วันพุธ, 8 พฤษภาคม 2567

คณะวิทยาศาสตร์ มช แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Spread the love

คณะวิทยาศาสตร์ มช แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

DSCF2042

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 (วทท 38)

ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส ในวันที่ 17-19 ต.ค 55 โดยงานนี้มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ พร้อมทั้งนักวิทยาศาสตร์ร่วมประชุมกว่า 1,200 คน

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุมพระยาศรีวิสารวาจา สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มช. เป็นประธานในการแถลงข่าวร่วมกับ ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัวนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ธารารัตน์ ศุภศิริประธานการจัดงาน วทท 38 และ รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มช.

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มช. เผยว่า การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 (วทท 38) ในครั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีจะเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมและทรงร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษจากนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลระดับชาติ พร้อมทั้งทรงประธานรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2555 โดยมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้าร่วมรับรางวัลในครั้งนี้ คือ ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากรที่ได้รับรางวัลจากผลงานวิจัยดีเด่นเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง และผลงานวิจัยดังกล่าวปัจจุบันได้ดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศสหรัฐอเมริกาปละในเขตภาคพื้นยุโรปแล้ว

ด้านนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย เผยว่า ในปี 2555 นี้ทางสมาคมได้พิจารณามอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2555 จำนวน 2 ท่าน และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 3 ท่าน โดยได้พิจารณาคัดเลือกนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นที่ประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในวงกว้าง ซึ่งที่ผ่านมาทาง สมาคมฯได้สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีหลายรูปแบบและหนึ่งในกิจกรรมที่จัดทุกปีคือการจัดประชุมวิชาการ วทท.เป็นเวทีระดับชาติที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์จากทั่วประเทศและเป็นเวทีในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการจัดการประชุม วทท. ได้จัดมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีโดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2492 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามโดยงานครั้งนี้ฯมีนักวิจัยร่วมนำเสนอผลงานจำนวน 700 ผลงานวิจัยจาก 18 กลุ่มสาขาวิชา

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มช. ย้ำว่าการที่จะสร้างงานนวัตกรรมเพื่อพัฒนาต่อไปเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำวิจัยพื้นฐาน ถ้าทุกคนร่วมต่อยอดงานวิจัยนับว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าทุกคนมุ่งไปต่อยอดทำวิจัยพื้นฐาน งานใช้ประโยชน์คงไปแค่ระดับโอทอป จึงอยากให้ทางภาครัฐได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง.