วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก

Spread the love

2580c8a5-a618-4c51-bc51-0d0a07d126a9

รมว.กระทรวงวิทย์ฯ เผย ประเทศไทยเตรียมก้าวสู่ยุคการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 17  มีนาคม  2559 : นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก Association of University Technology Managers, Asia 2016 (AUTM Asia 2016) ซึ่งประเทศไทย โดย หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษารวม แห่ง (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ศลช.)กรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป.) และสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA)   ร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดงานขึ้น ณ โรงแรมแชงกรีล่า จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15 – 18 มีนาคม 2559 โดยมีวิทยากรจากทั่วโลกและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง  ชี้ประเทศไทยพร้อมพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเป็นกลไลผลักดันการนำผลงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในพิธีเปิดการประชุมนานาชาติ AUTM Asia 2016 ณ โรงแรมแชงกรีล่า จังหวัด เชียงใหม่  รัฐบาลมุ่งสร้างกลไกให้ประเทศสามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมกับกำหนดนโยบาย ในการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริม startup และผู้ประกอบการฐานเทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเป็นแหล่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการที่เกี่ยวข้องหลายประการ อาทิ การลดหย่อนภาษี การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนใน SME และ startup และส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมไปถึงการ ผลักดันร่างกฎหมายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม และการจัดตั้งเครือข่ายผู้จัดการนวัตกรรม (Alliance of Innovation Managers) เป็นต้น ซึ่ง รัฐตั้งเป้าหมายของลงทุนด้านการวิจัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ของจีดีพี  โดยตั้งเป้าสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนและภาครัฐเพิ่มขึ้นเป็น 70:30 ภายในปี 2560

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีบุคลากรในวิชาชีพสายงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อปิดช่องวางระหว่างงานวิจัยและตลาด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ประเทศไทยมีบุคากรในสายอาชีพดังกล่าวอยู่ประมาณหลักร้อยเท่านั้น จำเป็นต้องเร่งสร้างบุคลากรด้านนี้เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และลดปัญหางานวิจัยขึ้นหิ้ง การประชุม AUTM Asia 2016 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรทั้งนักวิจัยและนักพัฒนานวัตกรรม นักถ่ายทอดเทคโนโลยี และผู้ประกอบการ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือผลงานวิจัย ไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจได้ในอนาคต

ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานประชุมนานาชาติ AUTM Asia 2016 กล่าวว่า  “ในนามของคณะผู้จัดการประชุมฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ AUTM Asia 2016  ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ศลช.)กรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป.) และสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงนักวิชาชีพการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค

โดยจะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมาการลงทุนเพื่อการวิจัยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างการพัฒนาต่างๆให้เกิดขึ้นได้ งานวิจัยที่เกิดขึ้นนั้น จำเป็นจะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี นำองค์ความรู้เหล่านั้นออกสู่ตลาดและสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการเปลี่ยนผ่านงานวิจัยออกไปสู่ตลาด มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ทั้งในเรื่องของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายที่คุ้มครองผลงาน รวมถึงการจับคู่และเจรจาระหว่างภาคเอกชนกับเจ้าของผลงานนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องมีการจัดการเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการให้อนุญาตให้ใช้สิทธิและถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือที่เรียกรวมๆว่า Technology Management ซึ่งบุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการเทคโนโลยี เรียกว่า Technology Management Professional จะเปรียบเสมือนข้อต่อ ที่จะเชื่อมฝั่งนักวิจัยกับผู้ประกอบการเข้าด้วยกันอย่างราบรื่น ซึ่งมีบทบาทอย่างมากที่จะขับเคลื่อนงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

การประชุมนานาชาติ AUTM Asia 2016 ในครั้งนี้ เป็นการประชุมวิชาการที่รวบรวมองค์ความรู้มากมายจากมุมมองของวิทยากรในระดับนานาชาติมารวมอยู่ในงานเดียว โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและนักจัดการเทคโนโลยี/นวัตกรรมจากหลากหลายประเทศทั่วโลกมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ การแบ่งปันประสบการณ์การเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เน้นการส่งเสริมให้เกิดการนำผลวิจัยจากสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยไปต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”

โดยภายในงานการประชุมนานาชาติ AUTM Asia 2016 ได้มีการจัดประชุมวิชาการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีหัวข้อที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ประกอบการและนักวิจัย ตลอดจนกลุ่มนักถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผู้ที่สนใจประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อต่างๆ อาทิ  การต่อยอดนวัตกรรมและการวิจัยเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์,การเจรจาต่อรองด้านเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง,กรณีศึกษาของบริษัทเกิดใหม่ (Start Up) ที่ประสบความสำเร็จโดยการนำเอาองค์ความรู้ไปเพิ่มมูลค่า, นวัตกรรมรองรับสังคมผู้สูงอายุ, นวัตกรรมการเกษตร, นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีนักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสายงานดังกล่าวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนานวัตกรรม นักวิจัย หรือนักวิชาชีพในสายงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงผู้ประกอบการทั้งธุรกิจเกิดใหม่ (Start up), SME, บริษัทขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

การประชุมนานาชาติ Association of University Technology Managers, Asia 2016 (AUTM Asia 2016) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมแชงกรีล่า จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีความสำคัญต่อประเทศอย่างมาก เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการก่อให้เกิดเครือข่ายผู้จัดการนวัตกรรมในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นการรวมกลุ่มคนและองค์ความรู้ ทั้งด้านการจัดการนวัตกรรมและการวิจัยเข้าด้วยกัน โดยมี วิทยากรจากทั่วโลกและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยและต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 300 คน ถือเป็นการประชุมด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลกครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อพัฒนาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ และเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ

รายละเอียดเพิ่มเติม http://autmthailand2016.net/

12381232_1286424888040860_2010233059_o

12499535_1286424901374192_417127495_o

12874126_1286424814707534_2118832056_o

12874339_1286424904707525_518656637_o

b3d5e0f4-a748-4d81-982e-eefb7d999be4

DSC_3796

DSC_3805

DSC_3815

DSC_3817

DSC_3819

DSC_3821

DSC_3822

CNX NEWS เจาะข่าว  ตรงใจคุณ