วันอังคาร, 30 เมษายน 2567

พาไป แต่ไม่ชิม อาหารในบริเวณโรงพยาบาล

18 มี.ค. 2015
1764
Spread the love

พาไป แต่ไม่ชิม

อาหารในบริเวณโรงพยาบาล

1254289185

ผมไปพบรายงานเข้าชิ้นหนึ่ง ซึ่งผู้รายงานเป็นแพทย์ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่คิดว่าไม่มีใครสนใจมาก่อนจึงขอนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง

นำเรื่อง

การมาวางบัตรเพื่อรอคิวเข้ารับบริการตามโรงพยาบาลต่างๆ นั้นดูเป็นเรื่องปกติ หลายคนมารอคิวตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น กว่าจะได้รับการตรวจรักษาก็ต้องรอนานหลายชั่วโมง   เชื่อหรือไม่ว่าเรื่องที่นั่งพักมีไม่เพียงพอในโรงพยาบาลนั้น ดูยังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับเรื่องอาหารการกิน และปัญหาด้านอาหารการกินนี้มีผลกระทบไม่ใช่แค่ต่อประชาชนผู้มาใช้บริการเท่านั้น แม้แต่บุคลากรสุขภาพที่ทำงานในโรงพยาบาลยังคงต้องเอาตัวรอดกันเองในแต่ละวัน

        ถามว่าปัญหาเรื่องอาหารการกินนี้เป็นอย่างไร? ลองดูข้อมูลล่าสุดช่วงไตรมาสสุดท้ายจากการสำรวจปี 2557 กันดูครับ

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ และนิสิตปริญญาโทและเอก ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   สำรวจความชุกของร้านกาแฟ ร้านอาหารจานด่วน และร้านเบเกอรี่ในโรงเรียนแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร     พบว่า โรงพยาบาลศิริราชมี 11 ร้าน โรงพยาบาลรามาธิบดีมี 9 ร้าน โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ มี 7 ร้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มี 20 ร้าน ในขณะที่โรงพยาบาลวชิระมี 1 ร้าน

ด้วยจำนวนสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับร้านอาหารธรรมดาทั่วไปในโรงพยาบาล และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงง่าย มองเห็นง่าย จึงไม่แปลกใจที่ประชาชนจะใช้บริการมาก แต่หากมองปรากฏการณ์นี้ในอีกแง่มุมหนึ่งจะพบว่า      อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ที่มักจำหน่ายในสถานประกอบกิจการเหล่านี้มักมีลักษณะที่เป็นของทอด  เบเกอรี่ ขนมนมเนยนานาชนิด      รสชาติหนักไปทางหวาน มัน เค็ม และมักมีกากใยน้อย ซึ่งลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะอ้วน

              ภาวะดังกล่าว หากเกิดในสถานที่สาธารณะอื่นๆ ทั่วไปในสังคม ก็ถือเป็นสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนอยู่แล้ว แต่หากเกิดในสถานพยาบาล ที่คนส่วนใหญ่ที่มารับบริการเป็นผู้ที่เจ็บป่วย มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ยิ่งน่าจะได้รับการจัดว่าเป็นวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสจะกระหน่ำซ้ำเติมให้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยหนักขึ้นเป็นทวีคูณ

และ    พบว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่เคยมีแนวคิดที่จะทำเรื่องอาหารสุขภาพในโรงพยาบาล โดยดำเนินการผ่านทางแผนกโภชนาการของโรงพยาบาลเอง แต่มักไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากภาระงานที่มากมายของแผนกโภชนาการที่ต้องดูแลอาหารการกินให้แก่ผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวภายในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถขยายงานมาดูแลประชาชนที่มาใช้บริการโรงพยาบาลในลักษณะผู้ป่วยนอกได้ ประกอบกับปัญหาการจัดการระบบห่วงโซ่การผลิตอาหาร ตั้งแต่เรื่องความไม่แน่นอนของแหล่งวัตถุดิบ กำลังการผลิต ไปจนถึงกระบวนการจำหน่าย และจัดการผลิตภัณฑ์คงค้าง ฯลฯ

          หากจะถามว่า แล้วทำไมโรงพยาบาลจึงไม่ประกาศหาร้านอาหารที่สามารถผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพมาจัดจำหน่ายในโรงอาหาร หรือพื้นที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล   

ตอบว่าสัดส่วนกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการที่จะแบ่งให้แก่โรงพยาบาลที่ให้เช่าพื้นที่     ผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่ย่อมต้องหวังจะดำเนินกิจการให้มีกำไรเพียงพอที่จะดำเนินการได้ระยะยาว และต้องผ่านระบบการประมูลเพื่อช่วงชิงพื้นที่กัน ตัวเลขโดยคร่าวที่เป็นที่รู้กันดีคือ กิจการร้านขายอาหารต่างๆ โดยเฉพาะอาหารจานด่วน และเบเกอรี่ มักตั้งราคาไว้มากกว่า 3 เท่าของราคาต้นทุน ในขณะที่กิจการร้านกาแฟนั้น แม้จะไม่ได้มีการส่งต่อกันเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่มีการประมาณการกันว่า ต้นทุนทั้งหมดต่อกาแฟ 1 แก้วนั้น ตกอยู่ที่แก้วละ 10 บาท ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ร้านอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีอำนาจการต่อรองที่ใช้ในการประมูลสูงกว่าร้านอาหารธรรมดา หรือร้านอาหารที่เน้นเมนูสุขภาพ และ

แน่นอนว่า เวลาสิ้นสุดการประมูล โรงพยาบาลที่จะให้เช่าพื้นที่ จึงยินดีที่จะเลือกให้ร้านค้าที่เสนอผลตอบแทนมากที่สุดได้พื้นที่ไปดำเนินการ

                เมื่อเป็นเช่นนี้ เราคงได้แต่คิดว่า คงไม่มีหนทางใดที่จะช่วยเหลือเรื่องนี้ได้เลย ผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ อยู่แล้วย่อมไม่มีทางเลือกในสังคมทุนนิยมเป็นแน่แท้

                  หากผันงานด้านอาหารไปให้วงการอาหารมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยอาศัยความร่วมมือของโรงพยาบาลที่เปิดพื้นที่ให้จำหน่ายในลักษณะกิจการเพื่อสังคม หรือแปลอีกนัยหนึ่งคือ การประกอบธุรกิจอาหารสุขภาพโดยหวังผลกำไรน้อยแต่พอเลี้ยงตัวได้ จะมีโอกาสประสบผลสำเร็จหรือไม่?

หากโรงพยาบาลทุกแห่ง ร่วมกันสนับสนุนให้เกิดทางเลือกในการเข้าถึงอาหารสุขภาพในลักษณะเดียวกัน หรือในลักษณะอื่นๆ อย่างพร้อมเพรียงกันแล้ว เชื่อเหลือเกินว่า ในไม่ช้า ปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ น่าจะบรรเทาเบาบางลง และอาจมีปฏิกิริยาลูกโซ่ไปสู่การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาวะของประชาชนในที่สุด

          ถึงเวลาหรือยัง ที่โรงพยาบาลภาครัฐจะแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะอื่น ที่ไม่ใช่การดูแลรักษาพยาบาลดังที่เป็นมา?

         ถึงแม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเป็นเรื่องโรงพยาบาลในเมืองหลวงก็ตาม  แต่ผมก็ขอฝากไปถึงโรงพยาบาลใหญ่ๆ อาทิ รพ. มหาราชนครเชียงใหม่  (สวนดอก)    โรงพยาบาลศรีพัฒน์  โรงพยาบาลนครพิงค์ รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชนสำคัญสำคัญด้วย

………….

อรุณ  ช้างขวัญยืน/รายงาน

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ