วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ จัดการประชุมแก้ไขปัญหาหมอกควัน

Spread the love

กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ จัดการประชุมแก้ไขปัญหาหมอกควัน

กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ปี 2556เมื่อ

เมื่อวันที่ 5 พ.ย 2555 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ 2000 นายชูชาติ กีฬาแปงรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรืองอธิการบดีกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกันจัดเตรียมการป้องกันและแก้ไขมลพิษจากหมอกควันภาคเหนือตอนบนจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด 9 มาตรการ เพื่อยื่นข้อเสนอแก่รัฐบาล ได้แก่มาตรการที่ 1 ห้ามเผาป่า วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและวัชพืช ในช่วง “80 วันอันตราย”คือช่วง 21ม.ค. – 10 เม.ย.2556 (ยกเว้นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต) มาตรการที่ 2 จัดระเบียบการเผาในแต่ละจังหวัดตามจำนวนพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรในช่วง 80 วันอันตราย มาตรการที่ 3 การป้องกันการเกิดไฟป่าอย่างเข้มข้น มาตรการที่ 4สนับสนุนให้มีชุมชนมาตรฐานหมู่บ้านปลอดการเผา มาตรการที่ 5 ส่งเสริมภาคเอกชนและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควัน มาตรการที่ 6 การสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกสู่กลุ่มเป้าหมาย มาตรการที่ 7 การแจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควัน มาตรการที่ 8 ขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน มาตรการที่ 9 จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันภาคเหนือตอนบน(ศปม.)

ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งและหมอกควันในภาคเหนือต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การจัดทำแผนที่ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นสื่อกลางอันหนึ่งที่จะช่วยให้ภาครัฐและภาคประชาชนร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาและออกแบบมาตรการซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชน โดยคำนึงถึงเงื่อนไขทางระบบภูมินิเวศ ประสบการณ์ และความเชื่อของชุมชน รวมทั้งแสวงหามาตรการที่เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดการไฟป่าเพื่อลดปัญหาหมอกควันเป็นมาตรการที่มีความสำคัญลำดับแรกในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการจากล่างสู่บน โดยเน้นบทบาทและความสำคัญของชุมชนท้องถิ่นเครือข่ายอนุรักษ์และ อปท. ในการลดการเผาและแก้ไขปัญหาหมอกควัน

โครงการจัดทำแผนที่สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของแผนงาน นสธ. เป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะเอื้อให้ภาครัฐและภาคประชาชนทำงานร่วมกันเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาหมอกควัน หากสามารถขยายโครงการศึกษานี้ไปยังจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือที่ประสบปัญหาหมอกควันเช่นเดียวกันกับจังหวัดเชียงใหม่ก็จะมีส่วนทำให้การขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหมอกควันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความยั่งยืนในระยะยาว

 

สำนักข่าว 
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน