วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ปรับแผนทำฝนหลวง

Spread the love

unnamed (1)

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ปรับแผนทำฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรและเติมน้ำทุนให้กับเขื่อน หลังพบมีปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 พร้อมบินทันทีที่สภาพอากาศเหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เสี่ยงวาตภัยและดินถล่ม

วันที่ 31 พ.ค. 60 น.ส.หนึ่งหทัย ตันติพลับทอง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ กล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ได้รับอนุมัติให้ปรับแผนจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปีงบประมาณ 2560 ในเดือนมิถุนายนนี้ โดยจากการติดตามสถานการณ์น้ำเก็บกักของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนในเขตภาคเหนือ พบมีปริมาณที่ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักปกติร้อยละ 50 และจากการติดตามข้อมูลความต้องการน้ำฝนของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบภาคเหนือ ยังคงมีความต้องการขอรับสนับสนุนฝนหลวง เพื่อให้สองคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ จึงได้ดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตร และเติมน้ำทุนให้กับเขื่อน ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ ยังปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำในเขื่อนใหญ่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ เขื่อนภูมิพลตอนบน เขื่อนสิริกิติ์ตอนบน เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา และแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ และเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ทางการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้เป็นต้นไปอย่างไรก็ตามศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเหนือยังคงติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง และพร้อมที่จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ร้องขอทันทีที่สภาพอากาศเหมาะสม รวมทั้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เช่น พื้นที่ที่เก็บเกี่ยวผลผลิต พื้นที่ที่ประสบวาตภัย น้ำหลาก น้ำท่วม และดินถล่ม เป็นต้น ทั้งนี้สามารถแจ้งข้อมูลสถานการณ์ความต้องการฝนในพื้นที่โดยตรง ทางหมายเลขโทรศัพท์ 053-275051 ต่อ 12 และติดต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ หรือทางเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร www.royalrain.go.th

unnamed (2)

unnamed (3)

unnamed

CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ

รายงาน


ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือพร้อมปฏิบัติการ

Spread the love

              ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือพร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภาวะฝนแล้งและปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ

 

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือพร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภาวะฝนแล้งและปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ โดยล่าสุดได้เกิดภาวะวิกฤตหมอกควันในพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่แล้ว

นายอนุภาพ ภววัฒนานุสรณ์ รักษาการหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เปิดเผยว่า ตามที่พื้นที่ในเขตภาคเหนือประสบปัญหาภาวะภัยแล้งและหมอกควันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปี ดังนั้น กรมฝนกลวงและการบินเกษตรจึงได้อนุมัติหลักการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ณ กองบินเกษตร จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งพร้อมเคลื่อนที่ไปปฏิบัติภารกิจจัดทำฝนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงต่าง ๆ จัดชุดเฝ้าระวังอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยจะทำการติดตามสถานการณ์ความเดือดร้อนและความต้องการฝนของประชาชนในจังหวัดที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งวิเคราะห์อากาศเพื่อการทำฝนหลวงทุกวัน

รักษาการหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ กล่าวว่า จากการดำเนินการของชุดเฝ้าระวัง ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ทำให้ทราบว่าขณะนี้คุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศจากภาวะหมอกควันได้เข้าสู่ค่าวิกฤต 2 จังหวัด จากสถานีวัดคุณภาพอากาศ 15 แห่ง ที่ระดับ 149 และ 159 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่สถานีตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่สถานีอุตินิยมจังหวัดแพร่ ตามลำดับ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ประกอบกับขณะนี้ได้มีพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง 2 จังหวัด ได้แก่ อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ และ อำเภอกงไกรลาส และบ้านด่านลานหอย อำเภอเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายจังหวัดร้องขอให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือเข้าช่วยเหลือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน ตาก น่าน และจังหวัดเชียงราย  ซึ่งจากการวิเคราะห์อากาศเพื่อการทำฝนหลวงของชุดเฝ้าระวัง พบว่ามีโอกาสที่จะสามารถทำฝนได้ผลในช่วงระหว่างวันที่ 16 – 20 กุมภาพันธ์ 2557 ศูนย์ ฯ จึงได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วมาปฏิบัติการทำฝนหลวง โดยมีเครื่องบินคาราแวน ขนาดบรรทุก 800 กิโลกรัม/เที่ยวบิน จำนวน 4 ลำ เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ส่วนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวหอม กระเทียม และสตรอเบอรี่ของเกษตรกร ศูนย์ฯจึงได้ประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินใจในการปฏิบัติการทำฝนหลวง และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติการทำฝน ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือก็จะหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวต่อไป

 

 

สำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน