วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

คณะแพทย์ มช. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการระดับนานาชาติ 2016

23 พ.ย. 2016
636
Spread the love

unnamed (1)

คณะแพทย์ มช. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการระดับนานาชาติ 2016

 

​คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดแข่งขันตอบปัญหาวิชาการนานาชาติ Chiang Mai University International Medical Challenge 2016 (CMU-IMC 2016) เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้พัฒนาความกล้าแสดงออก ในการเสาะแสวงหาโอกาสที่จะเรียนรู้ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับคลินิก (Basic to Clinical Anatomy) มีส่วนร่วมเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ และเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธภาพอันดีงามกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ  ต่างสถาบันทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยกำหนดจัดขึ้น  ระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2559โดยมี รองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรม  รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ และนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ มช.  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี เมื่อวันเสาร์ที่  19  พฤศจิกายน  2559

​ศ.คลินิก นพ.วัฒนา  นาวาเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เริ่มมีการเปิดเสรีทางด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานของบุคลากรในสายอาชีพต่างๆ รวมถึงอาชีพแพทย์ ทำให้มีแนวโน้ม ที่จะเกิดการเพิ่มขึ้นของการติดต่อประสานงานและความร่วมมือระหว่างแพทย์ชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนี้ เป็นที่ตระหนักดีว่าบุคลากรชาวไทย ทั้งแพทย์และนักศึกษาแพทย์ ยังมีความไม่พร้อมทางด้านทักษะภาษาอังกฤษอยู่มาก การจัดการแข่งขันทางวิชาการ จะเป็นการนำชาวต่างชาติเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นับเป็นโอกาสอันดี ที่นักศึกษาแพทย์ มช. จะได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้มีความกล้าแสดงออก   ฝึกทักษะการบริหารจัดการกับกิจกรรมที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มช. กับนักศึกษาแพทย์ไทยและต่างชาติอีกด้วย   โดยมีอาจารย์แพทย์ และนักศึกษาแพทย์  จากสถาบันโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ และต่างประเทศ เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 7 ประเทศ  กว่า 41 ทีม ประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย  จีน ฟิลิปปินส์  เวียดนาม มาเลเซีย  กัมพูชา และไทย  รวมจำนวนทั้งสิ้น 148 คน

ทั้งนี้ การเชิญบุคลากรทั้งอาจารย์แพทย์ และนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนแพทย์จากอาเซียนและประเทศจีนมาเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ยังเป็นการแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการ ศักยภาพทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากร และศักยภาพทางด้านการให้บริการทางการแพทย์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อแสดงให้เห็นว่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความก้าวหน้าในด้านการเรียนการสอนและการให้บริการทางสาธารณสุข     ในระดับแนวหน้าหรือทัดเทียม เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

unnamed (2)

unnamed (3)

unnamed (4)

unnamed (5)

unnamed (6)

unnamed (7)

unnamed (8)

unnamed (9)

unnamed (10)

unnamed (11)

unnamed (12)

unnamed (13)

unnamed (14)

unnamed

CNX NEWS เจาะข่าว  ตรงใจคุณ

รายงาน


คณะแพทย์ มช. เป็นเจ้าภาพบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานยาสูบ

04 เม.ย. 2014
636
Spread the love

                 คณะแพทย์ มช. เป็นเจ้าภาพบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบร่วมกับ 8 องค์กรใหญ่

 

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เจ้าภาพบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ (MOU) เพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐและตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจในการดูแลสุขภาพของประชาชน เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 เมษายน 2557 ณ ห้องประชุมบุญสมมาร์ติน คณะแพทยศาสตร์  มช.     

 

รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในฐานะประธานโครงการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ได้พัฒนาระบบ กำกับ และติดตามการประสานงานการดำเนินงานโรงพยาบาลปลอดบุหรี่เปิดเผยว่า “โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ในการเป็นเจ้าภาพการบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ(MOU) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  8 องค์กร  ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช.  นำโดย รศ.นพ.วัฒนา  นาวาเจริญ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มช. ซึ่งเป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนในการดำเนินงานโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ร่วมติดตามปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน , คณะสงฆ์วัดปันเสา สถาบันทางศาสนาให้การสนับสนุน  ส่งเสริมการเรียนรู้  และร่วมรณรงค์  ประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือการลด  ละ  เลิกบุหรี่ในชุมชน        โดยได้รับเกียรติจากพระมหาอาวรณ์  ชัยประสิทธ์ เจ้าอาวาสวัดปันเสา , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่   ให้การสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาการดำเนินงานโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ นำโดย        ทันตแพทย์สุรสิงห์  วิศรุตรัตน  นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ รองนายแพทย์ สสจ.เชียงใหม่,โรงพยาบาลหางดง เป็นโรงพยาบาลที่ใกล้ชิดชุมชนที่ให้การบริการบำบัดรักษาแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านการสูบบุหรี่  และให้การปรึกษาและติดตามผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง นำโดยพญ. นลินทิพย์  ธรรมฤกษ์ฤทธิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหางดง , ศูนย์ศรีพัฒน์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นองค์กรที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ  พัฒนาทักษะ  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการลด  ละ  เลิกบุหรี่ในบุคลากรและผู้รับบริการนำโดยรศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศรีพัฒน์  คณะแพทยศาสตร์ มช. ,ด้านสถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์เป็นองค์กรที่ให้การประสานความร่วมมือด้านกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ  พ.ศ. 2535  และพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่  พ.ศ.2535 นำโดย  พ.ต.อ.อรรคเดช  เตจ๊ะราษฎร์  พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิสถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์  , เทศบาลตำบลสุเทพเป็นหน่วยงานที่คอยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และสนับสนุนกิจกรรมการรณรงค์  ลด  ละเลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน นำโดยคุณกัณหา  อิศรางกูร  ณ  อยุธยา  ผู้แทนเทศบาลตำบลสุเทพ  และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันการศึกษา สร้างเสริมจิตสำนึกแก่เยาวชนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่สนับสนุนกิจกรรมการดูแล  เฝ้าระวัง ป้องกันนักสูบรายใหม่และป้องกันปัญหาการสูบบุหรี่ในโรงเรียน มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการจัดกิจกรรม  ส่งเสริมทักษะชีวิตและการดูแลส่งต่อเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา  นำโดยอาจารย์อรพินท์  คันธาเวช รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่”

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นโยบายด้านสาธารณสุขที่ตระหนักถึงพิษภัยร้ายแรงของบุหรี่ที่เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่สำคัญ และตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535  และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2545 และฉบับที่ 13 (พ.ศ.2546) เรื่อง กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และกำหนดบริเวณหรือพื้นที่ของสถานที่ดังกล่าวเป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดบุหรี่ เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้ดำเนินงานเพื่อสนองตอบต่อนโยบายแห่งรัฐ และตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจในการดูแลสุขภาพประชาชน อีกทั้งเนื่องด้วยจรรยาปฏิบัติของบุคลากรวิชาชีพสาธารณสุขที่จะดำรงตนเป็นแบบอย่างของผู้ไม่สูบบุหรี่ และส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมปลอดบุหรี่ ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในการประสานงานและความต่อเนื่อง ได้พิจารณาร่วมกันถึงประโยชน์ต่อผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากบุหรี่โดยตรง  ได้แก่ ผู้ป่วย ญาติ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่เข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา ให้การช่วยเหลือ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน