วันพฤหัสบดี, 2 พฤษภาคม 2567

ข่าวดี ตาน ฉ่วย”หนุน “ซูจี” เป็นผู้นำพม่า

Spread the love

ข่าวดี ตาน ฉ่วย”หนุน “ซูจี” เป็นผู้นำพม่า

(แต่ต้องในอนาคต) น๊ะจ๊ะ……

scoop1111

               ท่านผู้อ่านครับ ปลายสัปดาห์ที่แล้วนาย เนย์ ฉ่วย เตวย์ อ่อง หลานชายของ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย อดีตผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ค ว่า พล.อ.ตาน ฉ่วย ประกาศพร้อมให้การสนับสนุน นางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี อย่างเต็มที่ ในฐานะว่าที่ผู้นำ ในอนาคต หลังได้หารือกับนางซูจีเมื่อวันศุกร์ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา

                 อันนี้เป็นข่าวเล็กๆนะครับข่าวละเอียดอยู่นี่

                           สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่าพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย อดีตผู้นำเผด็จการทหารพม่า และนางอองซาน ซูจี แอบพบกันและเจรจากันอย่างลับๆ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2558 ต่อมา หลานชายนายพลตาน ฉ่วย ก็ทำหน้าที่สื่อกลางเปิดเผยข่าวผ่านโซเชียลมีเดียในวันเสาร์ ระบุนายพลเกษียณวัย 80 ประกาศสนับสนุนซูจีเป็น “ผู้นำในอนาคต” แต่ยังไม่ชัดเจนว่าหมายถึงหนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ซูจีเป็นประธานาธิบดีได้หรือไม่

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอีก ว่า การพบหารือระหว่างศัตรูเก่าคู่นี้เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเจรจากันนาน 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยอ้างตามข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กของเนย์ ฉ่วย ทเว อ่อง หลานชายของพลเอกอาวุโสท่านนี้เมื่อวันเสาร์

       “ทุกคนต้องยอมรับความจริงว่า คุณอองซาน ซูจี จะเป็นผู้นำของพม่าในอนาคตหลังจากชนะการเลือกตั้ง”  ไม่ทราบว่าใครพูด    

            แต่หลานชายซึ่งทำหน้าที่สื่อกลางระหว่างทั้งสอง อ้างอิงคำพูดของตาน ฉ่วย “ผมจะสนับสนุนท่านอย่างเต็มที่มากเท่าที่สามารถ หากท่านทำงานเพื่อพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง”

นายพล ตาน ฉ่วย ผู้กุมอำนาจปกครองพม่ายาวนานเกือบ 2 ทศวรรษผู้นี้ ถูกมองว่าเป็นผู้นำเผด็จการทหารที่ปราบปรามฝ่ายต่อต้านอย่างหนัก เขากักขังอิสรภาพของสตรีนักเรียกร้องประชาธิปไตยรายนี้เกือบตลอดช่วง 19 ปีที่เขาครองอำนาจ กระทั่งเขาตัดสินใจวางมือและถ่ายโอนอำนาจให้รัฐบาลกึ่งพลเรือนภายใต้การนำของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เมื่อปี 2554 แต่เชื่อกันว่า ตาน ฉ่วย ยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อกองทัพและรัฐบาล แม้เขาจะไม่มีตำแหน่งใดแล้วก็ตาม

           หม่อง   (ภาษาพม่าแปลว่า นาย หรือ คุณ) วิน มินต์ โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางซูจี ยืนยันกับเอเอฟพีว่า ผู้นำอาวุโสทั้งสองคนพบปะกันเมื่อวันศุกร์ และเป็นการพบกันครั้งแรกนับแต่ปี 2556

               ส่วน หม่อง วิน เต่ง สมาชิกระดับอาวุโสของเอ็นแอลดี กล่าวกับรอยเตอร์ว่า ซูจีพบกับตาน ฉ่วย เพราะนางเชื่อในอิทธิพลที่เขามีต่อรัฐบาลและกองทัพ

            ยังไม่มีความชัดเจนว่า ถ้อยคำสนับสนุนของตาน ฉ่วย หมายรวมถึงการสนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้นางซูจีขึ้นเป็นประธานาธิบดีหรือไม่    

รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีมาตราหนึ่งที่ห้ามบุคคลที่มีคู่สมรสหรือบุตรเป็นชาวต่างชาติขึ้นทำหน้าที่ผู้นำสูงสุดของประเทศ นางซูจีมีสามีที่ล่วงลับเป็นชาวอังกฤษ และมีบุตร 2 คนถือสัญชาติอังหลังจากพรรคเอ็นแอลดีกวาดชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา นางซูจีประกาศว่า นางจะเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งนี้เอง และนางจะควบคุมอยู่เหนือประธานาธิบดี ขณะเดียวกันนางได้พยายามสร้างความปรองดองกับกองทัพและรัฐบาลชุดนี้ซึ่งมีกองทัพหนุนหลัง โดยเรียกร้องให้มีการเจรจาสร้างความปรองดองแห่งชาติขึ้น

ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน กองทัพยังคงกุมอำนาจอย่างมาก ทั้งจากโควตาผู้แทนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง 25% ในสภา และตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญๆ

เมื่อวันพุธ ซูจีเพิ่งได้พบเจรจากับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และพลเอกมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า ที่กรุงเนปิดอว์ ทั้งสองประกาศย้ำอีกครั้งว่าจะเคารพผลการเลือกตั้งและสนับสนุนการถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติ.

แต่ก็แค่การออกข่าวผ่านสื่อ ยังไม่มีการเรียกประชุมสภา ยังไมมีการแต่งตั้งอะไร อย่างไร มีแต่เงียบๆๆๆและเงียบ ในขณะที่มีข่าวว่า ขณะนี้ เต็ง เส่ง ยังคงเป็นผู้นำรักษาการอยู่ เขาจะหมดวาระ เดือนมีนาคม2559 เวลาที่เหลือ อาจจะมีอะไรที่เราไม่คาดคิด ประสา พม่า เพราะเมื่อ20ปีก่อน ซูจีก็เคยโดนมาแล้ว คือพรรคของนางชนะแบบเดียวกับปีนี้ แต่ ทหารไม่ยอมรับ ไม่ยอมให้จัดตั้งรัฐบาล และกักขังนางอยู่ในบ้านตลอดมา เพิ่งจะยินยอมให้ทำกิจกรรมได้เมื่อไม่นานมานี้เอง

             แต่สำหรับการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญการเมืองในพม่าก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศเมียนมา (พม่า) เขาก็อ่านหน้าไพ่ออกมาแบบนี้ครับ

เขาบอกว่า การเลือกตั้งในพม่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าของพม่าให้ดีขึ้น หรือแย่งลงนางอองซาน ซูจี จะเป็น “นางฟ้า” หรือ “ซาตาน” นั้น ต้องลองมาดูข้อมูลพื้นฐานกันก่อน

๑. พม่าเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และกระแส New World Order ที่มาพร้อมกับ “ประชาธิปไตย” แบบตะวันตกไว้ได้อย่างมั่นคง ด้วยการประกาศปิดประเทศ (ประมาณ ๑๐ ปี ในเวลาเดียวกันนั้น ประชาชนในประเทศไทยพากันออกไปโบกธงเขียวให้มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น จนทรัพยากรของประเทศตกไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติเกือบหมดประเทศแล้ว) ซึ่แต่พม่ายังสามารถรักษาทรัพยากรส่วนใหญ่ไว้ได้ และสามารถดูแลประชาชนเกือบ ๕๐ ล้านคนไม่ให้อดตายมาได้อย่างประหลาด ท่ามกลางความกดดันและการแอนตี้จากประเทศตะวันตก

๒. การต่อต้าน New World Order ที่มาพร้อมกับประชาธิปไตยแบบตะวันตกของพม่านั้น คือ การต่อต้าน “นางอองซาน ซูจี” นั่นเอง เพราะเธอสู้กับเผด็จการทหารพม่าอย่างโดดเด่นและทรหด เรื่องดังกล่าวนี้จึงทำให้ “อองซาน ซูจี” เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยแบบตะวันตกอย่างเต็มรูปแบบ และก็เป็นเหตุผลที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เชียร์อองซาน ซูจี กันตลอดมา โลกสวยของอองซาน ซูจี คือ การทำให้ชาวพม่ามีความฝันแต่ในเรื่องที่ดีของประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น ทั้งในเรื่องความเท่าเทียมกันในสิทธิของประชาชน, การกินดีอยู่ดี, การมีถนนหนทาง, มีศูนย์การค้าใหญ่ๆ แบบกรุงเทพฯ, การมีงานทำ ฯลฯ ส่วนเรื่องเลวร้ายของระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งมีมากกว่าหลายสิบเท่า นางอองซาน ซูจี ไม่เคยพูดถึงเลย เป็นไปได้ว่าเธอเองก็ไม่รู้ว่าความเลวร้ายของประชาธิปไตยมันมีมากขนาดไหน เพราะชีวิตเธอสู้มากับเผด็จการทหารแทบตลอดทั้งชีวิต

     ทหารพม่ารู้เรื่องโลกสวยของนางอองซาน ซูจี เป็นอย่างดี จึงหาทางป้องกันโดยกำหนดลงไป (๒) ให้ทุกสภา (พม่ามี ๓ สภาฯ) ต้องมีบุคคลที่ทหารจะตั้งเข้าไป โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งจำนวน ๒๕%

       (เขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้ สหรัฐฯ ไม่เห็นว่าอะไรเลย ลองเป็นประเทศไทยบ้างซิ มันเผือกแน่)

๓. ตั้งแต่พม่าเปิดประเทศมา ประธานาธิบดีเต็งเส่งมีผลงานออกมามากมายที่จับต้องได้เป็นเรื่องเป็นราว เช่น ทางด้านการค้าการลงทุน, การวางตัวอยู่ในดุลอำนาจของกลุ่มประเทศตะวันตกกับประเทศจีน ได้อย่างเหมาะสม ส่วนทางด้านความมั่นคงมีข้อตกลงสงบศึกกับชนกลุ่มน้อยหลายสิบชนเผ่า ซึ่งดำเนินงานมาเป็นไปได้อย่างดี มาเสียตรงเรื่องชาวโรฮิงญาหน่อยเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผนวกกับเงื่อนไขที่ได้เปรียบในรัฐธรรมนูญ รัฐบาลพม่าจึงค่อนข้างมั่นใจต่อการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ว่า

๓.๑ แพ้ แต่ไม่น่าจะมากมายนัก เมื่อรวมเสียง ๒๕% ตัวเองแต่งตั้งเองแล้วก็น่าจะชนะเล็กน้อย

๓.๒ ทางชนกลุ่มน้อยน่าจะเลือกฝ่ายรัฐบาลพม่ามากกว่า เพราะนางอองซานฯ พูดถึงแต่คนพม่าจริงๆ แค่นั้น ส่วนชนกลุ่มน้อย “พูดคุยไว้พอเป็นไม้ประดับ”

๓.๓ มีอภิสิทธิ์ในการใช้กลไกรัฐหาเสียงอีก

การคาดคะเนดังกล่าว ทำให้รัฐบาลพม่าจัดการเลือกตั้งครั้งนี้แบบบริสุทธิ์จริงๆ ขนาดที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ขนาดนี้เกิดขึ้นเลย ใครจะมาสังเกตการณ์การเลือกตั้งตรงไหนว่ามาได้ตามสบาย อยากจะหาเสียงแบบไหนเชิญเลย โดยหารู้ไม่ว่า “การรายงานโฆษณาชวนเชื่อของสื่อจากตะวันตก” ตลอดระยะเวลา ๒ สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง ได้ทำให้ “นางอองซานฯ” เป็น “นางฟ้า” ลงมาปลดทุกข์ให้ชาวพม่า พร้อมกับโปรยความฝันถึงการเข้ามาลงทุนอย่างมากมายของชาวตะวันตก ชาวพม่าจึงอยากกิน “แดกด่วน” ยี่ห้อต่างๆ ของสหรัฐฯ, อยากมีโรงภาพยนตร์หลายมิติเหมือนอย่างในประเทศไทย, อยากมีรถไฟฟ้า ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นฝันร้ายที่ทำให้คนพม่าส่วนใหญ่เลือกนางอองซานฯ มากกว่าการเลือกกติกาประชาธิปไตยจริงๆ

พรรค NLD ของนางอองซานฯ หาเสียงด้วยคำขวัญ “Vote for Change” ใกล้เคียงกับคำขวัญของโอบาม่าเลย จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความตื่นเต้น ตื้นตันใจ ผนวกกับสื่อตะวันตก(รวมทั้งสื่อไทยด้วย) โหมกระหน่ำ กองทัพ นักข่าวต่อเป้าหมายเฉพาะนางอองซานอย่างเดียวเลย พรรคทหาร (พรรค USDP) ของรัฐบาลพม่าซึ่งมีคำขวัญในการหาเสียงทื่อๆ “Moving Forwad Together” (ใกล้เคียงกับของประเทศไทย) จึงแพ้ยับเยินครับ

ส่วนการลงคะแนนเสียงของชาวพม่า ต้องขอชื่นชมที่มาเลือกตั้งกันแบบไม่ต้องมีการซื้อเสียง (เป็นครั้งแรก ครั้งต่อไปมีแน่) มากันแต่เช้า ต้องเข้าคิวกันยาวเหยียด มีความอดทนมาก เพราะประชาชน ๑ คน ต้องลงคะแนนเสียง ๓ ครั้ง คือ (๑) ส.ส.จำนวน ๓๓๐ ที่นั่ง, (๒) ส.ว.จำนวน ๑๖๘ ที่นั่ง และ (๓) สภารัฐ หรือสภาภูมิภาค จำนวน ๖๔๔ ที่นั่งนั้น ลงคะแนนแล้วต้องจุ่มนิ้วก้อยลงในหมึกสีม่วงที่ล้างไม่ออกไป ๗ วัน (ไม่มีการเวียนเทียนเด็ดขาด)

เห็นข้อเท็จจริงได้ว่า “สื่อมวลชนมีความสำคัญมาก การประชุมสภาเพื่อคัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีน่าจะมีขึ้นในช่วงหลังปีใหม่ ๒๕๕๙ (แต่ประธานาธิบดีเต็งเส่งจะครบวาระใน มี.ค. ๕๙)

ไม่ว่าผลเลือกตั้งของพม่าออกมาในแบบไหน อองซานซูจี หรือ เต็งเสง จะชนะ วันนี้พม่าจะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นวันนี้ ได้ทำให้พม่ากำลังเริ่มจะเปลี่ยนไป ถ้าอองซานซูจีชนะ ความอ่อนหัดทางธุรกิจ ทางด้านความมั่นคง จะทำให้ประเทศปั่นป่วน การโกงกินจะเกิดขึ้นทั่วไป แต่ถ้าททหารชนะ การช่วยเลือในเรื่องการค้าขายสินค้าจากประเทศตะวันตกจะมีปัญหาตามมาอีกเป็นพรวน การโกงก็ยังมีอยู่เช่นเดิม ถ้าไม่ลงให้ตะวันตกก็ต้องปิดประเทศต่อไป

ภาพของประเทศไทยในยุคปี ๓๕ และ ปี ๔๙ ผสมกันก็จะกลับมาอีก ในประเทศพม่า เรื่องนี้ นักวิเคราะห์เขาบอกว่าไม่อยากให้นางอองซานชนะ อยากให้เธออยู่เป็นเสาหลักคอยคุมสถานการณ์อยู่เช่นเดิม อย่าให้ทหารโกงมากเกินไป จะดีกว่า”

คะแนนที่ได้มาอย่างท่วมท้นของพรรค NLD นั้น ประชาชนพม่าไม่เคยดูเลยว่า ผู้สมัครของเขามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร เหมือนที่พรรคเพื่อไทยเคยพูดไว้ว่า “ส่งเสาไฟฟ้าลงแข่งก็ได้รับเลือกตั้ง” ปัจจุบัน ประธานาธิบดีเต็งเส่งออกมาประกาศพร้อมที่จะถ่ายโอนอำนาจให้นางอองซาน ซูจี เข้ามาบริหารบ้านเมือง ตอนนี้เองที่ทำให้คนซึ่งมาลงคะแนนเลือกตั้งพรรค NLD ไปแล้วจำนวนมากเพิ่งนึกออกว่า

นางอองซาน ซูจี เป็นตัวแทนชาติตะวันตกอย่างชัดเจน แต่ ตอนนี้ผลประโยชน์ของประเทศจีนในพม่าเต็มเมืองไปหมด จะทำกันอย่างไรดี เพราะพม่าเป็นประเทศที่จีนใช้เชื่อมจากจีนตะวันตกเข้าไปยังจีนตอนใต้ โดยไม่ต้องการผ่านช่องแคบมะละกา

–      นางอองซาน ซูจี ไม่เคยต่อสู้อะไรเพื่อชนกลุ่มน้อยเลย แม้จะได้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ แต่เรื่องโรฮิงญา เธอไม่แสดงอะไรออกมา เพราะกลัวเสียคะแนนเสียงจากคนพม่าแท้ๆ

– นางอองซาน ซูจี ไม่เคยบริหารประเทศมาก่อนเลย แม้แต่ระบบราชการของพม่า ซึ่งซับซ้อนกว่าประเทศอื่นก็ไม่ได้รู้จัก ผนวกกับเธอเป็นคนมั่นใจในตัวเองมาก เป็นเผด็จการเล็กๆ เลยแล้วข้าราชการอื่นๆ จะปั่นป่วนขนาดไหน

           ก็หวังว่า นางอองซานฯ คงหาวิธีที่จะหาตัวประธานาธิบดีที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนกลางที่ฝ่ายทหารและข้าราชการยอมรับได้ เพื่อให้คำขวัญของทั้ง ๒ พรรคมารวมกันได้ คือ “เปลี่ยนแปลงและก้าวเดินไปด้วยกัน” ไม่เช่นนั้น พอบ้านเมืองตื่นประชาธิปไตย คนออกมาประท้วงสัก ๒-๓ ครั้ง ทหารพม่าออกมารัฐประหารแน่ ดังนั้น นางอองซานฯ จะเป็นนางฟ้า หรือซาตาน ก็อยู่ที่ตัวเธอเอง

           สรุปว่า  การเมืองพม่า ผม ปวดหัวมาก

 

                        อรุณ ช้างขวัญยืน/รายงาน………………………………………………….

 สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ