วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

สาธารณสุขเชียงใหม่เตือนโรคมือ เท้า ปาก

Spread the love

สาธารณสุขเชียงใหม่เตือนผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน สังเกตอาการโรคมือ เท้า ปาก

19102952_0_20140624-065203

 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เตือนผู้ปกครองให้ระวังด็กเล็ก-อนุบาล ป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงฤดูฝนที่มีความเย็นและชื้นเอื้อต่อการเกิดโรค

นางอุบลรัตน์  คงกระพันธ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากนายแพทย์ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ว่า โรคมือ เท้า ปาก มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสจะติดต่อกันโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยและอุจจาระของผู้ป่วย โรคนี้พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากในช่วงฤดูฝนเพราะความเย็นและความชื้นของอากาศจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ซึ่งในขณะนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้เร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนเรื่องการป้องกันโรค และประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษาในการดูแลพื้นที่เสี่ยงสำคัญคือ ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล ซึ่งมีเด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ให้ครูตรวจวัดไข้เด็กทุกวันตอนเช้า และหากพบว่ามีไข้ มีตุ่มใสตามมือ ในปาก ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคมือ เท้า ปาก ให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อควบคุมโรค

โรคมือ เท้า ปาก ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มจาก มีไข้ มีตุ่มแดงขึ้นในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากไม่อยากทานอาหาร ตุ่มอาจพบที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น หัวเข่าได้เช่นกัน ตุ่มมักจะไม่คันแต่กดจะเจ็บ ต่อมาตุ่มจะแตกเป็นหลุมตื้นๆ อาการจะดีขึ้นและแผลหายใน 7 – 10 วัน ส่วนใหญ่เด็กที่ป่วยมักพบในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และมักพบในสถานที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะและอยู่กันแออัด โรคนี้ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน ผู้ป่วยร้อยละ 99 จะหายป่วยได้เองใน 7 – 10 วัน การรักษาจะเน้นเพื่อบรรเทาอาการ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด แต่ถ้าเป็นเด็กอ่อนต้องป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อัมภาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกไปถึงจนเสียชีวิต

ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังของงานระบาดวิทยา ฝ่ายควบคุมโรคและป้องกันโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในปี 2558 ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน พบผู้ป่วยจำนวน 355 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากคือ อายุ 0 – 4 ปี, อายุ 5 – 9 ปี และอายุ 15 – 24 ปี ตามลำดับ และอัตราผู้ป่วยพบมากที่สุดคือ อำเภอฝาง อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง ตามลำดับ

 

 

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ


สาธารณสุขเชียงใหม่เตือน วิกฤตหมอกควันยังน่าเป็นห่วง ต่อสุขภาพประชาชน

Spread the love

           สาธารณสุขเชียงใหม่เตือน วิกฤตหมอกควันยังน่าเป็นห่วง ต่อสุขภาพประชาชน

วันที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 10.00 น. นายแพทย์วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ในสถานการณ์หมอกควันไฟฟ้า ที่ปกคลุมพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ทำให้อากาศในพื้นที่มีแนวโน้มวิกฤตรุนแรง ซึ่งวันนี้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 พุ่งสูง 210-220 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยช่วงเวลากลางวันจะเพิ่มขึ้นเกิน 235 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องจากตอนบ่ายปริมาณโอโซนในอากาศจะเพิ่มจากการใช้รถ ของประชาชน ซึ่งถ้าถึงระดับนี้ นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ต่อสุขภาพของประชาชน

เพราะสถานการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นติดต่อกัน 2 วันแล้ว จะมีผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น คือ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจหลอดเลือด โรคตา โรคผิวหนัง เป็นต้นและที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผู้สูงอายุและเด็กเล็ก  ณ ปัจจุบันนี้ จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวตั้งแต่ วันที่ 1-20 มีนาคม 56 ที่ผ่านมามีอยู่ 18,406 คน ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น หรือประชาชนไม่ได้ดูแลตัวเอง จำนวนก็จะเพิ่มจากนี้แน่นอน

ทั้งนี้ ทางสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ ได้ย้ำเตือนประชาชน หากไม่มีความจำเป็นควรหลีเลี่ยงการออกทำกิจกรรมนอกบ้านหรือนอกอาคาร งดการออกกำลังกาย ในที่โล่งแจ้ง  หากจำเป็นให้สวมใส่เสื้อแขนยาว แว่นตา ป้องกันผิวหนังระคายเคือง และระคายเคืองเยื่อบุตา และสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันการสูดฝุ่นละอองเข้าสู่ปอด และประชาชนสามารถไปรับหน้ากากอนามัยได้ที่ สถานีอนามัยใกล้บ้านท่าน หรือ ที่สาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมแจกจ่ายประชาชนเพื่อป้องกันตัวเองในเบื้องต้น

คลิปข่าว

[ustream vid=”30195713″]

http://www.ustream.tv/recorded/30195713

รพิรัตน์ สุขแยง รายงาน

สำนักข่าว

cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน