วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดสร้างความเข้าใจต่อปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์

Spread the love

เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดสร้างความเข้าใจต่อปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน

เวที

 

เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดสร้างความเข้าใจต่อปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่งเสริมกลไกเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับจังหวัด เพื่อยกระดับการสร้างและพัฒนาระบบการช่วยเหลือเด็ก เยาวชนที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้รอบด้าน และรณรงค์กับสังคม ชุมชน ต่อความตระหนัก ในการป้องกัน การแก้ไข รวมทั้งลดการตีตราเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2558  เวลา 09.15 น. นางอุบลรัตน์ คงกระพันธ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิด สร้างความเข้าใจต่อปัญหา วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน น. ณ ห้องประชุมบัวตอง โรงแรมบีพี เชียงใหม่ ซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิรักษ์ไทยภาคเหนือ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 34 และ35 และภาคประชาสังคมจำนวน 7 ภาคี ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ได้ร่วมพัฒนาดำเนิน โครงการ “ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน“ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่งเสริมกลไกเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับจังหวัด เพื่อยกระดับการสร้างและพัฒนาระบบการช่วยเหลือเด็ก เยาวชนที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้รอบด้าน และรณรงค์กับสังคม ชุมชน ต่อความตระหนัก ในการป้องกัน การแก้ไข รวมทั้งลดการตีตราเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดำเนินงานใน พื้นทื่ 7 อำเภอ ในจังหวัดจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ระยะเวลา 3 ปี โดยการสนับสนุนของกองทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)นางนิภา ชมภูป่า ในนามมูลนิธิรักษ์ไทยภาคเหนือ สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประสานโครงการสุขภาพภาคเหนือ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยสถานการณ์“เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย” เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาวะของคนไทย ได้ส่งผลกับปัญหาสุขภาพได้แก่ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อันเป็นภัยคุกคามระยะยาว และเป็นสถานการณ์ที่เกิดกับวัยรุ่นทั่วประเทศ และในปัจจุบันปรากฏการณ์ที่มีแม่วัยรุ่นสูงขึ้นในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีที่มีแนวโน้มขยับสูงขึ้น และพบว่า ปัญหาแม่วัยรุ่นเป็นปัญหาซึ่งสังคมพึงจับตามากที่สุดในรอบปีเช่นกัน ผลกระทบจากการตั้งครรภ์กับวัยรุ่นและเยาวชน ทำให้วัยรุ่นและเยาวชนหลายคนมีภาวะเครียด กดดันรอบด้านที่ต้องแบกภาระ ต้องออกจากสถานศึกษา การถูกตั้งคำถามจากคนในครอบครัว และสังคม หลายคนเลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และหลายคนเลือกที่จะเป็นแม่ที่มีอายุยังน้อย สุดท้ายต้องเจอกับความไม่พร้อมทำให้แม่วัยรุ่นหลายคนทอดทิ้งลูก หันมาใช้ยาเสพติด ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของแม่และลูกในระยะยาวภายใต้การดำเนินงานโครงการฯ ได้มีภารกิจให้มีกระบวนการการสร้างความเข้าใจต่อปัญหาวัยรุ่นกับการตั้งครรภ์ การรณรงค์สื่อสารให้วัยรุ่นตระหนักถึงความรับผิดชอบ เพื่อชะลอการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ต่อการป้องกันและการแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับภาคีสื่อและองค์กรท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งเสริมให้เยาวชนวัยรุ่นและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และการสร้างความเข้าใจเชิงบวก โอกาสนี้ทางโครงการจึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิด สร้างความเข้าใจต่อปัญหา วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์ ระดับจังหวัด ใน วันที่ 31 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 08:00-16:00 น. ณ ห้องประชุมบัวตอง โรงแรมบีพี เชียงใหม่ ซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยลุ่ยในประเทศไทย สถานการณ์การตั้งครรภ์ในกลุ่มแม่วัยรุ่น เป็นปัญหาในสังคมที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติสาธารณสุข พบว่าภาวะเจริญพันธุ์ในประเทศไทยได้ลดต่ำกว่าระดับทดแทน อัตราการเจริญพันธุ์รวมได้ลดลงถึงระดับ 1.5 ซึ่งจากการสำรวจประชากรหญิง 1,000 คน ปี 2539 มีการตั้งครรภ์ 31 คน และในปี 2554 ลดลงเหลือ 24 คน ขณะที่อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ต่อหญิงวัยเดียวกัน 1,000 คน ในช่วง 11 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2557 การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนนอกจากเป็นสาเหตุการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์เพิ่มขึ้น ยังเป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและไม่ตั้งใจอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2551-2555 พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของเยาวชนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่น่าสังเกตว่าการมีเพศสัมพันธุ์ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 5 กับนักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 มีความแตกต่างกันประมาณหนึ่งเท่าตัว ทั้งที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน และการทำแท้งของกลุ่มวัยรุ่นหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจและไม่ได้คุมกำเนิด นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่ามีการตั้งครรภ์ซ้ำและคลอดในหญิงกลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี 15-19 ปี และน้อยกว่า 15 ปี ร้อยละ 11.6 11.7 และ 6.5 ตามลำดับ สถานการณ์การคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย ปี 2556 พบว่า อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่น อยู่ที่ 41.54 เมื่อจำแนกรายภาค พบว่าภาคกลางมีอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นสูงสุด อยู่ที่ 48.93 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดเชียงใหม่ อัตราคลอดมารดาอายุ 15- 19 ปี แยกรายอำเภอ จำนวน 25 อำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าอัตราการคลอดต่อประชากรจำนวน 25 อำเภอ โดยอัตราเฉลี่ยการคลอดไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน พบความชุกอยู่ที่โรงพยาบาลอำเภอที่มีภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบสูงและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของประชากรชาติพันธ์และประชากรข้ามชาติประกอบด้วย โรงพยาบาลสะเมิง ฮอด เชียงดาว จอมทอง และโรงพยาบาลนครพิงค์อำเภอแม่ริมที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์จังหวัด สถานการณ์ดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นวิถีทางวัฒนธรรมและวิถีชุมชนที่ตั้งครรภ์อายุน้อย แต่ ณ ปัจจุบันพบว่าเยาวชน ชาติพันธ์ และประชากรข้ามชาติเข้ามาเรียนหนังสือ หรือทำงานในเมือง เมื่อตั้งครรภ์ต้องกลับไปใช้บริการด้านสุขภาพที่โรงพยาบาลตามสิทธิบัตร ปรากฏการณ์ดังกล่าว พบว่าเยาวชนวัยรุ่นตั้งครรภ์ (แม่วัยใส) ดังกล่าวส่วนใหญ่ยังไม่มีวุฒิภาวะ ความรู้ในการดูแลลูก เช่น การให้นมบุตร การดูแลสุขอนามัยในขณะตั้งครรภ์ ช่วงหลังคลอด การวางแผนครอบครัว การวางแผนชีวิต และวัยรุ่นจำนวนหนึ่งที่ใช้ชีวิตคู่หลายคนต้องเผชิญกับครอบครัวแตกแยกหย่าร้างเร็วเมื่อมีภาวะไม่พร้อมในการใช้ชีวิตคู่ ผลกระทบที่ตามมาคือเด็กเล็กที่เกิดจากความไม่พร้อม ขาดความรักความอบอุ่น รวมทั้งทารกจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง ทำให้ทารกหลายคนต้องอยู่ในการเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์ทั้งของภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อน ปัญหาแม่วัยรุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากโครงสร้างสังคมที่เริ่มมีความอ่อนแอทั้งสถาบันครอบครัว ระบบการดูแลทางสุขภาพ การศึกษา ชุมชน และสังคมเศรษฐกิจ หากไม่มีการป้องกันและแก้ไขวัยรุ่นตั้งครรภ์ ตั้งแต่ต้นปัญหาที่ตามมาคือ พ่อแม่วัยรุ่นที่อยู่ในวัยแรงงาน ขาดโอกาสพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อความยากจนที่จะถ่ายทอดสู่วงจรลูกต่อไปได้ หากไม่ได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดเชียงใหม่

 

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ