วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

เตือนภัยพิบัติ พื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัย

Spread the love

เตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เดินสายสร้างองค์ความรู้ ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัย นำร่อง 20 จังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภาค ตลอดสิงหาคม – ตุลาคม 2555 นี้
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 เวลา 09.00 น. ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนะธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานปิด พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และ นายฤทธิพงศ์เตชะพันธุ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเปิดโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน เพื่อป้องกัน และบรรเทาภัย

โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เผยว่า จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าภาวะภัยพิบัติต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางครั้งอยู่นอกเหนือการคาดการณ์ อันมีสาเหตุมาจากวิกฤติการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ ดังนั้นเราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือในทุกสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผชิญกับสถานการณ์ควรต้องได้รับการบรรเทาและดำเนินการที่ดี พร้อมทั้งเผชิญเหตุการณ์อย่างมีสติ และถึงแม้เราจะไม่สามารถควบคุมความรุนแรงจากภัยพิบัติได้ แต่เราสามารถเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ บนพื้นฐานความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อบรรเทาความสูญเสียที่เกิดขึ้น

 

ดังนั้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถือเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการบริหาร และบูรณาการความร่วมมือเกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัยระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จึงได้จัดโครงการสร้างองค์ความรู้ ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยขึ้น
เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้มีวัคซีนที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อภัยพิบัติ รวมทั้งทราบข้อมูลและเรียนรู้ถึงการเกิดภัยพิบัติ การเฝ้าระวัง การป้องกัน ตลอดจนการหลบภัยอย่างถูกวิธีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับโครงการภัยพิบัติ รู้ทัน รับมือได้ จัดขึ้นโดยความร่วมมือจากเครือค่ายต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมให้ความรู้และจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และเดินสายโรดโชว์ไปยัง 20 จังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2555 โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาคเหนือ ประกอบไปด้วย เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์
กลุ่มที่ 2 ภาคกลาง ประกอบไปด้วย ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา
กลุ่มที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบไปด้วย อุดรธานี หนองคาย นครพนม จันทบุรี
กลุ่มที่ 4 ภาคใต้ กลุ่ม A ประกอบด้วย ประกอบไปด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต
กลุ่มที่ 5 ภาคใต้กลุ่ม B ประกอบไปด้วย สงขลา สตูล ตรัง กระบี่

 

สำหรับกิจกรรมภายใน โครงการภัยพิบัติ รู้ทัน รับมือได้ จะประกอบด้วย นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติแต่ละประเภท และวิธีป้องกันตนเองในรูปแบบเสมือนจริง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ พันธกิจของ กระทรวง ICT และ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมจัดแสดงอุปกรณ์ที่สะท้อนถึงศักยภาพการทำงานของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่แม่นยำ น่าเชื่อถือได้ นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับประสบการณ์จริงจากการร่วมฝึกซ้อมเครือข่ายศูนย์เตือนภัยภาคประชาชนในการรายงานเหตุการณ์ และการแจ้งเตือนภัยในสถานการณ์ต่างๆ พร้อมวิธีการสื่อสารและรับชมการสาธิตอุปกรณ์การเตือนภัยพิบัติ ด้วยการจำลองสถานการณ์จริงของภัยพิบัติในกรณีต่างๆ เพื่อฝึกให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนในนาทีวิกฤต เบื้องต้น.

สำนักข่าว Cnxnews รายงาน