วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

เชียงใหม่เร่งรัดดำเนินการเบิกจ่ายค่าชดเชยช่วยเหลือเกษตรกร

Spread the love

จังหวัดเชียงใหม่เร่งรัดดำเนินการเบิกจ่ายค่าชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

จังหวัดเชียงใหม่เร่งรัดดำเนินการเบิกจ่ายค่าชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามวงเงินที่ ได้รับการจัดสรรโควตาและได้รับโอนเงินชดเชยค่าปรับปรุงคุณภาพและค่าบริหารจัดการ (กก.ละ 1.50 บาท) จำนวน 101,316.56 ตัน และชดเชยค่าขนส่ง (กก.ละ 0.50 บาท) 35,519.58 ตัน ดำเนินการเบิกจ่ายค่าบริหารจัดการไปแล้ว วงเงิน  47,708,226.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 31.4  ขณะนี้ได้เร่งรัดดำเนินการตรวจสอบเอกสาร พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ภายในวันที่ 31 มี.ค. ศก นี้

นายวิเชียร  พุฒิวิญญู  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร (คพจ.)  เปิดเผยว่า  ตามนโยบายรัฐบาลให้ดำเนินการแทรกแซงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เชื่อมโยงผ่านผู้รวบรวมในพื้นที่  โดยให้ผู้รวบรวมรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ด ความชื้น 14.5 % กิโลกรัมละ 9 บาท (ความชื้น 30 % กก.ละ 7 บาท) จากเกษตรกรตามใบรับรองเกษตรกร รายละไม่เกิน 25 ตัน  และชดเชยค่าขนส่ง กิโลกรัมละ 0.50 บาท   ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ได้รับการจัดสรรโควตา รวมทั้งสิ้นปริมาณจำนวน  101,316.56  ตัน  ขณะนี้ส่วนกลางได้โอนเงินให้มาแล้ว จำนวน 151,974,840 บาท  ได้ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้วแบ่งเป็น 6 งวด รวมเป็นจำนวนเงิน  47,708,226.50 บาท น้ำหนัก 31,805.48 ตัน คิดเป็นร้อยละ 31.4 ส่วน         ที่เหลืออยู่ระหว่างการเร่งตรวจสอบเอกสาร รวมยอดที่จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการแทรกแซง จำนวน 95,707.483 ตัน วงเงิน 143,561,244.50 บาท  สาเหตุที่มีการเบิกจ่ายล่าช้า เพราะความไม่สมบูรณ์ของเอกสารในการขอรับเงินชดเชย คณะทำงานตรวจสอบเอกสารจึงจำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียด ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้คำแนะนำตามแนวทางของจังหวัด และให้ผู้รวบรวมยื่นแบบรับรองตนเอง เพื่อรับรองเอกสารที่ไม่สมบูรณ์  จะทำให้มีการเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น คาดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้ จะสามารถเบิกจ่ายค่าบริหารจัดการได้เกือบครบ

สำหรับการชดเชยค่าขนส่ง (กก.ละ 0.50 บาท) ให้กับผู้รวบรวม  จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการจัดสรรโควตาปริมาณจำนวน  35,519.58  ตัน และต้องมีการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. ผู้รวบรวมระยะทางเกินกว่า 150 กิโลเมตรขึ้นไป ในอัตราสูงสุดไม่เกิน กิโลกรัมละ 0.50 บาท ยกเว้นการขนส่งในอำเภอแม่แจ่ม

2. น้ำหนักชดเชยต้องเป็นน้ำหนัก ณ ความชื้น 14.5 % ตามหลักฐานการชั่งน้ำหนักของผู้รับซื้อปลายทาง 

3. การจ่ายเงินชดเชยค่าขนส่งสามารถจ่ายได้เฉพาะผู้รวบรวม และสหกรณ์ผู้รวบรวมที่รับซื้อและขนส่งภายในระยะเวลา ตั้งแต่ 3 ก.ย. – 31 ธ.ค. 56 เท่านั้น 

4. การจ่ายเงิน จะคำนวณระยะทางจากผู้รวบรวม (ต้นทาง) ถึงผู้ใช้ (ปลายทาง)  โดยคำนวณระยะทางขนส่งระดับอำเภอถึงอำเภอ

5. ผู้รับซื้อปลายทางต้องเป็นโรงงานอาหารสัตว์ สหกรณ์ผู้ใช้ (ปศุสัตว์) และผู้ประกอบการที่ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น  ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากส่วนกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์การซื้อขายซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สากล  แต่ผู้รวบรวมเป็นผู้รวบรวมในท้องถิ่นจึงไม่เข้าใจในหลักเกณฑ์และได้ดำเนินการซื้อขายจริงตามที่เคยปฏิบัติกันมา จึงทำให้เอกสารในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดแนวทางให้ใช้แบบรับรองตนเอง  จะทำให้สามารถเบิกจ่ายเงินให้ผู้รวบรวม เพื่อนำไปจ่ายให้เกษตรกรได้เร็วขึ้น แต่มีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายชดเชยค่าขนส่ง ซึ่งจังหวัดได้ขอขยายระยะเวลาปิดโครงการออกไปถึงสิ้นเดือนเมษายน 2557 นี้

 

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน


เชียงใหม่เร่งรัดดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

Spread the love

 

เชียงใหม่เร่งรัดดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

รอง ผวจ.ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

รอง ผวจ.เชียงใหม่เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกกิจกรรมภายในวันที่ 15 กันยายน 2556

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.56 ที่ผ่านมา เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา นายอดิศร กำเนิดศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะ   ยาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 6/2556 โดยมีวาระการประชุมประกอบด้วย การสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดห้วงเดือนมิถุนายน 2556 โดยหน่วยงานเจ้าภาพแผนหลัก ตามประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ 7 แผนงาน และผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดระดับอำเภอ ส่วนประเด็นการพิจารณาได้มีการหารือแนวทางการขับเคลื่อนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนระยะไตรมาสที่ 4/2556 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดความก้าวหน้าการดำเนินการ   ร้อยละ 80 เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 3/2556 สำหรับด้านการเบิกจ่ายงบประมาณมีเป้าหมายการดำเนินการร้อยละ 69 เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 3/2556 และ ศพส.จ.ชม. ได้กำกับดูแลเสนอแนะมาตรการ เพื่อให้ส่วนราชการ/หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ ภาพรวมการดำเนินงานตามปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะ  ยาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่  ระยะไตรมาสที่ 3/2556 ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2556 เป็นที่น่าพอใจในทุกแผนงาน ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น    พึงพอใจต่อนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในเกณฑ์สูงมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

แผนงานที่ 1 แผนงานสร้างพลังสังคมและพลังชุมขนเอาชนะยาเสพติด กำหนดเป้าหมายในการ       ลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติด 2,178 หมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการแล้ว 1,984 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 91.09 โดยผ่านกระบวนการประชาคมค้นหา ผู้เสพ/ผู้ติด ผู้ค้ายาเสพติด แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเชิงคุณภาพ เป็นพลังแผ่นดินเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน

แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด กำหนดเป้าหมายการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาในทุกระดับให้ได้อย่างน้อย 7,800 ราย โดยผ่านกระบวนการคัดกรองอย่างมีคุณภาพ ซึ่งได้มีการดำเนินการแล้ว 7,278 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.30  ของเป้าหมาย สำหรับการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาในปี 2555 และรายใหม่ในปี 2556 มีเป้าหมาย 16,422 ราย ดำเนินการแล้ว 10,199 ราย หรือร้อยละ 62.10 โดยเป็นสัดส่วนของการดำเนินการในระบบปกติ ประมาณร้อยละ 83.94

แผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด การป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในกลุ่มนักเรียนชั้น ป.5-ป.6 จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 34,260 คน ดำเนินการแล้ว 21,982 คน หรือร้อยละ 64.16 ด้วยการพัฒนาวิทยากรป้องกันยาเสพติดหลักสูตรการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด (CARE.) เป็นผู้ดำเนินการหลักควบคู่กับครูตำรวจ (D.A.R.E.) ครู่พระสอนศีลธรรม พร้อมทั้ง การสร้างกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในโรงเรียน 315 แห่ง โดยได้ดำเนินการแล้ว 217 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 68.88 และการจัดระเบียบสังคมต่อพื้นที่เสี่ยง การป้องกันและแก้ไขปัญหา      ยาเสพติดในสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์โรงงานสีขาว และการปรับเปลี่ยนทัศนคติ/เจตคติกลุ่มเยาวชนนอกสถานศึกษาให้เป็นพลังสร้างสรรค์ในสังคม

แผนงานที่ 4 การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย กำหนดเป้าหมายจับกุมผู้กระทำผิดคดียาเสพติด 7,525 ราย มีผลการดำเนินการจับกุม 6,369 ราย หรือร้อยละ 84.63 โดยเป็นการขยายผล 5 ข้อหาสำคัญ ได้แก่ ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และครอบครองเพื่อจำหน่าย  674 คดี จากเป้าหมาย 788 คดี หรือร้อยละ 85.53 การตรวจสอบทรัพย์สิน 59 คดี มูลค่าทรัพย์สิน 622,204,068 บาท หรือร้อยละ 1,269.80 และการดำเนินการตามหมายจับ 49 หมาย ดำเนินการแล้ว 57 หมาย คิดเป็นร้อยละ 116.33

แผนงานที่ 5-6 ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติด มุ่งเน้นการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและเคมีภัณฑ์ โดยจัดวางกำลังของกองกำลังป้องกันชายแดน ลาดตระเวน ตรวจตรา เพิ่มความเข้มข้นของด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดกั้น ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านตามแนวชายแดน มีผลการจับกุมถึง 120 ครั้ง ผู้ต้องหา 158 คน ของกลางสำคัญได้แก่ ยาบ้าน 492,567 เม็ด เฮโรอีน 206.53 กรัม ฝิ่น 11,265.35 กรัม ไอซ์ 2,066.48 กรัมและกัญชา 29.54 กรัม

แผนงานที่ 7 การบริหารจัดการแบบบูรณาการ อำนวยการและบริหารจัดการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลและเป้าหมายของจังหวัดเชียงใหม่ มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 8,721,220 บาท จากงบประมาณตามแผนปฏิบัติการฯ 15,086,160 บาท หรือร้อยละ 57.81 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายตามไตรมาสร้อยละ 12

สำหรับในไตรมาสที่ 4/2556 เป็นระยะที่สำคัญสูงสุดซึ่งเป็นการวัดระดับความสำเร็จของผลผลิตในทุกแผนงาน จึงควรกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานและเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่  เพื่อให้เห็นความสำเร็จในเชิงตัวเลขเป็นรายงวดเดือน ดังนี้ เดือนกรกฎาคม 2556 ผลงานเทียบกับค่าเป้าหมาย ร้อยละ 90 การเบิกจ่ายงบประมาณร้อยละ 80 เดือนสิงหาคม 2556 ผลงานเทียบกับค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 การเบิกจ่ายงบประมาณร้อยละ 95 และภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 ผลงานเทียบกับค่าเป้าหมาย และการเบิกจ่ายงบประมาณต้องครบร้อยละ 100 ทั้งนี้ ทุกแผนงานมีจุดเน้น และแนวทางการดำเนินงานต่างกันประกอบด้วยองค์ความรู้ซึ่งสามารถศึกษาเรียนรู้ นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาในพื้นที่ จึงให้จัดเตรียมรวบรวมผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่าง Best Practice   แผนงานละ 1 โครงการ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า พึงพอใจและชื่นชมการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนในไตรมาสสุดท้ายก็ให้เร่งรัดการดำเนินงานให้มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดให้ครบร้อยละ 100 ในทุกกิจกรรมภายในวันที่ 15 กันยายน 2556

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ