วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

ฮือฮา ในโลกโซเชียลอีกแล้ว !!!

Spread the love

ฮือฮา ในโลกโซเชียลอีกแล้ว !!! 

 

พุทธวัชรยานที่พุทธไทยไม่ค่อยรู้
พุทธวัชรยาน(ตันตระ) กับ…เรื่องของพุทธโลกที่พุทธไทยไม่ค่อยรู้ : เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู

การกระทำที่ถือว่าเป็นการลบหลู่พระพุทธศาสนาของบุคคลบางกลุ่มในช่วงปัจจุบัน มักปรากฏให้เห็นผ่านโลกอินเทอร์เน็ตบ่อยครั้ง สำหรับผู้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต หากใส่คำว่า “yab yum” ลงในเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลและรูปภาพ จะได้เห็น “พระพุทธรูปที่มีหญิงสาวนั่งคร่อมบนตัก อยู่ในอาการกำลังเสพสังวาส” อาจทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทย รู้สึกโกรธว่า “เป็นการหมิ่นพระพุทธศาสนาอย่างสุดที่จะทนทาน และสาปแช่งว่า ใครหนอที่ใจบาปหยาบช้า ดูหมิ่นพระพุทธศาสนาได้ถึงขนาดนี้” ทั้งนี้กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) คงต้องทำงานหนักกว่าที่เป็นอยู่หลายพันเท่า

ภาพพระพุทธรูปที่มีหญิงสาวนั่งคร่อมบนตัก อยู่ในอาการกำลังเสพสังวาส นั้น อ.ราม วัชรประดิษฐ์ นักประวัติศาสตร์ด้านพุทธศิลป์ และสุดยอดแฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง บอกว่า ในความรับรู้ของคนทั่วไปนั้น “ลัทธิตันตระ” หรือ “ตันตริก” เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาแบบมหายานที่เผยแพร่อยู่ทั่วไปในทิเบต ภูฏาน และจีน ซึ่งจะมีการสร้างรูปเคารพในลักษณะแปลกประหลาดกว่าทางหินยานหรือเถรวาท เช่น มักผนวกเอาเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ให้ปรากฏในการสร้างพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระนางตาราอันเป็นชายาของพระโพธิสัตว์ จนบางกลุ่มถูกเรียกว่า “นิกายมนตรยาน” ก็มี

คำว่า “ตันตระ” (Tantra) หมายถึง ความรู้และการริเริ่ม ซึ่งจะให้ความสำคัญต่อการแสดงออกทางร่างกายในท่าทางต่างๆ ที่เรียกว่า “ปาง” เป็นสำคัญ ความเชื่อในตันตระนั้นเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคพระเวทของอินเดียโบราณ นอกจากการที่พราหมณ์จะรจนา คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท แล้วยังเพิ่มส่วนที่เรียกอาถรรพเวทขึ้นมาอีก ซึ่ง “อาถรรพเวท” นี่เองเป็นจุดกำเนิดของแนวคิดแบบตันตระ

เมื่อแนวคิดแบบตันตระก็จะเข้าไปปะปนอยู่กับลัทธินิกายต่างๆ ที่บูชาเทพเจ้า เช่น ไศวนิกาย ไวษณพนิกาย และศักตินิกาย โดยเฉพาะ “ศักตินิกาย” นั้นเป็นการเทิดทูนเทวสตรี เช่น พระแม่อุมา พระลักษมี พระสุรัสวดี เป็นใหญ่ ให้ความสำคัญต่ออิตถีเพศโดยการบูชา “โยนี” โดยเชื่อว่า เป็นสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตในจักรวาลควบคู่กับศิวลึงค์ ซึ่งพวกนับถือลัทธิศักตินั้น ได้นำเอาแนวคิดแบบตันตระเข้าไปปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น พวกทักษิณาจาริณ คือ ผู้บูชาเทพและเทวีอย่างสุภาพ ส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า วามาจาริณ คือ พวกบูชาเทพและเทวีด้วยการประกอบพิธีลับ เช่น พิธีกาฬจักรบูชา เพื่อสรรเสริญศักติของพระแม่อุมาในปางพระแม่กาลี และพระแม่ทุรคา โดยการบูชายัญด้วยเลือดของมนุษย์และสัตว์

นอกจากนี้ยังมีพิธีบูชาด้วยพรหมจรรย์ของหญิงสาวโดยเชื่อว่าเป็นการแสดงออกทางร่างกายให้ศักติโปรดปราน ซึ่งจะยึดหลัก ๕ ประการ ได้แก่ ๑.มัตยะ คือ การเสพรับเครื่องดองของเมา ๒.มังสะ คือ การบริโภคเนื้อสัตว์สดๆ ๓.มัสยา คือ การบริโภคเนื้อปลาสด ๔.มุทระ คือ การบริโภคข้าวโพด เมล็ดแป้งข้าวสาลีเพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย และ ๕.เมถุน คือ การเสพกาม

อ.ราม ยังบอกด้วยว่า เมื่อพุทธศาสนาเกิดข้อขัดแย้งแบ่งออกเป็น ๒ นิกาย ได้แก่ เถรวาทหรือหินยาน และอาจารยวาทหรือมหายาน แนวคิดแบบตันตระก็เข้าไปผสมผสานกับฝ่ายที่ปรับตัวอย่างเด่นชัดซึ่งก็คือพุทธแบบมหายาน ที่ให้ความสำคัญต่อเพศสตรี เช่น การนับถือเจ้าแม่กวนอิม การยกย่องพระนางปรัชญาปารมิตา การเคารพต่อพระชายาของพระโพธิสัตว์ต่างๆ ที่เรียกว่า “นางตารา” หรือ “นางโยคินี” ก่อให้เกิดการสร้างรูปเคารพสตรีจำนวนมากในนิกายพุทธแบบมหายาน

พุทธศาสนามหายานแบบตันตระนั้น ได้แยกออกเป็นนิกายหลายนิกาย เช่น นิกายวัชรยาน หมายถึง ชื่อเรียกรูปเคารพเพศชาย นิกายมนตรยาน ซึ่งเน้นหนักในเรื่องเวทมนตร์ไสยศาสตร์ คาถาอาคม ฯลฯ นอกจากนี้แล้วตันตระ ยังปรากฏเป็นนิกายย่อยๆ อีกมากมาย เช่น นิกายสหจยาน ซึ่งไม่เชื่อในการถวายสิ่งของให้เทพ หรือพระโพธิสัตว์ เชื่อมั่นในการบูชาด้วยร่างกาย อีกลัทธิหนึ่งคือ นิกายกาฬจักรายาน ซึ่งนับถือ ธรรมชาติ ดวงดาว โดยมีคัมภีร์ที่เน้นหนักไปทางด้านดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์โดยเฉพาะ เป็นต้น

เพื่อป้องการความไม่รู้และเข้าใจผิด อ.ราม แนะนำว่า “ความจริงแล้ววิธีการที่ถูกต้องควรจะรับทราบข้อมูลอันเกิดจากการรับรู้แบบใหม่จากทุกมุมโลก แล้วใช้วิธีคัดแยก เพื่อนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการเปิดความคิดและความรู้เพื่อนำไปสู่งานทางด้านวิชาการ และการปรับตัวของสังคมเพื่อให้ทันต่อกระแสโลก ซึ่งจะเป็นการก้าวไปสู่อนาคตของการปรับตัวในโลกสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบ”

เรื่องของพุทธโลกที่พุทธไทยไม่รู้

ภาพองค์ดาไลลามะ ผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ยกมือไหว้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อหลายปีที่แล้วมีการวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนิกชนชาวไทยว่า ท่านเป็นพระไม่ควรไปยกมือไหว้ฆราวาส แต่ในมุมมองของชาวพุทธมหายาน กลับไม่รู้สึกอะไร ด้วยเหตุผลที่ว่า “การไหว้เป็นวัฒนธรรมการทักทายแบบพุทธ” 

นพ.ดร.มโน เมตตานันโท เลาหวณิช อดีตที่ปรึกษาพิเศษในกิจกรรมพระพุทธศาสนา ในเลขาธิการใหญ่ องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติแห่งโลก (WCPR) และอาจารย์ประจำ มหาธรรมศาสตร์(วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์) บอกว่า เป็นเรื่องปกติที่พุทธศาสนิกชนทุกนิกายและทุกประเทศคิดว่าการปฏิบัติตามแนวทางการตนนั้นถูกต้องและเคร่งครัดที่สุด ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น และพระเกาหลี บางส่วน ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาก เช่น พระมีเมียได้ กินเหล้าได้และเรียกสาเกว่า น้ำแห่งปัญญา พระเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง (ตอนกลางวันใส่ชุดพระอยู่วัด ตอนเย็นไปอยู่กับลูกเมียที่บ้าน) วัดเป็นที่ทำงาน มีการแต่งงานระหว่างลูกของพระในนิกายเดียวกันโดยไม่ยอมรับนิกายอื่น

ส่วนพุทธศาสนาในศรีลังกาวัดเป็นของเอกชน พระสามารถตั้งพรรคการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้ง รับราชการ รวมทั้งดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ส่วนการฉันข้าว ๓ มื้อ เช่น เวียดนาม จีน ทิเบต โดยเรียกมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อที่ ๓ ว่า “เภสัช” แปลวว่า “มื้อยา” ส่วนการไหว้ที่แตกต่างนั้นต้องยกให้ พุทธนิกายมหายาน ในจีน พระจะไหว้ฆราวาสก่อนเสมอเมื่อพบกัน เพราะถือการไหว้เป็นการลดทิฐิมานะอย่างหนึ่ง

ทั้งนี้ นพ.ดร.มโนพูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “พระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพานแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด พระธรรมจักรของพระองค์นั้นมิได้หยุดนิ่งเลยมา ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว และปัจจุบันก็ยังหมุนอยู่ รูปแบบของศาสนานั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือ แรงศรัทธาของประชาชน การรู้จักศาสนาโดยเฉพาะความเชื่อของเราแต่เพียงอย่างเดียวนั้น อันตรายเสมอ ในขณะที่เราเชื่อว่าศาสนาของเราถูกต้องบริสุทธิ์ ชาวพุทธวัชรยาน เขาก็เชื่อเช่นเดียวกัน ใครเล่าจะเป็นผู้ตัดสินได้ว่าใครถูกใครผิด

ที่มา: คมชัดลึก

Yab-yum (Tibetan literally, “father-mother”)

is a common symbol in the Buddhist art of India, Bhutan, Nepal, and Tibet representing the male deity in sexual union with his female consort. Often the male deity is sitting in lotus position while his consort is sitting in his lap.

The symbolism is associated with Anuttarayoga tantra and, while there are various interpretations of the symbolism in the twilight language, the male figure is usually linked to compassion (karuna) and skillful means , while the female partner to ‘insight’

The symbolism of union and sexual polarity is a central teaching in Tantric Buddhism, especially in Tibet. The union is realised by the practitioner as a mystical experience within one’s own body.

Yab-yum is generally understood to represent the primordial (or mystical) union of wisdom and compassion. In Buddhism the masculine form is active, representing the compassion and skillful means (upaya that have to be developed in order to reach enlightenment. The feminine form is passive and represents wisdom (prajna), which is also necessary to enlightenment. United, the figures symbolize the union necessary to overcome the veils of Maya, the false duality of object and subject.

Yab-yum may also be represented through the aniconic signification of yantra and mandala.

In Tibetan Buddhism, the same ideas are to be found concerning the bell and the dorje, which, like the yab-yum, symbolize the dualism that must be exceeded. The sacred Tantric practice leads to rapid development of mind by using the experience of bliss, non-duality, and ecstasy while in communion with one’s consort.

Chakrasamvara-Vajravarahi.In Hinduism the yab-yum has a slightly different meaning. There, the embraced posture represents the divine strength of creation. The Hindu concept is the one of a passive masculine deity embracing his spouse called shakti, which represents his activity or power.

Heruka with VajravarahiThese figures are frequently worked in the shape of statues or reliefs, or are painted on thangkas.

SadhanaAs a tantric practice, Yab-yum is akin to the Kamamudra or “loveseal” (sometimes Karmamudra or “actionseal”) . This is the tantric yoga involving a physical partner. However, the aim of the practice is to control one’s sexual energy, and the most advanced forms of yab-yum practice are done mentally, without using a physical partner. Like all other yogas, it cannot be practiced without the basis of the inner heat yoga, tummo, of which kamamudra is an extension. This sadhana is subsumed within the Six Yogas. The iconography of Yab-yum and the maitri practice of Kamamudra engenders cognition of the upaya doctrine of interpenetration.

ที่มา : วิกิพีเดีย

http://www.photoontour.com/Misc_HTML/news/page/113.htm

สำนักข่าว

cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน