วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ปลดพันธนาการแห่ง “โซ่ตรวน” คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

Spread the love

ปลดพันธนาการแห่ง “โซ่ตรวน” คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ปัจจุบันผู้ต้องขังที่ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต และจำคุกตลอดชีวิต ตลอดจนคดีอุกฉกรรจ์ต่างๆ จะต้องใส่ตรวนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541) ตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ข้อ 25 ระบุว่าเครื่องพันธนาการที่จะใช้แก่ผู้ต้องขังนั้นมี 4 ประเภท คือ 1) ตรวน 2) กุญแจมือ 3) กุญแจเท้า 4) โซ่ล่าม

“ตรวน” จึงเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย ที่ผู้ต้องขังจะต้องดูแลให้ดีที่สุด เนื่องจากจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับตรวนตลอด 24 ชั่วโมง

ต่อ มาทางรัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ

กระทรวง ยุติธรรม โดย กรมราชทัณฑ์ ได้สนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน มาใช้ในการปฏิบัติและควบคุมผู้ต้องขังเป็นไปตามหลักอาชญาวิทยา ทัณฑวิทยา เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ต้องขังประพฤติปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของเรือนจำ ประพฤติดี ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการ โดยได้จัดพิธี “วันประกาศถอดตรวนผู้ต้องขัง” เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา

โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมงาน โดยมี พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายวสันต์ สิงคเสลิต ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง ต้อนรับ ที่เรือนจำกลางบางขวาง ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี

พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ทางกรมราชทัณฑ์ได้มอบหมายภารกิจให้ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางไปดำเนิน การ โดยเรือนจำกลางบางขวางเป็นเรือนจำความมั่นคงสูง รับควบคุมผู้ต้องราชทัณฑ์สูงสุดถึงโทษประหารชีวิต และเป็นเรือนจำแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีแดนประหารชีวิต

“เรือน จำกลางบางขวางได้เริ่มดำเนินการทดลองถอดตรวนให้กับผู้ต้องขังที่จำตรวนทั้ง หมด ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2556 โดยผู้ต้องขังที่ได้รับการถอดตรวน ได้แก่ ผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษต่ำกว่า 50 ปี จำนวน 16 ราย ผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต จำนวน 34 ราย และผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษประหารชีวิต จำนวน 513 ราย รวมจำนวนผู้ได้รับการถอดตรวนทั้งสิ้น จำนวน 563 ราย”พ.ต.อ.สุชาติกล่าว


ตรวน, กุญแจมือ, กุญแจเท้า, โซ่ล่าม ที่ใช้ในปัจจุบัน

พ.ต.อ. สุชาติกล่าวว่า การถอดตรวนในครั้งนี้จะเกิดผลดีในเชิงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขัง และญาติโดยผู้ต้องขังและญาติล้วนมีทัศนคติในเชิงบวกต่อแนวนโยบายดังกล่าว ถึงแม้ว่าวันนี้ ผู้ต้องขังราชทัณฑ์ทั้งหลายจะยังถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ แต่การที่ได้ถอดตรวนในครั้งนี้ได้นำมาซึ่งความสุขในอิสรภาพที่สามารถเคลื่อน ไหวร่างกายได้อย่างอิสระ ปราศจากพันธนาการแห่งโซ่ตรวน

“ขณะ นี้กรมราชทัณฑ์จะขยายแนวนโยบายนี้ไปยังเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่งทั่วประเทศ ต่อไป โดยการประกาศถอดตรวนในวันนี้ เป็นการถอดตรวนให้แก่ผู้ต้องขังที่จำตรวนอยู่ภายในเรือนจำตลอด 24 ชั่วโมง เหตุที่เรือนจำและทัณฑสถาน ต้องใช้เครื่องพันธนาการ (ตรวน) แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ ภายในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อป้องกันเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายในเรือนจำ และเพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที

“ส่วนผู้ต้องราชทัณฑ์ที่ถูก ควบคุมไปนอกเรือนจำ ปัจจุบันยังต้องมีการจำตรวนอยู่ และหากในอนาคต กรมราชทัณฑ์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาเครื่องมือมาทดแทนการจำตรวน ได้ ก็จะสามารถยกเลิกการจำตรวนผู้ต้องราชทัณฑ์ในรูปแบบเดิม ซึ่งที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ตามแนวทางสิทธิมนุษยชน เช่น อาวุธที่ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต เสื้อเกราะ เป็นต้น” พ.ต.อ.สุชาติกล่าว

ทั้ง นี้ ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 ปัจจุบันเรือนจำทั่วประเทศมีทั้งหมด 132 แห่ง (ไม่รวมสถานกักกัน สถานกักขัง และทัณฑสถานเปิด) โดยจำนวนเรือนจำที่ไม่ใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังมี 24 แห่ง และจำนวนเรือนจำที่ใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังมี 108 แห่ง โดยมีจำนวนผู้ต้องขังที่ใช้เครื่องพันธนาการ 2,219 ราย


เครื่องพันธนาการแบบใหม่ ที่จะนำมาใช้แทนตรวน (ภาพจาก www.dangdd.com)

ปัจจุบัน การใช้เครื่องพันธนาการ (ตรวน) มี 2 ลักษณะ คือ 1.การใช้กับนักโทษภายในเรือนจำ กรณีนี้จะใช้กับนักโทษที่มีอัตราโทษสูง หรือผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัย 2.การใช้ควบคุมนักโทษกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายออกจากเรือนจำ

ต่อมา ทางกรมราชทัณฑ์ได้เริ่มดำเนินการแก้ไขการใช้เครื่องพันธนาการ (ตรวน) คือ 1.กรณีการใช้ตรวนกับนักโทษที่ต้องหาคดีที่มีอัตราโทษสูง ได้เริ่มด้วยการถอดตรวนในเรือนจำใหญ่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง และขยายแนวคิดไปยังเรือนจำอื่นๆ ต่อไป

2.การใช้ตรวนกับผู้ต้องขังใน กรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายนักโทษออกจากเรือนจำ ขณะนี้ได้เริ่มทดลองใช้เครื่องพันธนาการแบบใหม่ (กุญแจมือและกุญแจเท้า) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จัดซื้อมาจากประเทศสากล ซึ่งในเบื้องต้นเริ่มทดลองใช้ที่เรือนจำในกรุงเทพมหานครบางส่วน

วสันต์ สิงคเสลิต ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง บอกว่า ภายหลังจากการถอดตรวนทางเรือนจำได้มีการทำความเข้าใจ และเข้าไปพูดคุยกับผู้ต้องขังโทษอุกฉกรรจ์ โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่ถูกศาลตัดสินประหารชีวิต การอยู่ในเรือนจำโดยที่ไม่ได้ใส่ตรวนนั้น อย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตเขา และพยายามสร้างแนวความคิดความเข้าใจในการเคารพกฎหมายของสังคม อย่างน้อยที่สุดให้เขามีความหวังว่า โอกาสที่เขาจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษนั้นมีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเขาอยู่ในระเบียบวินัยก็จะเกิดประโยชน์กับเขา เราให้ความสำคัญในการพูดคุยกับเขาอย่างสม่ำเสมอ

“ปัจจุบันอัตรา กำลังของเจ้าหน้าที่ย่อมไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ต้องขัง แต่จะมีมาตรการเสริมเข้าไปคือ ให้ทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปคลุกคลีกับผู้ต้องขังเพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่ง กันและกัน เพราะการได้พูดคุยกับผู้ต้องขังช่วยให้เกิดความผ่อนคลายขึ้น การไว้วางใจจึงจะเกิดขึ้น แต่อาจจะมีผู้ต้องขังบางคนคิดนอกลู่นอกทาง ซึ่งทางเราได้พยายามแยกระหว่างคนดีและคนไม่ดีออกมา ถ้าคนไหนไม่ประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบวินัย เราก็จะแยกออกไปไว้แดนอื่น ส่วนกรณีการนำผู้ต้องขังเดินทางไปขึ้นศาลหรือการขนย้ายผู้ต้องขังไปเรือนจำ อื่นนั้น การใช้ตรวนยังจำเป็นต้องใช้อยู่ แต่เมื่อกลับมาจากศาลเข้าไปในเรือนจำแล้ว ก็จะถอดตรวนออกทันที” วสันต์บอก

สำหรับ เครื่องพันธนาการแบบใหม่นี้ เจ้าหน้าที่สำนักทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์ ระบุว่า กำลังอยู่ในช่วงศึกษาและได้นำมาทดลองใช้ที่เรือนจำพิเศษในกรุงเทพมหานครทั้ง 3 แห่ง คือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษธนบุรี และเรือนจำพิเศษมีนบุรี

โดยลักษณะเครื่องพันธนาการแบบใหม่จะเป็นแบบ เข็มขัดรัดเอว เรียกว่า กุญแจมือสายเข็มขัด โดยจะมีลักษณะทั้งเป็นแบบสายเข็มขัดโซ่และเข็มขัดหนัง ส่วนกุญแจมือเหมือนกุญแจมือทั่วไปตามปกติ

แต่จะไม่ได้พันธนาการเฉพาะมือเพียงอย่างเดียว จะล็อกไว้อยู่ในมุมที่ไม่สามารถกางแขนได้กว้างมากจนเกินไป

ส่วนลักษณะการใส่เครื่องพันธนาการจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาคดีของผู้ต้องขังแต่ละคนไป

ความในใจนักโทษหลังปลดตรวน

นช.วุฒิพงษ์ (นามสมมุติ) วัย 30 ปี ชาวจังหวัดนครปฐมเล่าถึงความรู้สึกที่มีตรวนอยู่ที่ข้อเท้าในวันแรกที่เข้า เรือนจำว่า ตอนนี้ถูกจำคุกมาแล้ว 2 ปี หลังจากศาลได้ตัดสินให้ประหารชีวิตจากคดีฆ่าคนตาย ในวันแรกที่ใส่ตรวนรู้สึกแย่มากๆ ไม่น่าทำความผิดตั้งแต่ต้น ไม่คาดคิดว่าจะต้องใส่ตรวนตลอดเวลาแบบนี้ ตรวนมีน้ำหนัก 3-4 กิโลกรัม ตอนใส่กว่าจะชินต้องทำใจอยู่เป็นเดือนๆ

วันแรกที่ใส่ตรวนรู้สึกหนัก และรำคาญมาก ตอนใส่ตรวนอึดอัดและหนักมากเหมือนช้าง เดินไม่ถนัด รู้สึกเหมือนตัวเองถูกกักขัง เวลานอนก็ไม่สบายตัว เวลาพลิกตัวไปมาจะยกเท้าทีก็ติดโซ่ตรวน ทันทีที่มีการปลดตรวนรู้สึกดีใจมากๆ เหมือนได้ชีวิตปกติกลับคืนมา

 

ขอบคุณที่มา http://www.matichon.co.th

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ