วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

กระบวนการ เชียงใหม่จัดการตนเอง ตอนที่ 2

Spread the love

กระบวนการ เชียงใหม่จัดการตนเอง ตอนที่ 2

กระบวนการ เชียงใหม่จัดการตนเอง ตอนที่2

 

เริ่มจากคนที่มีความห่วงใยในปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยกลุ่มนักวิชาการ ประชาสังคม นักธุรกิจ องค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หรือแม้กระทั่ง คนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง ได้ชวนกันมาวิเคราะห์ว่าคนเชียงใหม่จะมาทะเลาะกันเป็นฝักเป็นฝ่ายอีกไม่ได้แล้ว แบบนี้บ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงมาร่วมกันค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและค้นหาทางออก

กระบวนการขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเอง มี 3 ยุทธศาสตร์ หลัก คือ ขบวนการขับเคลื่อนงานนโยบาย ทำงานด้านวิชาการ ศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งที่เป็นปัญหา เป็นต้นทุนการจัดการตนเองของจังหวัด ศึการูปแบบท้องถิ่นจัดการตนเองทั้งใน และต่างประเทศ รับฟังความคิดเห็นข้อเสนอของเครือข่าในทุกระดับ เพื่อนำเนื้อหาข้อเสนอมา ยกร่างกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร  เพื่อทำให้เห็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่าคนเชียงใหม่ต้องการจัดการตนเองในรูปแบบไหน

นำร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่จัดการตนเอง มารับฟังความคิดเห็น เสนอแนะเพิ่มเติมจากพี่น้องประชาชน และนำมาสู่การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร ตามความคิดเห็นของคนเชียงใหม่

กระบวนการเตรียมความพร้อมพื้นที่ เป็นการขยายแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ทุกระดับ จังหวัดเชียงใหม่เริ่มจากวงพูดคุยของคนเพียง 3-4 คน ขยายไปสู่คนกลุ่มเสื้อเหลียง เสื้อแดง นักธุรกิจ นักวิชาการ ก่อเกิดเป็นกระบวนการบ้านชุ่มเมืองเย็น เชื่อมโยงกับประชาชนสังคมที่มีการคิดวิเคราะห์ และเสนอแนะทางออกของปัญหาโดยทำให้ท้องถิ่นจังหวัดจัดการตนเอง และขยายวงขยายแนวคิด ทำความเข้าใจไปสู่คนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัด ผลักดันในระดับท้องถิ่น ขยายผลในระดับอำเภอ 25 อำเภอ ขยายสู่ระดับตำบล ขยายแนวคิดโดยการจัดเวทีย่อย เวทีตำบล อำเภอ เครือข่ายเชิงประเด็น เช่น ประเด็นการจัดการป่า ประเด็นการจัดการน้ำ ประเด็นสวัสดิการ ฯลฯ เชื่อมเครือข่ายการเรียนรู้ให้มีการขยายแนวคิดการจัดการตนเองไปในทุกกลุ่ม และเปิดเวทีใหญ่แลกเปลี่ยนพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อเสนอ เพื่อนำไปสู่การจัดทำ พ.ร.บ.และร่วมลงชื่อเสนอกฎหมาย

กระบวนการสื่อสารกับสังคม สื่อสารกับประชาชนทุกกลุ่มในจังหวัดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ กระบวนการขับเคลื่อนงานจังหวัดจัดการตนเอง โดยทำงาน 2 ด้านหลักๆ คือ การสื่อสารกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารที่เหมาสมกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ เช่นการผลิตคู่มือ แผ่นพับ โปสเตอร์ สื่อสารผ่านวิทยุชุมชน ไวนิล

การสร้างกระแสสังคม ทำให้แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเป็นกระแสใหญ่ของสังคม ทำให้คนทั้งประเทศได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนงานจังหวัดจัดการตนเอง โดยเชื่อโยงกับสื่อกระแสหลัก เช่ย ทีวี หนังสือพิมพ์ และสื่อไอที อย่างต่อเนื่อง

ทั้ง 3 กระบวน นำมาสู่การรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย โดยร่วมลงชื่อไม่น้อยกว่า 10,00 รายชื่อ เพื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่จัดการตนเอง เพื่อเสนอเป็นกฎหมาย ตามกระบวนการทางรัฐสภาต่อไป

 

กระบวนการ เชียงใหม่จัดการตนเอง ตอนที่ 1

กระบวนการ เชียงใหม่จัดการตนเอง ตอนที่ 3

 

ธนวรรธน์ จรณชัยวัจน์  รายงาน

สำนักข่าว 
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ