วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

“กาดสวนเจ้า” ถึง “กาดน้ำโท้ง”วิถีชีวิตแห่งพื้นบ้าน

Spread the love

“กาดสวนเจ้า” ถึง “กาดน้ำโท้ง”วิถีชีวิตแห่งพื้นบ้าน

กาดสวนเจ้า กาดน้ำโท้ง

 

กาดน้ำโท้ง หรือมีชื่อเรียกกันอย่างเป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า “กาดสวนเจ้า”เป็นกาดที่อยู่ในชุมชนใหญ่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ อยู่ที่อำเภอหางดง ซึ่งเดิมที่ตั้งตลาดตรงนี้เป็นคุ้มของ”เจ้าน้อยคำตัน ณ เชียงใหม่” ซึ่งได้มอบให้ลูกหลานไว้ใช้ในการประกอบอาชีพ เจ้าของกาดแห่งนี้จึงได้ตั้งชื่อว่า “กาดสวนเจ้า”อีกทั้งในบริเวณนี้ยังเป็นที่มีการนำลำไยกะโหลกมาปลูกเป็นที่แรกในประเทศไทย ก่อนที่จะมาเป็นกาดน้ำโท้งในปัจจุปัน ที่นี้เคยเป็นกาดเล็กๆ ที่ชาวบ้านค้าขายกันในเพียงหมู่บ้าน เป็นกาดแบบเพิงไม้ สังกระสี มาก่อนหน้านี้ ประมาณ 30-40 ปี และได้มีการพัฒนาขึ้นมาในปี 2547 อย่างจริงจัง โดยเริ่มจากสร้างโครงสร้างของกาดขึ้นมาให้ให้มีความแข็งแรงคงทน เริ่มมีการสร้างตึกและร้านค้าต่างๆ ขึ้นบริเวณรอบๆ เพื่อให้เหล่าพ่อค้าแม่ขายตั้งเป็นร้านขายของ

จุดเด่นที่น่าสนใจของกาดน้ำโท้ง ก็คือ กาดนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีเป็นทางผ่านจากเชียงใหม่ไป อำเภอหางดง  อำเภอสารภี และไปจังหวัดลำพูน จึงทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ที่ใช้เส้นทางนี้เพื่อแวะเลือกซื้อสินค้ามากมายที่ต้องการ ทั้งกับข้าวสำเร็จรูป ผักสด เนื้อสด และผลไม้ต่างๆ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของกาดนี้เป็นกาดที่ยังคงเสน่ห์ของความเป็นกาดแบบวิถีชาวบ้าน เพราะเนื่องมาจากกาดนี้เป็นกาดที่อยู่ไกลออกไปจากตัวเมือง จึงทำให้เรายังคงเห็นวิถีชีวิตในแบบของชาวบ้านซ่อนอยู่รอบๆ กาด อีกทั้งยังเป็นกาดที่อยู่ในบรรยากาศแบบสวน เพราะสินค้าสวนใหญ่ที่ชาวบ้านนำมาขายในกาดนี้จะเป็นสินค้าที่ชาวบ้านหามาได้จากสวนของตัวเอง พ่อค้าแม่ค้าที่นี้ก็ยิ้มแย้มแจ่มใสต้อนรับลูกค้าเป็นอย่างดีกาดก็สะอาดสะอ้านน่าเข้าไปจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าเพราะกาดแห่งนี้จะเน้นความสะอาดและยังได้รับรางวัล 3 ดาว ด้านความสะอาดจากกระทรวงสาธารณะสุข

กาดนี้เป็นกาดสายจะมีพ่อค้า แม่ค้าจะนำผักสด อาหารสด กับข้าวสำเร็จรูป และผลไม้ต่างๆ แต่กาดนี้จะมีคนหนาแน่นในช่วงบ่ายๆ ทั้งของป่าที่ชาวบ้านหามาจำหน่าย เช่น หน่อไม้ เห็ดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่มาจับจ่ายสะดวกต่อการเลือกซื้อสินค้าที่ตนเองต้องการ

ธนวรรธน์  จรณชัยวัจน์

ทีมข่าว CNXNEWS รายงาน