วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ภายใต้การสนับสนุนของ (สสส.)

Spread the love
cnxnews2001 cnxnews2002
   

แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และจังหวัดเชียงใหม่

จัดประชุมเวทีนโยบายสาธารณะการแก้ไขปัญหาหมอกควันในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน และแม่ฮ่องสอนด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพปัญญา พร้อมทั้งร่วมวางแผนป้องกัน บรรเทาปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง แล้วนำไปสู่การควบคุมอละจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2555 เวลา 10.00 น. ณ ห้องศรีสัชนาลัย โรงแรมคุ้มภูคำเรสซิเดนซ์ จังหวัดเชียงใหม่ มล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการเปิดประชุมเวทีสาธารณะการแก้ไขปัญหาหมอกควันในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน และแม่ฮ่องสอนด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ร่วมกับผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน และนักวิชาการ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เผยถึงภาพรวมคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ในปี 2555 ว่า พบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชม. มีปริมาณสูงสุด 215.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 19 มี.ค 55 ดัชนีคุณภาพอากาศมีปริมาณสูงสุด 142 ในวันที่ 19 มี.ค 55 มีค่าสถิติรับแจ้งเหตุและปฎิบบัติการดับไฟสะสมรวม 857 ครั้ง รวมพื้นที่ป่าเสียหายจำนวน 6,233 ไร่ สถิติ Hotspot สะสมรวมจำนวน 3,725 จุด พบมากที่ อ.แม่แจ่ม 964 จุด รองลงมาที่ อ. อมก๋อย 729 จุด โดยรวมคุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ

การประชุมวันนี้นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกับแผนงาน นสธ.จัดขึ้น ถือเป็นแนวทางที่ดีที่จะทำให้เกิดการกำหนดมาตรการ แผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหมอกควันบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลจากการวิจัยเชิงประจักษ์และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆและภาคประชาชนที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่
ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนและเกิดผลสำเร็จในระยะยาวได้ ด้านนางยุวดี คาดการณ์ไกล สถาบันศึกษาโนบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษาโนบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้เริ่มโครงการความร่วมมือ
ทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ศึกษาในจังหวัดลำพูน
และแม่ฮ่องสอน รวมทั้งการศึกษาในลักษณะหมอกควันข้ามแดนในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนและแม่ฮ่องสอน อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนการศึกษาเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของผละกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ในกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนอนุบาลในเขตเมืองและนอกเมือง ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ทำวิจัยประมวลผลการศึกษาเพื่อนำมาเป็นบทเรียนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ
นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ศึกษาสถานการณ์หมอกควันในแต่ละพื้นที่

สำหรับสถานการณ์การเผาไหม้ในจังหวัดลำพูนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเห็นได้จากจำนวนความจุดร้อน ในปี 2555 มีจำนวนเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับปี 2550 โดยอำเภอที่พบมากในการเผาไหม้ในปี 2555 เรียงจากมากไปน้อยคือ ลี้ แม่ทา บ้านโฮ่ง เมืองลำพูน ทุ่งหัวช้าง ป่าซาง บ้านธิ และเวียงหนองล่อง เมื่อนำข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ ปี 2550,2553 และ 2555 มาซ้อนทับกันพบว่าพื้นที่เผาไหม้ซ้ำมีจำนวนมากและคงที่ โดยเฉพาะที่อำเภอลี้ บริเวณรอยต่อของอำเภอบ้านโฮ่ง ลี้ แม่ทา และทุ่งหัวช้างส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่พบการเผาไหม้มากที่สุดเนื่องจากสภาพที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขาและมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ โดยพบว่าทุกอำเภอมีการเผาไหม้จำนวนมากทุกปี ในปี 2553 ได้แก่อำเภอปาย แม่สะเรียง เมือง ขุนยวม ปางมะผ้า แม่ลาน้อย และสบเมย แต่ในปี 2555 อำเภอสบเมยทีแนวโน้มการเกิดพื้นที่เผาไหม้มากขึ้น ในภาพรวมจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังเป็นจังหวัดที่มีการเผาไหม้เพิ่มมากขึ้น

จากการจัดประชุมครั้งนี้คาดว่าจะได้รับทราบข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับพื้นที่เผาไหม้จากหน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 จังหวัด เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือให้บรรเทาลงได้.
สำนักข่าว Cnxnews รายงาน