วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน

Spread the love

                   จังหวัดเชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เน้นย้ำให้ทุกอำเภอตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในจุดที่เกิดไฟไหม้ 

          จังหวัดเชียงใหม่จัดประชุมคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้ทุกอำเภอตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในจุดที่เกิดไฟไหม้

เมื่อวันที่ 3 เม.ย.57  เวลา 15.30 น. ณ ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ นายชนะ แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในห้วง “80 วันแห่งการเฝ้าระวังและควบคุมหมอกควันไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่” ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 21 เมษายน 2557 โดยคณะคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ มทบ.33 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช บูรณาการกำลังในการลาดตระเวน เฝ้าระวัง ป้องกันและดับไฟ ปฏิบัติในพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาและพื้นที่โดยรอบ โดยจะเข้าไปตรึงกำลังก่อน 1 สัปดาห์ สถานีควบคุมไฟป่า และชุดเคลื่อนที่เร็ว ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศว่าในช่วงวันที่ 3-6 เมษายน 2557 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน อากาศร้านถึงร้อนจัด ประกอบกับในช่วงวันที่ 4-7 เมษายน 2557 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง แลอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ และในวันที่ 2 เมษายน 2557 ฝนหลวง สลายหมอกควันที่แม่ฮ่องสอน 6 เที่ยว เช้า/บ่าย เที่ยวละ 2,000 ลิตร ระดับ 8,000-9,000 ฟุต ผลพลอยได้ฝนตกในจังหวัดเชียงใหม่ ที่อำเภอสันทราย โครงการทดลองการประมาณค่าฝุ่นละอองในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากในหลายๆชุมชน ไม่มีเครื่องมือวัดปริมาณ (PM10) จึงจำเป็นต้องใช้การประเมินค่าระดับอนุภาค และยังเห็นว่าในพื้นที่ที่มีเครื่องมือวัดแบบต่อเนื่อง ก็ยังจำเป็นต้องมีการใช้การสังเกต หรือใช้ทัศนียภาพในการมองเห็นเป็นตัวแทนของเครื่องวัดอีกทางหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากความเข้มข้นของหมอกควันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

 

ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (3 เม.ย.57) พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน(PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ พบค่าPM10 147 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่า AQI วัดได้ 112 ที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พบค่าPM10 จำนวน 113 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่า AQI วัดได้ 97 อยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อวานนี้ (2 เม.ย.57) มีรายงานสถิติการรับแจ้งเหตุและปฏิบัติการดับไฟป่า จำนวน 18 ครั้ง ในพื้นที่ 10 อำเภอ พื้นที่ป่าเสียหาย 309 ไร่ ส่วนสถิติการเกิดไฟป่าสะสมจนถึงเมื่อวานนี้ พบเกิดขึ้น 862 ครั้ง พื้นที่ป่าเสียหาย 8,499.50 ไร่ สำหรับจุด Hot spot ที่เกิดขึ้นในวันนี้มีจำนวน 38จุดพบการเกิดมากสุดในพื้นที่อำเภออมก๋อย  ส่วนสถิติสะสมตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 3 เมษายน 2557 เกิดขึ้นรวม 2,171จุด 5 อำเภอที่ยังไม่เกิดจุด Hot spot เลย ได้แก่ อำเภอสารภี

 

 

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน


เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน

Spread the love

เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน

 

จังหวัดเชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด

การประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เน้นย้ำให้เร่งสร้างความชุ่มชื้นให้อากาศ และนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้โดยเคร่งครัด เพื่อลดปัญหาหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 30 มี.ค.57  เวลา 10.00 น. นายชนะ  แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ณ ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 41 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  เพื่อติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ 4 อำเภอที่เกิดจุด Hotspot สะสมจำนวนมาก ประกอบด้วย อำเภออมก๋อย แม่แจ่ม ฮอด เชียงดาว ประกอบกับจำนวนบุคลากรในการเข้าปฏิบัติงานไม่เพียงพอ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จึงได้สั่งการให้มีการปรับแผนการปฏิบัติงานโดยมอบหมายให้มีการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานในพื้นที่เกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียงโดยนำกำลังเจ้าหน้าที่และวัสดุอุปกรณ์จากพื้นที่ที่ไม่เกิดจุด Hotspot ไปสนับสนุนพื้นที่ที่เกิดเหตุ และได้ทำหนังสือขอกำลังสนับสนุนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช และนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด โดยหากพบการกระทำผิดให้จับกุมดำเนินคดีและประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายและหอกระจายข่าวเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบพฤติกรรมดังกล่าวด้วย ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงได้บินทำภารกิจวันละ 6 เที่ยวบินทุกวัน ให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ทำหนังสือ ขอกำลังเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าเสริมจากกรมส่วนกลาง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ทำหนังสือของรับการสนับสนุนเครื่องบินโปรยละอองน้ำบนอากาศเพื่อสลายหมอกควัน จากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ

คณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ และการขอสนับสนุนกองบิน 41 ในการใช้เครื่องบินโปรยน้ำในพื้นที่ที่เกิดปัญหา ทางด้านกรมอุตุวิทยา ได้พยากรณ์อากาศว่าในวันที่ 2-3เมษายน 2557 ช่วงนี้ความชื้นในอากาศมีประมาณ 30%  จะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค  และมาตรการด้านกฎหมาย ให้รางวัลกับคนที่แจ้งเหตุ รางวัลนำจับ จากกองทุนแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ 5,000 บาท ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด พรบ. ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 2 ราย ที่ อ.อมก๋อย และ อ.สะเมิง

สำหรับคุณภาพอากาศในพื้นที่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ในวันนี้ (30 มี.ค.57) พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 127 – 132ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปริมาณฝุ่นละอองไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้ามากนักโดยที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่พบค่า PM10 จำนวน 127ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่า AQI วัดได้ 104 ที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พบค่า PM10 จำนวน 132 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่า AQI วัดได้ 106

โดยเมื่อวานนี้ (29 มี.ค.57) มีรายงานสถิติการรับแจ้งเหตุและปฏิบัติการดับ ไฟป่า จำนวน 9 ครั้ง พื้นที่ป่าเสียหาย 103 ไร่ ส่วนสถิติการเกิดไฟป่าสะสมจนถึงเมื่อวานนี้ พบเกิดขึ้น 780 ครั้ง พื้นที่ป่าเสียหาย 7,491.50 ไร่ สำหรับจุด Hot spot ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้มีจำนวน 38 จุด โดยเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 13 จุด พื้นที่ป่าสงวน 25 จุด

 

 

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน


เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน

Spread the love

เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน

 

จังหวัดเชียงใหม่ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยเน้นย้ำให้เร่งสร้างความชุ่มชื้นให้อากาศ

การประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เน้นย้ำให้เร่งสร้างความชุ่มชื้นให้อากาศ และนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้โดยเคร่งครัด เพื่อลดปัญหาหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่

          เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา เวลา 13.00 น. นายชนะ  แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ณ ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ อาคารอำนวยการ ชั้น2 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 

ศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีมาตรการเร่งด่วน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้  1. มีหนังสือกำชับทุกอำเภอ แจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านดูแลและแจ้งประชาชนในพื้นที่ห้ามเผาทุกชนิดอย่างเด็ดขาด ใช้มาตรการทาง กฎหมายกับผู้เผา หากเกิดขึ้น ให้มีผลต่อการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติราชการ สำหรับผู้แจ้งเบาะแสผู้จุดไฟซึ่งนำมาในการจับกุมผู้กระทำผิดได้ มีรางวัลรายละ 5,000 บาท 2. ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความชุ่มชื้นในอากาศ ทุกวันๆละ 2 เวลา 08.00-11.00 และ 15.00-16.00 3. ขอให้ 191 รับแจ้งเหตุเกิดไฟในทุกพื้นที่เพื่อความสะดวกและจดจำง่ายของประชาชน จากนั้นให้แจ้งเครือข่ายดับไฟในพื้นที่ 4. ขอความร่วมมือหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเร่งปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง 5. ออกประกาศเตือนประชาชนและขอความร่วมมือด้านสุขภาพ ได้แก่ ปิดประตูหน้าต่าง งดกิจกรรมในที่โล่ง หากมีอาการเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์และร่วมสร้างความชุ่มชื้นในอากาศโดยการรดน้ำในแต่ละบ้าน สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่าจะมีการบินขึ้นทำฝนหลวงในวันนี้จำนวน 2 เที่ยวบิน เที่ยวแรกในเวลา 14.00 น. หลังจากลงมาขึ้นเที่ยวที่สองต่อทันที เพราะสภาพอากาศเหมาะสมมีเมฆมาก อีกทั้งตอนนี้ทางอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่าตอนนี้จังหวัดลำปาง แพร่ และลำพูนมีฝนตกแล้ว

ในส่วนของคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 22 มีนาคม 2557 โดยทั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ พบค่า PM10 อยู่ที่ 282 ส่วนค่าAQI วัดได้ 171 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พบค่า พบค่า PM10 อยู่ที่ 233 ส่วนค่า AQI วัดได้ 149      จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ ในวันที่ 22 มีนาคม 2557 พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 103 – 324 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรคุณภาพอากาศโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าเกือบทุกสถานี กรมควบคุมมลพิษขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตร การเผา ริมทาง และพื้นที่ป่า โดยหากมีความจำเป็นต้องเผาต้องขออนุญาตจาก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตปกครองท้องที่นั้นๆ ก่อนดำเนินการทุกครั้ง และต้องจัดทำแนวกันไฟและควบคุมไม่ให้ไฟลุกลามไปยังพื้นที่อื่นได้ และให้ดำเนินการทางกฎหมาย กับผู้ลักลอบเผา หรือขออนุญาตเผาแล้ว แต่ไม่จัดทำแนวกันไฟ หรือไม่ได้ควบคุมไฟให้อยู่ในพื้นที่ถือครองจนเป็นเหตุให้ไฟ ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นหรือลุกลามเข้าไปในเขตป่าโดยเฉียบขาด นอกจากนี้ ขอให้ประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และวิธีการป้องกันตนเองที่ถูกต้องให้กับประชาชนด้วย ข้อแนะนำด้านสุขภาพ: เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ และประชาชนทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุมหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวนหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูก ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อกันฝุ่นควันเข้าบ้าน ติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามข้อแนะนำจากภาคราชการและหากเกิดอาการเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์

 

 

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน


เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด

Spread the love

               จังหวัดเชียงใหม่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด โดยสั่งการให้ทุกอำเภอรายงานสถานการณ์ภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์

จังหวัดเชียงใหม่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2557 อย่างใกล้ชิด โดยสั่งการให้อำเภอทุกอำเภอรายงานสถานการณ์ภัยแล้งประจำทุกสัปดาห์  โดยข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2557 พบพื้นที่ประสบภัยแล้งในหมู่ที่ 1 – 18 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,157 ครัวเรือน และ พื้นที่อำเภอดอยเต่าทั้ง 6 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 9,709 ครัวเรือน

นายวิเชียร  พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้ง ปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติภัยแล้ง ห้วงระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2555 – 14 มิถุนายน 2556 รวม 21 อำเภอ 124 ตำบล 1,058 หมู่บ้าน ราษฎรประสบความเดือดร้อน 137,738 ครัวเรือน 361,317 คน ประกอบด้วย อำเภออมก๋อย จอมทอง สะเมิง แม่แจ่ม สันป่าตอง ฮอด กัลยาณิวัฒนา           ไชยปราการ หางดง สันกำแพง ดอยหล่อ แม่ออน แม่ริม เวียงแหง ดอยเต่า พร้าว ดอยสะเก็ด สารภี สันทราย เชียงดาว และ อำเภอแม่แตง

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ณ วันที่ วันที่ 3 มีนาคม 2557 ว่า ที่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำ 205.524 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 77.56 ของความจุเก็บกัก โดยมีปริมาณน้ำน้อยกว่า ปี 2556 จำนวน 60.48 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา      มีปริมาณน้ำ 109.066 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41.47 ของความจุเก็บกัก โดยมีประมาณน้ำมากกว่า ปี 2556 จำนวน 11.96 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง         ปี 2557 จังหวัดเชียงใหม่จึงได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ประจำปีงบประมาณ 2557 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งจัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด โดยให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนแจกจ่ายน้ำให้แก่ราษฎร ตามข้อมูลหมู่บ้านและชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการประสบปัญหาภัยแล้งที่ได้สำรวจไว้แล้ว และกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำ ณ สถานที่ที่สะดวกกับประชาชนในแต่ละหมู่บ้านและแบ่งพื้นที่เชียงใหม่ออกเป็น 5 โซน โดยกำหนดส่วนราชการที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนรถบรรทุกน้ำในพื้นที่ตามโซน รวม 5 โซน โดยมีหน่วยงาน ในโซน A และ โซน E เป็นหน่วยงานหลักขณะเกิดสถานการณ์วิกฤต ส่วนรายละเอียดการแบ่งโซน ประกอบด้วย

   โซน A จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอยสะเก็ด สันทราย เมืองเชียงใหม่ สันกำแพง และ แม่ออน  ให้อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่, เทศบาลนครเชียงใหม่, การประปาส่วนภูมิภาค, เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่

 โซน B จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสารภี หางดง สะเมิง สันป่าตอง แม่วาง และกัลยาณิวัฒนา    ให้อยู่ในความรับผิดชอบของมณฑลทหารบกที่ 33,  กองบิน 41, สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดเชียงใหม่, การประปาส่วนภูมิภาค, เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่

โซน C จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจอมทอง แม่แจ่ม ฮอด ดอยเต่า อมก๋อย และดอยหล่อ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาภาค 3, แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 1, การประปาส่วนภูมิภาค, เทศบาล-ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่

 โซน D จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ริม แม่แตง เชียงดาว และพร้าว  ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 1, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33, การประปาส่วนภูมิภาค, เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่

  โซน E จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไชยปราการ, เวียงแหง, ฝาง และอำเภอแม่อาย ให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 3, การประปาส่วนภูมิภาค,เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการเตรียมการด้านอื่น ๆ ว่า ได้จัดเตรียมกำลังคน สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ รถยนต์บรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ เครื่องมือเครื่องใช้ในการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งไว้ให้พร้อมใช้การได้ทันที มีการสำรวจตรวจสอบแหล่งน้ำ รวมทั้งภาชนะเก็บกักน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้อย่างเพียงพอและจัดทำบัญชีไว้เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำดังกล่าว มีการรวบรวมข้อมูลและประมวลข้อคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนการพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดตามลำดับความสำคัญ ดำเนินการขุดลอก คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำในหมู่บ้านและตำบลได้มากขึ้น มีการรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดหาภาชนะเก็บกักน้ำและใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคอย่างประหยัด ถูกวิธี       ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งทำความเข้าใจและแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยหรือพืชฤดูแล้ง ตลอดจนบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะของประชาคมตามที่ได้มีการจัดตั้งไว้แล้ว พร้อมทั้งแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญในการดูแลรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ คู คลอง หนอง บึง และภาชนะเก็บกักน้ำอื่น ๆ เพื่อให้มีน้ำอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้ง อีกทั้งพิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามแผนการพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดที่จัดทำไว้มาดำเนินการในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง       อย่างใกล้ชิด โดยได้สั่งการให้อำเภอทุกอำเภอรายงานสถานการณ์ภัยแล้งประจำสัปดาห์ โดยมอบหมายให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้รวบรวมรายงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2557 เป็นต้นมา สำหรับสถานการณ์ ภัยแล้งของจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2557 ได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งขึ้นในพื้นที่ หมู่ที่ 1 – 18 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,157 ครัวเรือน และพื้นที่อำเภอดอยเต่าทั้ง 6 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 9,709 ครัวเรือน

 

 

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน