาชื่อสามัญและการจำกัดการยืดหยุ่นต่างๆ ทำให้ยามีราคาแพงขึ้นมาก

2.ไม่มีการนำข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในบทว่าด้วยการลงทุน เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุขสาธารณูปโภคพื้นฐาน

3.ไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

4.ถอนสินค้าเหล้า บุหรี่ ออกจากการเจรจา

5.ให้มีการจัดหารือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียครบทุกภาคส่วน พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล (รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 190)

 

 

 

ธนวรรธน์  จรณชัยวัจน์

ทีมข่าว CNXNEWS รายงาน