วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

เรื่องของรถไฟความเร็วสูง สร้าง หรือ ไม่สร้าง

Spread the love

เรื่องของรถไฟความเร็วสูง

สร้าง หรือ ไม่สร้าง

รถไฟ

               จริง เท็จ อย่างไรไม่ทราบ ผมบังเอิญไปอ่านพบบทความนี้ใครเขียนก็ไม่ทราบ ตั้งแต่กลางปี57 สนใจ เลยเก็บรักษาไว้ เพราะชื่อเรื่องมันน่ากลัว

         เขาตั้งชื่อเรื่องว่า ทำไมรถไฟความเร็วสูงถึงถูกตัดออกจากแผนลงทุน 3 ล้านล้านบาทของ คสช. แต่ดันไปเพิ่มเรือบินมาแทน ??ตกใจ สงสัย ว่าไปได้ข่าวนี้มาจากไหน จึงติดตามต่อไป และเก็บบทความนี้ไว้ รอความคืบหน้า

          รถไฟความเร็วสูง จุดประกายกันมาปีเศษ ก่อน คสช.ยึดอำนาจ หลังจากนั้นก็มีข่าวว่า โครงการแบบนี้ จะต้องเดินหน้าต่อไป

          ต่อมาก็มีข่าวว่า เอาแบบรางคู่ดีกว่า ประหยัดงบประมาณกว่า

ที่จริง แบบไหนก็ได้ หากว่า ราคาสมเหตุสมผล ถึงที่หมายเร็วกว่า ผมเป็นคนเชียงใหม่ บ้านเดิมอยู่ กทม.เวลาจะไปธุระสักที ถ้าใช้บริการรถทัวร์ รถไฟ ระยะทางเกือบ 800 ก.ม ก็ต้องหลังขดหลังแข็งบนรถทั้ง2ชนิดนานกว่า 9 ชม.แต่ถ้าได้ราคาตั๋วเครื่องบินจากนานาสายการบินที่ราคาใกล้เคียงหรือแพงกว่ารถทัวร์รถไฟสักครึ่งหนึ่ง ก็หันไปใช้บริการเครื่องบินแทน เพราะใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงในการเดินทาง บ่อยครั้งที่ไปเช้า เย็นกลับ  ได้สบายๆ

          ไม่ได้ติดตามข่าวเดือน สองเดือน กลับมีข่าวว่าจะไม่ทำแล้ว ไม่ว่ารางคู่ รางเดียว จะไปทำเครื่องบินแทน

            ตามบทความนี้ครับ ลองอ่านดูเอา

รถไฟความเร็วสูง คือตัวแปรสำคัญของระบบการเชื่อมเศรษฐกิจสมัยใหม่ระหว่างไทยกับเอเชีย เพราะเป็นระบบขนส่งทั้งคน และสินค้าอุตสาหกรรมที่ต้นทุนต่ำกว่าเครื่องบิน ปลอดภัยมากกว่า ตรงเวลากว่า แต่อาจจะวิ่งช้ากว่านิดหน่อย และสำคัญที่สุดคือ สถานีรถไฟความเร็วสูง คือ หัวหอกสำคัญในการสร้างความเจริญให้กระจายตัวสู่ต่างจังหวัด ดังเช่นจีน ที่พยายามทะลวงให้ความเจริญเคลื่อนตัวจากภาคตะวันออกไปสู่ภาคตะวันตก ด้วยรถไฟความเร็วสูง แม้รัฐบาลจะต้องแบกภาระที่สูง แต่ต้องทำ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม

.               ส่วนที่ว่าทำไมรถไฟความเร็วสูงถึงถูกตัดออกจากแผนลงทุนนั้นเราต้องเริ่มต้นจากศึกษาประเทศอื่นๆก่อน

ในสหรัฐอเมริกานั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดวิวัฒนาการการผลิตรถยนต์ขึ้นมาจาก 3 บริษัทผู้ผลิตใหญ่ Ford, General Motors, และ Chrysler ณ จุดนี้เองที่เกิด lobbyist ทางธุรกิจรถยนต์ขึ้นมา อเมริกาในขณะนั้นจึงให้ความสำคัญเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นตัวนำเศรษฐกิจของประเทศและมองเห็นว่าระบบการขนส่งทางรถไฟเป็นคู่แข่งและขัดขวางการเจริญเติบโตของธุรกิจยานยนต์

และนี่คือจุดสิ้นสุดของระบบขนส่งทางรถไฟ  แต่ถึงวันนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป การใช้เครื่องบินและรถยนต์อย่างมากมาย ทำให้เกิดภาวะมลพิษจาก CO2 นอกจากนั้นราคาน้ำมันก็ไม่ถูกอีกแล้วอย่างในอดีต ทำให้อเมริกาพึ่งคิดได้ว่าวันนี้ได้เวลาสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้ว

แต่คู่ปรับที่สำคัญที่สุดของรถไฟความเร็วสูง คือเครื่องบิน จากการศึกษาเปรียบเทียบของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารชื่อดังพบว่า ปริมาณผู้โดยสารเครื่องบินมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในเส้นทางที่มีรถไฟความเร็วสูงไปถึง โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้  ไม่เกิน 800 กิโลเมตร

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เส้นทาง Madrid-Seville ของเสปน ระยะทาง 540 กิโลเมตร ผู้โดยสารเครื่องบินต่อรถไฟ ก่อนที่จะมีรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางนี้ มีสัดส่วน 71%:29% และเปลี่ยนเป็น 11%:89% หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ เป็นต้น สายการบินต่างๆจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เช่น ลดความถี่ของเที่ยวบิน และลดขนาดเครื่องบินในเส้นทางหลักของยุโรป เช่น London – Paris, London – Brussels, Barcelona – Madrid, Paris – Lyons

ที่ไต้หวัน เส้นทาง Taipei – Kaohsiung จำนวนเที่ยวบินลดลง 50% ภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมีรถไฟความเร็วสูง ในจีน สายการบินต้องลดค่าโดยสารลงถึง 80% ในเส้นทาง Guangzhou – Changsha หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจการบินของจีนจะมีรายได้ลดลง 3-4% หรือ 1.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2012 จากการลดจำนวนเที่ยวบินและค่าโดยสารอันเนื่องมาจากรถไฟความเร็วสูง.

จากการศึกษาประเทศจีนของ The Financial List พบว่า ผลกระทบทางตรงของรถไฟความเร็วสูง มีแนวโน้มจะถล่มสายการบินในเส้นทางทับซ้อน ทางเลือกทางรอดของสายการบิน คือ หลีกเลี่ยงดีกว่าต้านทาน ให้หันไปบินเส้นทางอื่นแทนดีกว่าทำสงครามราคา (ลดราคาแข่ง) หรือไม่ก็แข่งด้วยจุดเด่นอื่น เช่น ทำบริการต่อเครื่องไปต่างประเทศ ฯลฯ ให้เหนือกว่ารถไฟ

ผลกระทบทางอ้อมของรถไฟความเร็วสูงคือ จะทำให้ต้นทุนการขนส่ง-คมนาคมในประเทศลดลง มลภาวะลดลง ประหยัดเชื้อเพลิง ส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ประเทศผลิตสินค้า-บริการได้ถูกลงก่อน หลังจากนั้นเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จะส่งผลดีต่อสายการบินในระยะยาวอีกต่อหนึ่ง

กลไกที่เป็นไปได้ ที่ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจริงๆ เร็วกว่าเครื่องบิน คือ การเช็คอิน-ตรวจกระเป๋าก่อนขึ้นรถไฟ มีแนวโน้มจะเร็วกว่าเครื่องบินแถมรถไฟยังมีราคาถูกกว่า ที่นั่งสบายกว่า เดินไปมาได้ง่ายกว่า และชมวิวได้ตลอดการเดินทาง

ส่วนประสบการณ์ตอนเปิดรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน (ไทเป-เกาเซียง) พบว่า ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงถูกกว่าเครื่องบิน 15-32% สายการบินทยอยลดราคาลงไปเฉลี่ย 36% จนถูกกว่ารถไฟ ต่อมารถไฟความเร็วสูงก็ลดราคาลงไปอีก 20% จนต่ำกว่าเครื่องบิน ผลของสงครามราคา คือ สายการบินปิดบริการเส้นทางทับซ้อนทุกสาย !!

ดังนั้นถ้ารถไฟความเร็วสูงมา สายการบินในประเทศทั้งหมดตามแนวรถไฟเตรียมตัวปิดได้เลย  และถ้าระบบรถไฟเชื่อมเอเชียได้หมดแล้ว Cargo ของการบินก็จะมีรายได้ลดลงมาหาศาลแน่ ส่วนสายการบินข้ามประเทศต้องไปแข่งกับต่างชาติซึ่งสู้ได้ไหม ก็รู้ๆ กันอยู่ เพราะในปี 2558 เราจะเปิดเสรีน่านฟ้าแล้ว ทุกสายการบินจึงเข้ามาแข่งกับการบินไทยได้หมด จะเห็นว่าไทยมีสถิตินักท่องเที่ยวสูงขึ้นทุกปี แต่กำไรการบินไทยลดลงๆ มันเกิดอะไรขึ้น ?? ดังนั้นถ้าเปิดเสรีน่านฟ้า การบินไทยก็สู้ไม่ได้ ภายในประเทศก็สู้โลคอสไม่ได้ และถ้ามีรถไฟความเร็วสูงมาอีก คงหมดสภาพแน่ๆ

ส่วนรางคู่นั้นอันนี้ทำแน่ๆ ดังนั้นรถทัวร์ตามเส้นทางรถไฟรางคู้ก็เตรียมปิดกิจการเช่นกัน เพราะเดินทางเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และถูกกว่ารถทัวร์ด้วย

ผลการศึกษาหลายประเทศชี้ชัดขนาดนี้ รู้แล้วใช่ไหม ว่ารถไฟความเร็วสูงของไทยคงจะเกิดไม่ได้อีกนาน เพราะมีพญามารนอนขวางทางอยู่

ส่วนเหตุผลว่า เครื่องบินที่มีอยู่สามารถแทนรถไฟความเร็วสูงได้นั้น เป็นความคิดแบบ Static มากไป ขาดการคิดแบบ Dynamic เพราะต้นทุนของเครื่องบินคือน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มจะแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่ระบบรถไฟนั้น ใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถมีทางเลือกด้านพลังงานที่มากกว่า และเป็นมลพิษน้อยกว่าในอนาคตด้วย

นี่แหล่ะครับ บทความนี้ เขาพยากรณ์ว่า รถไฟความเร็วสูงจะเกิดยากก็เพราะข้อมูลนี้ แต่เมื่อสองวันมานี้ มาพบบทความอีกชิ้น ลองอ่านดูก่อน

                 เขาตั้งชื่อว่า  จีนญี่ปุ่นใครจะได้ลุ้นสร้างรถไฟ(กึ่ง)ความเร็วสูงไทย

 

             น่าดีใจที่รัฐบาลประยุทธ์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบรางโดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง1.435 เมตรให้เป็นรถไฟ(กึ่ง)ความเร็วสูงโดยใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลพุ่งเป้าไปที่ประเทศยักษ์ใหญ่ในวงการรถไฟคือจีนและญี่ปุ่น

                  เริ่มต้นที่ประเทศจีนโดยเมื่อวันที่19 ธันวาคม2557 มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนซึ่งรัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนมีส่วนร่วมในการก่อสร้างรถไฟกึ่งความเร็วสูงวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด180 กิโลเมตร/ชั่วโมงเส้นทางหนองคายโคราชแก่งคอยท่าเรือมาบตาพุดระยะทางประมาณ734 กิโลเมตรและเส้นทางแก่งคอยกรุงเทพฯระยะทางประมาณ133 กิโลเมตรโดยกำหนดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปี.. 2559

               ต่อมาเมื่อเร็วๆนี้มีข่าวว่าในระหว่างวันที่8-9 กุมภาพันธ์2558 จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางจากอำเภอพุน้ำร้อนกาญจนบุรีกรุงเทพฯฉะเชิงเทราสระแก้วกัมพูชาเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศเมียนมาร์ไทยเเละกัมพูชา

ขอวิเคราะห์โอกาสที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นจะได้ดำเนินงานในโครงการดังกล่าวดังนี้

ประเทศจีน
                  แม้ว่าประเทศจีนเริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหลังญี่ปุ่นนานมากแต่จีนก็สามารถก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้เป็นระยะทางยาวที่สุดในโลกเพียงในเวลาไม่นานเส้นทางที่จีนได้รับนั้นส่วนใหญ่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมไว้แล้วและเป็นเส้นทางที่จีนได้รับประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดเพราะสามารถขนสินค้ามาออกทะเลได้อีกทางหนึ่งดังนั้นถ้าจีนตอบแทนผลประโยชน์ที่ได้รับด้วยการช่วยเหลือไทยให้มากทั้งในด้านการลงทุนการก่อสร้างการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริหารจัดการเดินรถหรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่าถ้าจีนหวังจะได้กำไรจากการลงทุนไม่มากนักโอกาสที่จีนจะได้ก่อสร้างรถไฟกึ่งความเร็วสูงตามเส้นทางดังกล่าวก็จะมีมาก

 ประเทศญี่ปุ่น
                 ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกของโลกที่คิดค้นและก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาโดยก่อสร้างเส้นทางโตเกียว– โอซาก้าเป็นสายแรกของโลกในปีพ.ศ. 2507 เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงหรือชินคันเซ็นของญี่ปุ่นจึงเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายแต่เส้นทางที่ญี่ปุ่นได้รับเป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อนและเป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงนอกจากญี่ปุ่นจะได้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายของเมียนมาร์ด้วยแต่อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายให้สำเร็จยังอยู่ห่างไกลด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นคงจะไม่ช่วยเหลือไทยมากทั้งในด้านการลงทุนการก่อสร้างการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริหารจัดการเดินรถหรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่าญี่ปุ่นคงคาดหวังที่จะได้กำไรจากการลงทุนพอสมควรดังนั้นญี่ปุ่นคงมีโอกาสเพียงแค่ได้ศึกษาความเหมาะสมเท่านั้น

ในบทความเขาถามตอนจบว่า

        ตามความเห็นของคุณ(ผู้อ่าน)  คุณคิดว่าจีนหรือญี่ปุ่นจะมีโอกาสได้ก่อสร้างรถไฟ(กึ่ง)ความเร็วสูงไทยมากกว่าครับ

           สำหรับผม ผมเอาหมด ใครก็ได้ ไม่ว่า จีน ญี่ปุ่น เพราะ 2 ประเทศนี้เขาเก่งเรื่องรถไฟ แม้จะยังไม่เร็วมาก ยังเป็นลักษณะ กึ่งเร็ว คือเร็วกว่าของเก่าแตะยังไม่เร็วมาก ก้ไม่ว่ากัน ขอให้สร้างเหอะ

             แต่ เมื่ออ่านจบแล้วเอาบทความแรกมาบวกกับบทความ 2 คำตอบจึงมีว่า

              รัฐบาลนี้ไม่เลิกโครงการรถไฟความเร็วสูง

               แต่ก็ไม่สร้างรถใฟความเร็วสูง

               จะสร้างแบบรางคู่  ความเร็วไม่สูงก่อน

                ธุรกิจการบินก็ส่งเสริมโดยเปิดน่านฟ้าเสรีต่อไป(รอนั่งสายการบินเจ๊เกียวกันต่อไป)

                 ก็ดูกันว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป

                 ต่อไป และ  ต่อไป

 

อรุณ   ช้างขวัญยืน  /  รายงาน…………..

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ