วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

เชียงใหม่ปรับกลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

Spread the love

cnxnews

เชียงใหม่ปรับกลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในห้วงระยะ 2 เดือนสุดท้ายนี้

จังหวัดเชียงใหม่ปรับกลยุทธ์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสู่การปฏิบัติให้เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายละสถานการณ์ปัญหาของจังหวัด ในห้วงระยะ 2 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2555 นายอดิศร กำเนิดศิริ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ ประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 7/2555 เมื่อวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาปรับกลยุทธ์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดสู่การปฏิบัติให้เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายละสถานการณ์ปัญหาของจังหวัด ในห้วงระยะ 2 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2555 (สิงหาคม-กันยายน 2555)

ซึ่งจากการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดของศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัด/อำเภอ (ศพส.จ/ศพส.อ) และหน่วยงานร่วมปฏิบัติอย่างบูรณาการ จังหวัดเชียงใหม่มีผลการปฏิบัติที่สำคัญเพิ่มสูงขึ้นในทุกด้าน ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า รัฐบาลได้พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน ยกระดับปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งภูมิภาค มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติของจังหวัด/หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ประชาชนมีความพึงพอใจ และเชื่อมั่นต่อการจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลเป็นลำดับ ในขณะเดียวกันผลสำรวจจากหลายแห่งก็ยังสะท้อนถึงความเดือดร้อนของประชาชนในสังคมชุมชนเช่นกัน ดังนั้น ในห้วง 2 เดือนนี้ (สิงหาคม – กันยายน 2555) ซึ่งเป็นห้วงสุดท้ายของปีงบประมาณ รัฐบาลได้มอบหมายให้ ศพส.จ.ชม./ ศพส.อ. และหน่วยงานรับผิดชอบตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติของทุกแผนงานหลัก โดยเฉพาะกิจกรรม/โครงการที่ยังมีผลการดำเนินการในสัดส่วนค่อนข้างต่ำ และกิจกรรมที่จะส่งผลต่อความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชน ดังนี้

แผนงานที่ 1 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรากฏข่าวสารได้รับการแก้ไขแล้ว 1,769 ม/ช คิดเป็นร้อยละ 98.33 ให้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามเป้าหมาย 1,799 แห่งของจังหวัด โดยมุ่งเน้นกิจกรรมเชิงคุณภาพ ได้แก่ โดรงการกองทุนแม่ของแผนดินเฉลิม พระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี การส่งเสริมอาชีพหรือส่งเสริม ให้ได้รับการศึกษาให้กับผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การระดมทุน/บริหารจัดการเงิน การรับรองครัวเรือนปลอดยาเสพติด มีกฎระเบียบในหมู่บ้าน/ชุมชนและหรือกองทุน รวมถึงการสร้างเครือข่ายหมู่บ้าน/ชุมชนเฝ้าระวังยาเสพติด
แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด ทั้งระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด ระบบต้องโทษ จำนวน 8,044 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.34 ในขณะที่เป้าหมายอยู่ที่ 10,401 ราย ก็ให้ ศพส.อ. ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่ สถานศึกษา สถานพยาบาลทุกสังกัด สถานประกอบการ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกดดันให้ผู้ใช้ ยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาให้ได้มากที่สุด โดยให้มุ่งเน้นการบำบัดแก้ไขในระบบสมัครใจ/ค่ายพลังแผ่นดิน ซึ่งบทบาทของฝ่ายตำรวจจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลด้าน Demand ในด้านการติดตามช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ผ่านการบำบัดฯ ซึ่งมีผลการดำเนินงานเพียงร้อยละ 12.52 ก็ให้ ศพส.อ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เร่งดำเนินงานให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กำหนด

แผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก ป.6 การสร้างภูมิคุ้มกันก่อนวัยเสี่ยง ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินการ 6,620 ราย มีผลการดำเนินงานเกินเป้าหมายที่กำหนด คือ การดำเนินงานตามหลักสูตร CARE จำนวน 9,275 ราย และ ครู D.A.R.E จำนวน 580 คน ส่วนการดำเนินงานสร้างระบบป้องกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน มีผลการดำเนินงานใน 245 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 78.77 ในขณะที่เป้าหมายกำหนดไว้ 311 โรงเรียน ก็ให้เร่งดำเนินการจัดตำรวจปฏิบัติหน้าที่ประสานงานโรงเรียน (1 ตำรวจ 1 โรงเรียน) ให้ครบถ้วน ครอบคลุมสถานศึกษา เป้าหมายทุกระดับ เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกับครูตรวจพิสูจน์ ครูกิจกรรมป้องกัน ครูฝ่ายปกครองสอดส่อง รวมถึงการแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงใกล้สถานศึกษา ลดความเดือดร้อนของประชาชนตามมาตรการจัดระเบียบสังคมโดยต่อเนื่องด้านการดำเนินงานในสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมสถานประกอบการสีขาว มีผลการดำเนินงานใน 21 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 52.50 ก็ให้ดำเนินการให้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 40 แห่ง

แผนงานที่ 4 การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย ด้านการจับกุมผู้ค้ายาเสพติดในข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 89.58 การดำเนินการยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 60 การดำเนินการตามหมายจับคดียาเสพติด มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 94.73 และการดำเนินงานตามข้อร้องเรียนในทุกเรื่อง มีผลการดำเนินงาน 31 เรื่อง ผู้ต้องหา 49 ราย นั้น ในห้วงระยะ 2 เดือนสุดท้ายให้เน้นดำเนินการในเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ การดำเนินมาตรการด้านทรัพย์สินคดียาเสพติดและหมายจับค้างเก่า ให้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย เร่งรัดการดำเนินการลดความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหายาเสพติดตามเบาะแสข้อร้องเรียนของประชาชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความพึงพอใจของประชาชนในภาพรวม
แผนงานที่ 5-6 การสกัดกั้นยาเสพติดพื้นที่ชายแดนและความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งมีศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินสกัดกั้นยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศพส.ชน.) เป็นหน่วยอำนายการ บูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดเป้าหมายในด้านการสกัดกั้นตามแนวชายแดน 2 จุด และการเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน/ชุมชนชายแดน 36 ม/ช ก็ให้ ศพส.อ หน่วยงานร่วมปฏิบัติในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เกี่ยวข้องของจังหวัด ให้การสนับสนุนความร่วมมือในแผนยุทธการ และปฏิบัติการของ ศพส.ชน. อย่างเต็มกำลังตามการประสานภารกิจ
ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมถึง แผนงานที่ 7 ซึ่งเป็นเรื่องการบริหารจัดการแบบบูรณาการนั้น ก็ให้ยกระดับงานข้อมูลของทุกแผนงาน ผ่านระบบการรายงานที่ ศพส.แห่งชาติกำหนด ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา กำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน รวมทั้งจัดเตรียมแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ประสานการดำเนินการเพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดในระยะต่อไปของรัฐบาล

ราตรี จักร์แก้ว สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่

สำนักข่าว Cnxnews รายงาน