วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

การศึกษาดูงานของคณะผู้แทนเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

22 ต.ค. 2012
374
Spread the love

การศึกษาดูงานของคณะผู้แทนเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เดือนกันยายน 2555

 

19 กุมภาพันธ์ 2553 วันก่อตั้งอย่างไม่เป็นทางการของการริเริ่มเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ซึ่งนายอมรพันธุ์     นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้เสนอแนะว่าตามการสนับสนุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ เชียงใหม่ควรจะส่งคณะผู้แทนไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งได้ใช้เวลาร่วมสองปีเพื่อให้แนวคิดนี้บรรลุผล โดยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2555 ที่ผ่านนี้ คณะผู้แทนเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ จำนวน 10 ท่าน ซึ่งมาจากองค์กรต่างๆ ได้เดินไปศึกษา ดูงาน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากการเชิญอย่างเป็นทางการของกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศสหรัฐอเมริกาตามโครงการ International Visitor Leadership Program ซึ่งได้เดินทางเพื่อศึกษา ดูงานถึง 4 เมือง ใน 3 รัฐ มีการประชุมกว่า 50 ครั้ง โดยเมืองแรกที่ไปถึงคือ ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะได้ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ใน ซิลิคอน วัลเล่ย์ และได้พบกับนักวิชาการที่โดดเด่น เช่น ศาสตราจารย์ วิลเลียม มิลเลอร์ ผู้เขียนที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ High-tech Clusters และศาสตราจารย์ เฮนรี เอทซโควิทซ ผู้ริเริ่มแนวคิด Triple-helix และได้เยี่ยมชม BIO-X ซึ่งเป็นศูนย์สหวิทยาการด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเป็นแบบอย่างที่น่าสนใจของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือในเชียงใหม่ วันถัดมาคณะมีการประชุมร่วมกับ Stanford Technology Ventures Program (STVP) ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา และทำให้นักศึกษาสแตนฟอร์ดได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ในช่วงบ่าย Greater San Jose Hispanic Chamber of Commerce ยังได้จัดให้คณะพบกับผู้แทนของผู้ประกอบการด้านไอทีจาก Chile’s prospering IT scene นอกจากนี้ก่อนเดินทางออกจากแคลิฟอร์เนีย ทางคณะยังได้แสวงหาโอกาสเพื่อเพิ่มความร่วมมือและพบปะกับบุคคลที่น่าสนใจ เช่น เยี่ยมชมศูนย์การวิจัยและพัฒนาของบริษัท IBM ที่มีชื่อว่า Almaden Research Center ซึ่งอยู่ใกล้กับเมือง San Jose

จากนั้นทางคณะเดินทางต่อไปยังเมืองออสติน รัฐเทกซัส โดยได้รับการต้อนรับจากคุณ Ben Ramirez III, Senior Officer at City of Austin ซึ่งเคยรับเชิญมาเป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ เมื่อปลายปี 2553 คณะได้พบปะกับ Mr. Kevin Johns, Director of Austin และ Texas’ Economic Growth and Redevelopment Office ผู้อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ออสตินเป็นเมืองแรกที่ได้รับการยอมรับจาก International Science Park Association (IASP) ว่าเป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์และนวัตกรรม นอกจากนี้ยังได้ประชุมร่วมกับตัวแทนจาก  Austin entrepreneur scene (Gary Hoover and Bijoy Goswami) และเยี่ยมชม IC2 and Austin Technology Incubator (ATI) ซึ่งทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน (University of Texas at Austin) โดยได้หารือเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา การบ่มเพาะ รวมทั้งการจัด ATI’s three-day start-up week end (3DS) ที่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ทางคณะยังได้เยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ในเมืองออสตินและซานแอนโตนิโอเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น วันสุดท้ายในเมืองออสติน คณะได้เยี่ยมชมและฟังการบรรยายจาก The Austin Film Society, National Instrument (global IT and high-tech company) และ Capital Factory (บริษัทเอกชน ให้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกัน ในสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์) รวมถึงการพบปะ หารือเพิ่มเติมกับผู้ประกอบการและนักออกแบบท้องถิ่นที่ร้านหนังสือ Book People และสำนักงานใหญ่ของ Whole Foods Market

หลังจากนั้นทางคณะได้เดินทางต่อไปยังเมืองโอกลาโฮมา รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นเมืองที่คุ้มค่าแก่การเยี่ยมชมมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก มหาวิทยาลัยโอกลาโฮมากำลังขยายอุทยานวิจัยและวิทยาศาสตร์ และการริเริ่ม Creative Oklahoma ที่เติบโตจากการรวมกลุ่มของอาสาสมัครมาเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ในเมืองโอกลาโฮมา โดยในวันแรกทางคณะได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ของเมืองโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่มีอายุน้อยที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มีการสร้างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่เรียกว่า can-do culture คณะมีโอกาสได้เข้าพบกับนายกเทศมนตรีเมืองโอกลาโฮมา Mr. Mick Cornet ผู้ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเมืองโอกลาโฮมา นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชม OKC National Memorial & Museum ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ถูกโจมตีด้วยระเบิดในปี 1995 อาคารสิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายกว่าหนึ่งในสาม ประชาชนเสียชีวิต 168 คน รวมทั้งเด็กด้วย ในวันที่สองมุ่งเน้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเมืองโอกลาโฮมามีการลงทุนเกี่ยวกับอุทยานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต คณะมีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุมประจำเดือน Venture Forum ที่ซึ่งกลุ่มธุรกิจใหม่ในโอกลาโฮมาจะได้รับโอกาสในการนำเสนอแนวความคิดและธุรกิจของตนเอง เพื่อหาผู้ลงทุนและสนับสนุน มหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา (University of Oklahoma) ได้ถูกพัฒนาให้เป็นสถาบันวิจัยที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรม โดยเริ่มต้นด้วยการก่อตั้ง National Weather Center ศูนย์ความเป็นเลิศระดับโลกสำหรับการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งได้ก่อให้เกิดคลัสเตอร์ของบริษัทที่มีความร่วมมือและจ้างงานนักศึกษาจากศูนย์ โดยศูนย์นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานวิจัยของมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา  อุทยานวิจัยนี้รับผิดชอบโดยรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งดูแลในส่วนของงานวิจัย และสำนักงานการจัดการเทคโนโลยีและการบ่มเพาะ ในช่วงค่ำคณะได้รับประทานอาหารค่ำ พร้อมชมการแสดงดนตรีจากโรงเรียนดนตรีแวนด้า เบสของมหาวิทยาลัยเมืองโอกลาโฮมา (Oklahoma City University)

วันสุดท้ายที่เมืองโอกลาโฮมา ทางคณะได้มีโอกาสประชุมร่วมกับสถาบันดนตรีร่วมสมัยของ University of Central Oklahoma รวมทั้งสาขาภาพยนตร์ของ Oklahoma City Community College และประชุมร่วมกับคณะกรรมการ Creative Oklahoma เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างทั้งสองเมืองในอนาคต และได้รับการเลี้ยงต้อนรับจากครอบครัว Dunning ก่อนที่ทางคณะเดินทางกลับ โดยเดินทางกลับมาถึงเชียงใหม่วันที่ 15 กันยายน 2555 โดยสวัสดิภาพ

นอกจากนี้ หลังจากเดินทางกลับจากศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางคณะยังมีโอกาสได้พบและหารือกับ Ms. Kristie Kenney เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ระหว่างที่มาเยือนเชียงใหม่ ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนาคตระหว่างหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ไทย-สหรัฐอเมริกา และยังได้มีการประชุมภายในกลุ่มของคณะผู้แทนที่เดินทางไปศึกษาดูงาน เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ แนวทางการดำเนินงานในอนาคตของเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ https://www.facebook.com/#!/groups/459331710755435/?fref=ts

 

รายชื่อคณะผู้แทนเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงาน

ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 2 – 15 กันยายน 2555

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐ วรยศ           รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. Mr. Martin Venzky-Stalling            ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. ดร. รักษ์ พรหมปาลิต                            รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิทยบริการ มหาวิทยาลัยพายัพ

4. ดร. ปิติพงษ์ ยอดมงคล                          คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. รองศาสตราจารย์ ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร       หัวหน้าภาควิชาการจัดการ คระบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6. ดร. ภราดร สุรีย์พงษ์                             ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7. ดร. ก้องภู นิมานันท์                             ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

8. คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ                               รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่

9. คุณณรงค์ ตนานุวัฒน์                           ประธานกิตติมศักดิ์ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

10. คุณเปรมฤดี ยามาดะ                          นายกสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ

 

 

สำนักข่าว
Cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน