วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

โครงการอัตลักษณ์ล้านนา

Spread the love

โครงการเสริมสร้างและปรับแต่งอัตลักษณ์

IMG_4975

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่นำสื่อมวลชน และ อป.มช. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ศึกษาดูงานภาพลักษณ์ การท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5 – 6 กันยายน 2558 เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์และความตระหนักของชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาเชิงอนุรักษ์และเชิงประยุกต์และพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ

นางอุบลรัตน์ คงกระพันธ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 5 – 6 กันยายน 2558 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์ตามโครงการเสริมสร้างและปรับแต่งอัตลักษณ์ (Identity) เพื่อสร้างเสน่ห์การท่องเที่ยว การค้า การลงทุน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ปีงบประมาณ 2558 โดยโครงการดังกล่าวมีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน, เชียงใหม่, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน และตำรวจภูธรภาค 5 ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าความสัมพันธ์ของ 4 จังหวัดก่อกำเนิดมาตั้งแต่การการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คนทั้งในยามที่บ้านเมืองสงบสุข หรือยามสงคราม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนวิถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งได้มีการรวมตัวกันเป็นอาณาจักรล้านนาและถึงแม้จะมีการแบ่งแยกการปกครองเป็นเขตจังหวัด แต่ก็ยังมีการติดต่อค้าขายเดินทางท่องเที่ยวและร่วมกันทำกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเสมอมา ถ้าหากได้มีการนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในแต่ละท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมที่นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม แต่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ได้ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่กันอย่างแพร่หลาย ไร้ขอบเขตข้อจำกัดความเจริญก้าวหน้า บางครั้งก่อให้เกิดความเสื่อมถอยทางขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของแต่ละชุมชน ท้องถิ่น จึงควรที่จะมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานให้คงอยู่แพร่หลายสืบไป ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายควรจะร่วมมือกันสืบสานให้คงอยู่กับท้องถิ่นและไปสู่การพัฒนา ปรับปรุง ฟื้นฟู เพื่อเพิ่มพูนมูลค่าแก่การท่องเที่ยวและกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่มอบภารกิจตามยุทธศาสตร์ประเทศ ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จากการยกระดับแหล่งโบราณสถานให้เป็นพื้นที่วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่มีชีวิต โดยการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมเป็นทุน โดยชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ร่วมดำเนินการและได้รับประโยชน์ ตลอดจนการดำรงรักษาวัฒนธรรม ก่อนที่จะถูกทำลายหรือเสื่อมถอยไปมากกว่านี้ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อไปอีกว่า กิจกรรมการศึกษาดูงานด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย สื่อมวลชน อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้าน (อป.มช.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จำนวน 40 คน ไปศึกษา ดูงานเส้นทางสายวัฒนธรรมฝีมือเชิงช่าง หรือ “สล่า” ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (จังหวัดเชียงใหม่) มาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนงให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับทราบถึงแหล่งท่องเที่ยวโดยเฉพาะเส้นทางสายวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ซึ่งจะส่งผลถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเยี่ยมชมในสถานที่เหล่านั้น รวมทั้งร่วมรณรงค์เสริมสร้างเอกลักษณ์และความตระหนักของชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาเชิงอนุรักษ์และเชิงประยุกต์และพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการต่อไป ทั้งนี้ สถานที่ศึกษาดูงาน ประกอบด้วย บ้านอนุรักษ์กระดาษสา ม.1 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่, พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก ม.2 บ้านบวกค้าง ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และเชียงใหม่ศิลาดล ม.6 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่นางฟองคำ หล้าปิ่นตา เปิดเผยว่า ตนนั้นเป็นผู้ที่นำการทำกระดาษสาจากต้นสามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ โดยนำความรู้จากบรรพบุรุษมาเผยแพร่ในชุมชน ส่งผลให้คนในชุมชนมีอาชีพและรายได้อย่างแพร่หลาย ทั้งยังพัฒนาบ้านอนุรักษ์กระดาษสาให้เป็นสถานที่ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลให้เป็นหมู่บ้านนำร่อง โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก งานแกะสลักฝีมือดีของสล่าเพชร วิริยะ กล่าวว่า งานแกะสลักนี้เกิดจากความผูกพันกับช้างซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองล้านนามาแต่อดีต ตนเองได้สั่งสมประสบการณ์และแกะสลักรูปช้างมากมาย ทั้งช้างตัวเล็ก ช้างตัวใหญ่ ซึ่งได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมา จนในปัจจุบันรูปช้างแกะสลักเหล่านี้ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาให้ดูมีชีวิตชีวา มีทวงท่าในอิริยาบทต่างๆ ราวกับมีชีวิต นอกจากนี้ยังมีการทดลองนำวัสดุใหม่ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นมาทดแทนวัสดุเดิมที่นับวันจะหาได้ยากมากขึ้น ทั้งนี้อยากให้ลูกหลานมาศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์งานแกะสลัก เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีผู้ใดมาสืบทอดและที่สุดท้ายบ้านศิลาดล คุณ ทัศนีย์ ยะจา เจ้าของและหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งก่อตั้ง หจก.บ้านศิลาดล เล่าให้ฟังว่า บ้านศิลาดลสร้างจากธุรกิจลักษณะครอบครัวเล็กๆ ในปี 2532 ค่อยๆสร้างทีละน้อยมีสตางค์เท่าไรสร้างเท่านั้น แต่ขณะเดียวกันก็เปิดประตูสู่สัมพันธภาพกับภาครัฐและภาคเอกชน โดยการสร้างจุดขายที่แตกต่าง และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์คัดสรรระดับ 5 ดาวของอำเภอสันกำแพง ที่ตลาดชาวต่างชาติเปิดแขนต้อนรับงานฝีมือคุณภาพจากเชียงใหม่ที่สร้างยอดขายกว่า 20 ล้านบาทต่อปี อย่างที่รู้ๆ กันว่า เครื่องเคลือบศิลาดลไม่ใช่มีแต่ เขียวๆ เรียบๆ ง่ายๆ แต่ตอนนี้ต่อยอดไปสู่การนำความเป็นล้านนาของเราใส่เข้าไป สิ่งที่เขาไม่เคยเห็นทั่วโลก เขาต้องมาดูที่เชียงใหม่อย่างเดียว เมื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกตรงนี้ได้ ใครจะมาเชียงใหม่ต้องโหยหา นอกจากมาเที่ยวชมพระธาตุดอยสุเทพ มาเที่ยวแหล่งเขียนร่มบ่อสร้างแล้ว สิ่งที่ต้องถามหาสินค้า “local handicraft” คือ ศิลาดลเชียงใหม่

 

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ