วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

การแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดสัมมนาในการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท

10 ธ.ค. 2012
288
Spread the love

คณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการในการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท

 

เมื่อวันที่  8 ธันวาคม 2555 เวลา 09.30 น ณ ห้องประชุมสวรรคโลก โรงแรมคุ้มภูคำ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดการเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ ถึงเรื่องผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลการเสวนาและการระดมความคิดเห็นไปจัดทำเป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่องแนวทางบรรเทาผลกระทบการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้วผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า การจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ครั้งนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและเป็นเรื่องที่มีผลกระทบทุกภาคส่วน ในการประชุมในเขตภูมิภาคที่จังหวัดเชียงใหม่นี้ เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่มีลักษณะพิเศษของการดำเนินธุรกิจเป็นการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมและหัตถกรรม งานภาคอุตสาหกรรมมีมาตรฐานยืนยันได้ว่า เมื่อต้นทุนค่าจ้างและอัตราค่าจ้างเป็นอย่างนี้ สามารถที่จะตั้งกระบวนการหรือพัฒนาขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมให้เป็นไปได้ ให้เกิดประสิทธิภาพตามอัตราจ้าง งานหัตถกรรมเป็นงานที่ค่อนข้างยากเป็นงานที่แตกต่างในฝีมือและการบรรจงสร้างขึ้น อย่างไรก็ตามค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ดังนั้นการประชุมครั้งนี้ของทางคณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินี้ ไม่ได้มีเจตนามาเพื่อจะเห็นว่าสมควรหรือไม่สมควร มาเพื่อต้องการทำให้สิ่งที่เรากำลังจะพบคืออัตราค่างจ้าง 300 บาทต่อวัน ให้มีผลกระทบน้อยที่สุดและมีทางใดบ้างที่จะเยียวยาสิ่งเหล่านี้ ไม่เป็นผลกระทบอย่างร้ายแรงและจะทำให้เกิดความเสียหายต่อวงการอุตสาหกรรมและพานิชกรรมของประเทศไทย ดังนั้นเราต้องทำข้อเสนอเชิญนโยบายไปถึงคณะรัฐมนตรี ในทางกฎหมายระบุชัดเจนว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นข้อเสนอแนะจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาลต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะต้องชี้แจงให้สาธารณชนทราบด้วยแหตุผลใด ดังนี้เราต้องมาฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและชัดเจนเพื่อให้เป็นข้อเสนอแนะกับทางราชการต่อไป

จากผลการศึกษาผลกระทบการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศว่า จากการศึกษาในพื้นที่ 7 จังหวัด นำร่อง จำนวน 700 ราย พบว่า ผู้ประกอบการ 66.3% พร้อมทำตามนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ 33.7% ยังไม่พร้อมทำตาม และผู้ประกอบมองว่าต้นทุนการผลิตจะต้องเพิ่มขึ้น 16.2% และต้องมีการปรับราคาสินค้าขึ้นประมาณ 13.8% และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร้อยละ 87.5 ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ด้านนายสุวรรณ สุขประเสริฐสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า แนวทางบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท นั้นในขณะที่ทางภาคเอกชน จะต้องมีการดำเนินการตามนโยบายของทางรัฐบาล ทั้งนี้ยอมรับว่าการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน มีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทางผู้ประการปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานจะต้องมีการศึกษาแต่ละภูมิภาคด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจภูมิภาคที่แตกต่างกันด้วย นอกจากนี้จากที่หลายภาคส่วนมองว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามถือว่าการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จริง เนื่องจากทางผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบโดยตรง และต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าทางรัฐบาลจะมีการออกมาตรการ6 กลุ่ม 27 มาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการก็ตามแต่สิ่งที่ทางภาคเอกชนมองคือของให้รัฐบาลดำเนินการชี้แจงว่าจะมีการช่วยเหลือในมาตรการใดก่อน เพื่อให้ผู้ประกอบการวางแผนในการดำเนินการต่อไป.

สำนักข่าว 
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน