วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ย้อนรอย คดี “ปรส.” ลูกหนี้คนไทยตายไปแล้ว โศกนาฏกรรม เศรษฐกิจหายนะ ตัวการยังลอยนวล

25 มี.ค. 2013
367
Spread the love

 

           ย้อนรอย คดี “ปรส.” ลูกหนี้คนไทยตายไปแล้ว โศกนาฏกรรม เศรษฐกิจหายนะ ตัวการยังลอยนวล

คดีนี้ ล่าช้าเนิ่นนานผ่านมามากว่าสิบปี และกำลังจะหลุดลอยนวลไปในอีกไม่ช้า หากคนไทยลืมง่าย 8 แสนล้านก็คงไม่มีผลใดๆอีกต่อไป นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งต้องรอทางปปช.ว่า จะดำเนินการอย่างไรและเอื้อผลประโยชน์โดยไร้ซึ่งนิติธรรมหรือไม่ คนไทยยังเฝ้าติดตามเรื่องนี้อย่างใจจดใจจ่อ

ย้อนไปเมื่อวัน ที่ 17 ก.ย. 55 ศาลอาญาได้ตัดสินจำคุก 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และ นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. แต่ให้รอลงอาญา 3 ปี

โดย ศาลระบุว่า สืบเนื่องจากระหว่างวันที่ 2 มิ.ย.-1 ต.ค. 2541 จำเลยที่ 1 กับพวกได้วางแผนแบ่งหน้าที่กัน โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธาน ปรส.ปฏิบัติหน้าที่ของ ปรส.ไม่โปร่งใสและมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และจำเลยที่ 2 อดีตเลขาธิการ ปรส. โดย ปรส.เข้าทำสัญญาซื้อขายเพื่อประโยชน์ทางภาษีอากร การกระทำของจำเลยทั้งหมดก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และ ปรส.กรณีไม่เรียกเก็บเงินงวดแรกในการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิงส์ อิงค์ จำเลยที่ 3 เมื่อปี 2541 จำนวน 2,304 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า จำเลยที่ 1 และ 2 มีความผิดจริงตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี และปรับคนละ 20,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เคยเป็นอดีต รมว.พาณิชย์ และจำเลยที่ 2 เคยดำรงตำแหน่งเป็นอดีตประธานอนุกรรมการกลั่นกรองวางแผนการฟื้นฟูให้กับ สถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นการทำคุณให้กับประเทศชาติ ประกอบจำเลยทั้ง 2 คนมีอายุมากแล้วจึงเห็นสมควรให้กลับตัวกลับใจ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 3 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยเป็นเวลา 1 ปี โดยต้องรายงานตัว 3 ครั้งต่อ 1 เดือน พร้อมบำเพ็ญประโยชน์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยที่ 3 ถึง 6 ศาลเห็นว่าไม่มีพยาน หลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงพิพากษายกฟ้อง

ความถึงคดี ปรส. ตอนนั้นเป็นหนี้ต่างชาติมากเกินไป นับตั้งแต่เปิดเสรีการเงินที่เรียกว่า สินเชื่อวิเทศธนกิจกรุงเทพ (บีไอบีเอฟ) มีหลักเกณฑ์คือเงินที่เข้ามาจากต่างประเทศ สามารถปล่อยกู้ให้คนในประเทศ โดยผ่านสถาบันการเงินหลากหลายประเภท แล้วไม่ต้องมีการควบคุม ดังนั้นที่เขาเรียกว่าเงินท่วมประเทศ เกิดจากนโยบายเสรีการเงิน ในสมัยรัฐบาลชวนหนึ่ง ซึ่งนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่ากา รกระทรวงการคลังในตอนนั้น ปรากฏว่าเงินท่วมเข้ามา ประเทศฟุ้งเฟ้ออย่างมาก กู้เงินเข้ามาเพราะดอกเบี้ยต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่มีความเสี่ยง ใครๆ ก็กู้จากต่างประเทศ ถึงขนาดที่ว่าเงินล้นทะลักธนาคาร นักธุรกิจตอนนั้นถูกขอร้องให้กู้เงิน เพราะอยากทำกำไรเยอะๆ หุ้นก็ขึ้น ทุกอย่างเป็นฟองสบู่หมด ดังนั้นเวลามีคนโทษนักธุรกิจ ต้องโทษนโยบายรัฐ ที่ผิดพลาดร้ายแรง ทำให้ประเทศมีหนี้มหาศาล แล้วคนกู้เงินตราต่างประเทศมักเอาไปลงทุนระยะยาว เช่น อสังหาริมทรัพย์ กว่าจะคืนทุนต้องใช้เวลา แต่เงินที่กู้เข้ามาเป็นเงินกู้ระยะสั้น พอเรียกคืนเมื่อไหร่ต้องคืนเมื่อนั้น พอมีหนี้ท่วม สถาบันการเงินไม่มีใครเตรียมตัวมาก่อน ในที่สุดมีการโจมตีค่าเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยสู้ไม่ได้จนต้องลอยค่าเงินบาท ทำให้หนี้ท่วมหมดเลย

นี่ เป็นโศกนาฏกรรมประเทศรอบหลายสิบปีที่ ผ่านมา จนที่สุด 58 สถาบันการเงิน ถูกปิดชั่วคราวในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และมาปิดถาวร 56 แห่งในสมัยชวนสอง เหลือ 2 แห่ง แล้ว 56 แห่งนี้ก็เลยตัดสินใจขายสินทรัพย์ทอดตลาด ซึ่งสินทรัพย์ทางบัญชีไม่รวม ดอกเบี้ย มีมูลค่า 677,645 ล้านบาท ขายได้แค่ 185,226 ล้านบาท ขาดทุนถึง 492,000 ล้านบาท โดยไม่นับดอกเบี้ย ถือเป็นการขาดทุนครั้งประวัติศาสตร์เท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา และเป็นการขาดทุนที่รัฐบาลค้ำประกันให้คนไทยทั้งประเทศกลายเป็นหนี้เพิ่ม ขึ้นผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จนเจ๊งอยู่ทุกวันนี้

การขายทรัพย์สินตอนนั้นเต็มไปด้วยความฉ้อฉล ในเวลาสั้นๆ บริษัทต่างชาติไม่เคยรู้ว่าใครเป็นใคร จะไปรู้ข้อมูลได้อย่างไร ใครสินทรัพย์ราคาเท่าไหร่ ก็ใช้วิธีติดต่อคนไทยว่าจ่ายให้ฉันได้เท่าไหร่ แล้วประมูลให้ต่ำกว่านั้น ไม่ใช่คนไทยไม่มีเงิน แต่หวังกระบวนการให้ต่างชาติประมูลได้ในราคาต่ำที่สุด แล้วหวังไปเรียกประโยชน์จากลูกหนี้ ด้วยการคิดราคาเต็ม บวกดอกเบี้ยค่าปรับอัตราสูงสุด นักธุรกิจที่กู้เงินต่างประเทศจนลงฉับพลัน

ปัญหาสำคัญคือ การประมูลของ ปรส. ใช้วิธีการดังต่อไปนี้

1. ไม่ให้ลูกหนี้เข้าประมูล แต่ให้ประมูลผ่านช่วงจากบริษัทต่างชาติแทน
2. จัดทรัพย์สินเป็นกองใหญ่ ทำให้ผู้ที่สามารถเข้าไปประมูลมีน้อยราย
3. จัดข้อมูลลูกหนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าหลักประกันและความสามารถในการชำระ การชนะประมูลราคาต่ำกว่าที่ควร จะเป็น ประกอบกับเอกสารข้อมูลสินทรัพย์ ข้อมูลลูกหนี้ไม่สมบูรณ์ และ ปรส.ไม่มีการแยกทรัพย์สินดี ทรัพย์สินเสีย ทำให้ราคาทรัพย์สินดีเสียไปด้วย
4. การประมูลสินทรัพย์ในเบื้องต้น ปรส.ไม่อนุญาตให้ บบส. ซึ่งตั้งโดยรัฐบาลเอง เข้าร่วมประมูล ทำให้มีการแข่งขันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ต้องดิ้นรนอยู่หลายรอบ บริษัทของคนไทยถึงได้เข้าร่วมประมูล
5. ในการประมูลตอนต้นมีนโยบายห้ามลูกหนี้ไปตกลงประนอมหนี้กับผู้ประมูล ณ ราคาคงที่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของยอดเงินคงคลังภายใน 6 เดือน หมายความว่าห้ามเจรจากันอย่างไร แต่ในทางปฏิบัติเขาเจรจากันทั้งนั้น

ที่ จริงแล้วใครเป็นหนี้ใครไม่ควรให้คนทั้งประเทศแบกรับ ถ้าสถาบันการเงินมีปัญหาจากนโยบาย ให้ไปเจรจากับเจ้าหนี้ต่างชาติเอง ถ้าใช้ไม่ได้ต้องล้มละลายก็อาจพิจารณาเป็นรายๆไป แต่การไปยุบเขาทั้งหมด แล้วรัฐรับประกันว่าจะจ่ายให้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม แล้วเอาทรัพย์สินไปขายทอดตลาดในราคาต่ำที่สุด และทรัพย์สินที่รัฐบาลบอกจะค้ำประกันเต็มทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ มันก็กลายเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟู 1.7 ล้านล้าน นี่คือความเสียหายที่เกิดขึ้นถ้า นายอมเรศ ไม่อุทธรณ์ก็แค่รอลงอาญา ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น แต่คนไทยจำนวนมากฆ่าตัวตาย ครอบครัวแตกแยก ประสบการณ์เรื่องนี้สอนให้คนไทยรู้ว่าจะปล่อยให้สถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ โดยคิดว่าไม่เป็นอะไรไม่ได้ คนไทยต้องรักชาติให้มากขึ้น เหตุการณ์ ปรส.ทำให้ลูกหนี้ดีๆ ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน เสียหายหนัก เช่น ที่ดิน ตึกราบ้านช่อง 10 ล้าน แต่กู้แค่ 5 ล้าน แล้วปรส.เอาหนี้ดีไปปนกับหนี้เน่า จากนั้นขายเป็นก้อนให้บริษัทฝรั่ง แล้วพวกนี้ก็ไปเรียกเก็บหนี้จนกระทั่งยึดที่ดินไป โดยวิธีบวกดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดชำระหนี้ เป็นการโกยกำไรมหาศาลบนความเจ็บปวดของคนไทยจริงๆ นี่คือผลบาปของ ปรส. กับการทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นแม้ นายอมเรศบอกว่าทำสิ่งที่ถูก ท่านคงเชื่ออย่างนั้นจริงๆ แต่สิ่งที่ท่านทำบ้านเมืองเสียหายมาก คนที่ทำงานให้ ปรส. ครั้งนั้น รับผลกรรมแต่เพียงชาตินี้ไม่พอ เพราะเสียหายมากจริงๆ

หลังจากนี้ กรรมการ ปรส. ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องโดยตรงในการขายและนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมและสนับสนุน ให้เจ้าหน้าที่กระทำผิดอาญาจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ราย จะถูกดำเนินคดี
ฐาน เป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานและเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันกระทำโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบายเพื่อหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร ในคดีภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุก 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 -200,000 บาท ถ้าคดีนี้ฟ้องได้ ก็มีโอกาสที่ประเทศจะได้เงินกลับคืนมา สำหรับคดีนี้เกี่ยวพันกับบริษัทใหญ่หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ

ความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากการขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ผ่านมา เคยตั้งนายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นกรรมการตรวจสอบ และได้ตั้งประเด็นในการตรวจสอบตรงกับการสอบสวนของดีเอสไอ การสอบสวนพบพยานหลักฐานว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาก ดีเอสไอ สั่งฟ้องคดีที่ 1 เรียบร้อย ก็จะเป็นบรรทัดฐานข้อกฎหมายที่จะมาใช้ฟ้องกรณีบริษัทอื่น ๆ ต่อไป

ซึ่ง เรื่องนี้ทั้งหมดเกิดขึ้นในสมัย นาย ชวน หลีกภัยเป็น นายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปปัตย์ที่มีส่วนรู้

เห็น คงไม่อาจเล่นบทปัดความรับผิดชอบที่ตัวเองถนัดได้ ถึงเวลาเวรกรรมตามทัน เพราะเป็นการขายชาติอย่างมหาศาล ขายให้ต่างชาติโดยไม่เปิดโอกาสให้เจ้าของซื้อคืน ในราคาเพียง 20 เปอร์เซนต์ และให้ต่างชาติขายคืนในราคาที่สูงกว่า ถึง 60 -70 เปอร์เซนต์ ถึงเวลาคนขายชาติตัวจริงต้องชดใช้กรรมแล้ว
แต่ทว่า ในยุคทหารครองเมืองแบบนี้ อาจเป็นเพียงเกมส์ต่อรองทางการเมืองเท่านั้นขนาดสื่อมวลชนยังไม่มีการตีข่าว ใหญ่เหมือนตอนรัฐบาลทักษิณถูกกล่าวหาเลย ทั้งที่เรื่องนี้เป็นการขายชาติครั้ง มโหฬาร หากเป็นแบบนั้นเราคนไทยคงต้องกู้ชาติกันจริงๆ แล้ว

 

 

สำนักข่าว

cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน