วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

เชียงใหม่เตือนตื่นตัวหลังไข้เลือดออกระบาดหนัก!!!!

Spread the love

เชียงใหม่เตือนตื่นตัวหลังไข้เลือดออกระบาดหนัก!!!!

 

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้ชาวเชียงใหม่ ตื่นตัว ต้องรู้ว่ามีผู้ป่วยในละแวกบ้าน 50 เมตร รีบกำจัดยุงตัวแก่ โดยใช้สเปรย์กำจัดยุงตัวเต็มวัยฉีดพ่นรอบๆบ้านทุกวัน ติดต่อกัน 7 วัน
นายแพทย์วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดเชียงใหม่ยังต้องคุมเข้ม เฝ้าระวัง เนื่องจากมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 100 ราย รวมมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 -25 มิถุนายน 2556 จำนวน 3,764 ราย เสียชีวิต 5 ราย อำเภอที่มีการระบาดสูงสุด 10 อำเภอ ได้แก่ แม่อาย แม่ริม หางดง แม่แตง เมืองเชียงใหม่ ดอยหล่อ แม่วาง สันทราย เชียงดาว และสันป่าตอง 

ด้านการควบคุมโรคได้เพิ่มมาตรการ ในการจัดแบ่งอำเภอเป็น 4 สี เพื่อกำหนดกิจกรรม และการควบคุมได้แก่
-อำเภอสีแดง คือหมู่บ้านที่มีการระบาดต่อเนื่องติดต่อกัน 4 สัปดาห์ (12 อำเภอ)
-อำเภอสีส้ม คือหมู่บ้านที่มีการระบาดแต่ไม่ต่อเนื่องใน 4สัปดาห์ (10อำเภอ)
-อำเภอสีเหลือง คือไม่มีการระบาด แต่เคยมีผู้ป่วยเมื่อ 4 สัปดาห์ก่อน และ/หรือพบผุ้ป่วยใหม่ (2 อำเภอ)
-อำเภอสีเขียว คือไม่มีการระบาด ไม่พบผู้ป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ( 1 อำเภอ)

ประชาชนต้องตื่นตัว รับฟังข่าวสาร ว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในละแวกบ้านรัศมี 50 เมตรหรือไม่ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด และดูแลสิ่งแวดล้อมมิให้เป็นที่วางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งจัดหาสารเคมีกระป๋องฉีดพ่นทุกวัน ติดต่อกัน 7 วันเมื่อทราบข่าวการป่วยของเพื่อนบ้าน  ระดมทีมปฏิบัติการกวาดล้างยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์แบบครบวงจร โดยทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จัดทีมเสริมเพื่อปฏิบัติการพ่นสารเคมีในพื้นที่ที่ยังไม่ครอบคลุม โดยการร่วมมือของผู้นำชุมชน อสม. ครู นักเรียน และประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆ
ด้านการรักษาพยาบาล เมื่อพบผู้ป่วย โรงพยาบาลจะแจกจ่ายสารเคมีกระป๋องและยาทากันยุงแก่ทุกคนในบ้าน เพื่อตัดวงจรไม่ให้ยุงกัดและนำเชื้อไปแพร่ต่อ ทุกโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลนครพิงค์ จัดระบบการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือด ออกที่แผนกผู้ป่วยนอก และตัดเตรียมเตียง วัสดุ เวชภัณฑ์ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น จัดแพทย์ผู้รับผิดชอบ 1 คนตั้งแต่ระดับ จังหวัดโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน และสาธารณสุขอำเภอ เพื่อเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นพี่เลี้ยง และควบคุมกำกับ ตามมาตรการที่วางไว้ ประชาชนทุกคน ทุกครัวเรือน และหน่วยงาน โรงเรียน องค์กร วัด สถานประกอบการควรร่วมมือและมีส่วนร่วมในการดูแล ป้องกันในพื้นที่ของตัวเองในการ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างประจำและสม่ำเสมอ รวมทั้งให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำเมื่อมีการพ่นสารเคมีขององค์กรท้องถิ่นทุกครั้งที่บ้านท่าน เพราะการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ ไม่ให้ยุงทุกชนิดกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย เท่านั้น

 

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ