วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

แพทย์ มช. เตือน! ภัยเงียบจาการนอนกรน

Spread the love

แพทย์ มช. เตือน! ภัยเงียบจาการนอนกรน

ปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากหลายสาเหตุทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  โรคทางระบบอาหาร          โรคทางระบบประสาท   โรคต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่ร้ายแรงทั้งสิ้นแต่โรคที่เป็นภัยเงียบและร้ายแรงอีกหนึ่งโรคและถือได้ว่าส่วนใหญ่จะมองข้ามคิดว่าเป็นเพียงโรคธรรมดาที่ใครๆก็เป็นได้                          นั้นคือ  การนอนกรนซึ่งเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะนอนหลับทำให้เกิดการหยุดหายใจการหายใจไม่สม่ำเสมอ อาจมีการสะดุ้งตื่น ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

 

ผศ.พญ.นันทิการ์  สันสุวรรณ  อาจารย์ประจำภาควิชาโสต  ศอ  นาสิกวิทยา              เปิดเผยว่า  การนอนกรนจะพบประมาณร้อยละ 20 ของคนทั่วไปทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งการนอนกรน คือ เสียงที่เกิดจาการสั่นสะเทือนของอวัยวะทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น เพดานอ่อน  ลิ้นไก่  ผนังคอหอยและลิ้น  เมื่อมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นทำให้ลมหายใจผ่านลงไปไม่สะดวก  เกิดการหมุนวนของกระแสลม  และอวัยวะของทางเดินหายใจสั่นสะเทือนจึงเกิดเสียงกรนขึ้น   โดยการนอนกรนมีทั้งหมด 2 ประเภท  คือ  1.การนอนกรนธรรมดา  มีการตีบแคบลงของทางเดินหายใจขณะนอนหลับบางส่วน  ซึ่งทำให้เกิดเสียงรบกวนแก่ผู้ร่วมห้องนอน  ซึ่งจัดเป็นชนิดไม่อันตราย                           ส่วนประเภทที่  2 .การนอนกรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย  เนื่องจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะนอนหลับทำให้เกิดการหยุดหายใจ  จึงทำให้เสียงกรนไม่สม่ำเสมอ  อาจมีการสะดุ้งตื่น  กลั้นหายใจ  หายใจแรงหรือสำลักร่วมด้วย ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งผลเสียจากการนอนกรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วยมีดังนี้ 1.ง่วงนอนตอนกลางวัน  มีผลต่อการเรียน  การทำงานหรืออาจเกิดอุบัติเหตุในการขับรถหรือควบคุมเครื่องจักรกล  2.ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความจำลดลง  หงุดหงิดอารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ  3.ในเด็กจะมีพัฒนาการของสมองและร่างกายไม่ดี  4.มีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง  โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 

สำหรับวิธีการรักษาการนอนกรนมีหลายวิธี เช่น การควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์  โดยการจำกัดปริมาณและชนิดอาหาร  การออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  และควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้ง่วง อาทิ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท  และยาแก้แพ้ชนิดง่วง                 ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดและควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่   ควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายโดยพยายามนอนในท่าตะแคงข้างและนอนศีรษะสูงเล็กน้อย การรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และไซนัสอักเสบ  การรักษาด้วยการจี้คลื่นความถี่วิทยุ (RF) เพื่อให้เนื้อเยื่อของทางเดินหายใจหดตัวลงและทางเดินหายใจกว้างขึ้น  รวมทั้งการผ่าตัดทอนซิลและอะดีนนอยด์ในเด็กที่มีต่อมทอนซิลและ          อะดีนอยด์โต เป็นต้น

“นอนกรนรักษาได้” ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คลินิกนอนกรน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดให้บริการในทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 – 15.30 น.                         ชั้น 7 อาคารศรีพัฒน์  หมายเลขโทรศัพท์  053-945745 , 053-946696

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ