วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

หน่วยงานต่างๆ จัดงานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประจำปี 2557

Spread the love

               จุฬาฯ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดงานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประจำปี 2557 และงานสืบสานประเพณีของดีเมืองแม่ริม

เชียงใหม่

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯภาคเหนือ สถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ และประชาชนชาวเชียงใหม่ จัดงานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประจำปี 2557 เพื่อเชิดชูพระเกียรติพระราชชายาเจ้าดารารัศมีขัตติยนารีผู้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการอันเป็นคุณูปการต่อดินแดนล้านนา

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557  เวลา 08.30 น. ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานพิธีบวงสรวงถวายสักการะพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จเชียงใหม่ เพื่อเชิดชูพระเกียรติพระราชชายาเจ้าดารารัศมีขัตติยนารีผู้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการอันเป็นคุณูปการต่อดินแดนล้านนา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีงานสืบสานประเพณีของดีเมืองแม่ริม โดยมีนายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ประกอบด้วยการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ถวายโดยกลุ่มศิลปินจากชมรม สถานศึกษาองค์กรต่างๆ กิจกรรมกาดหมั้ว กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาอื่นๆ โดยมีประชาชนเชียงใหม่และประชาชนในพื้นที่ต่างๆ มาร่วมงานในครั้งนี้เป็นจำนวนมากตลอดทั้งวัน รวมทั้งได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่งพระราชชายารัศมี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 7 และทรงเป็นพระราชชายาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานมากพระองค์หนึ่ง เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงพระอัธยาศัยงดงาม และเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระบรมราชวงศ์จักรีกับดินแดนล้านนา แต่หลังจากที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมีก็ทรงย้ายกลับมาประทับที่นครเชียงใหม่ และทรงสร้างพระตำหนักดาราภิรมย์ขึ้น โดยทรงใช้พระตำหนักหลังนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทั้งในด้านการเกษตรและศิลปวัฒนธรรม เช่นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมล้านนาให้เป็นที่หน้าเชิดชูตาของชาวเหนือ และยังมีการสร้างสวนเพื่อทดลองนำกุหลาบที่ได้จากสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษมาปลูกไว้ ซึ่งสวนนี้มีชื่อว่า “สวนสบาย” และพันธ์กุหลาบที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดเป็นกุหลาบสีชมพู กลิ่นหอมเย็นจึงทรงตั้งชื่อกุหลาบชนิดนี้ว่า “จุฬาลงกรณ์” เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบรมราชสวามี

 

 

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ