วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

ถึงเวลา ดันภาษาอังกฤษ เป็นวาระแห่งชาติ? เมื่อระดับการสื่อสารเด็กไทย สุดแย่

Spread the love

ถึงเวลา ดันภาษาอังกฤษ เป็นวาระแห่งชาติ? เมื่อระดับการสื่อสารเด็กไทย สุดแย่

 

ถึงเวลา ดันภาษาอังกฤษ เป็นวาระแห่งชาติ? เมื่อระดับการสื่อสารเด็กไทย สุดแย่

Mthainews: เรื่องของภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทยเป็นที่พูดถึง และตื่นตัวกันพอสมควร ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2558 ที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน และจำเป็นอย่างยิ่งที่แรงงานจะต้องมีความรู้พื้นฐานในการติดต่อสื่อสารให้เข้าใจ และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ เพิ่มศักยภาพของคนในประเทศได้

 

นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และแรงงาน จึงเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับ ปรับพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะผลการวิจัยของบริษัท เอดูเคชั่น เฟิร์สต์ ของประเทศสวีเดน เผยถึงการใช้ภาษาอังกฤษ ของคนไทย พบว่า จัดอยู่ในประเทศรองบ๊วย ที่มีการจัดอันดับ 54 ประเทศ ที่ไม่ได้ใช้ภาษา อังกฤษเป็นภาษาแม่ ไทยติดอันดับที่ 53

ผลวิจัยนี้ สะท้อนถึงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้อย่างชัดเจน แม้ว่าภาษาอังกฤษจะถูกบรรจุให้เด็กนักเรียนได้เรียนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก  แต่ทักษะการสื่อสารกลับไม่มีประสิทธิผล เหตุผลที่ส่วนใหญ่อ้างถึงก็คือ ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของไทย ทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้และฝึก  อีกทั้งในชั้นเรียน จะเน้นสอนในเรื่องไวยากรณ์ หลักภาษา ให้ท่องจำ อย่างกริยาช่อง 1 2 3 หรือแกรมม่า เป็นเหตุให้เด็กไทย ไม่กล้าพูด เขียน เพราะกลัวเสียหน้า ความอายทำให้เสียโอกาสในการฝึกฝนไปโดยปริยาย

เชื่อว่าคนไทยหลายคน เรียนภาษาอังกฤษมาเป็นสิบปี ยังใช้ไม่ได้ พูดไม่เป็น แม้ว่าจะลงเรียนคอร์สสอนภาษาตามสถาบันต่างๆ ก็ยังสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นเพราะเราไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

หากมีฝรั่งมาสอบถามข้อมูลอะไรสักอย่าง ก็ต้องนิ่งไปสักพัก ก่อนจะนึกเรียงประโยคแล้วพูดตอบแบบงงๆ ฉะนั้น การดื้นรน ฝึกฟัง ฝึกพูด ฝึกใช้ภาษาอังกฤษบ่อยๆ แน่นอนว่า ทักษะภาษาอังกฤษย่อมมีเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนไม่ใช่ใครที่ไหน เมื่อครั้งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติภารกิจนายกรัฐมนตรีในช่วงแรก ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ดีนัก

 

เช่นเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ถ้อยคำการแถลงข่าวร่วมกันระหว่างนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า มีถึง 12 คำที่ทางเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศวงเล็บหลังคำแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ว่า inaudible (อินออดะเบิล) มีความหมายว่า ได้ยินไม่ชัด หรือ ไม่ได้ยิน  กระทั่ง ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชน แนะให้ใช้ล่ามแทน เพราะอาจผิดพลาดจนประเทศไทยเสียหาย รวมไปถึงการสัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม  การเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทย ผลที่ออกมาวันนี้ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและคนไทย หากระบบและสื่อการสอนยังเหมือนเดิม ผลที่ได้ก็ยังคงต่ำกว่าระดับพอใช้ ในขณะเดียวกัน ประเทศสิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิบปินส์, พม่า ,เวียดนาม มีความกระตือรือร้น ขวนขวายใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นโอกาสในการแข่งขันกับคนอื่น ทั้งการเรียน การทำงาน

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ไทยจะยกเป็น “วาระแห่งชาติ” ด้วยการรณรงค์ให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

 

ขอบคุณข่าวและภาพจาก MThai News

สำนักข่าว 
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ