วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

มช.ร่วมลงนาม MOU บ.ยนต์ผลดี จก.ถ่ายทอดเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

17 ส.ค. 2016
336
Spread the love

unnamed (1)

มช.ร่วมลงนาม MOU บ.ยนต์ผลดี จก.ถ่ายทอดเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

พิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท ยนต์ผลดี จำกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Park Chiangmai University – STeP) ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ร่วมกันระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม (Triple Helix) เพื่อนำผลงานการวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยบริษัท ยนต์ผลดี จำกัด นั้น ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องจักรกลระบบโรงสีข้าวทั้งระบบของคนไทย ซึ่งดำเนินการยาวนานมากกว่า 60 ปี ได้ร่วมพิธีลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ในวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมแชงกรีล่า จ.เชียงใหม่

ความเป็นมาเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุได้รับการคิดค้นโดยคณะวิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา เวียรศิลป์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับขยายขนาด จนถึงระดับโรงงานต้นแบบ เริ่มตั้งแต่ “ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา” หรือ สกอ., “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)” หรือ สนช., “สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)” หรือ สวก. และ “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”โดย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) เพื่อสร้างโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการไข่แมลงที่อยู่ในเมล็ดข้าว ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถกำจัดได้ด้วยสารเคมี โดยมีหลักการคือ การใช้คลื่นความถี่วิทยุที่เกิดจากไฟฟ้าแรงดันสูง ส่งผ่านไปยังข้าวซึ่งจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในระดับโมเลกุลจะเกิดเป็นพลังงานสะสมเป็นความร้อนกระจายไปอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอในระยะเวลาอันสั้น กระบวนการของเทคโนโลยีนี้เรียกว่า UTD RF (Uniform Thermal Distribution of Radio Frequency)ซึ่งสามารถกำจัดแมลงและไข่แมลงได้ตลอดทั้งวงจรชีวิตโดยปราศจากการ  ใช้สารเคมี ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ได้รับความสนใจจากภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก

พิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ นี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมจากงานวิจัยไปสู่ประโยชน์เชิงปฏิบัติจริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการข้าวไทยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งนี้อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คาดการว่า เทคโนโลยี UTD RF จะสามารถเพิ่มมูลค่าข้าวได้มากกว่า 10-15 บาทต่อกิโลกรัม หรือ คิดเป็นร้อยละ 15-20 รวมทั้งจะมีข้าวที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวกว่า 6,480 ล้านตัน ภายในระยะเวลา 5 ปี

unnamed

 

 

CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ

รายงาน