วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

อเมริกากับรัสเซียแย่งกันเป็นเจ้าอวกาศ

Spread the love

อเมริกากับรัสเซียแย่งกันเป็นเจ้าอวกาศ

สุดท้าย “จีน” เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่า

อวกาศ

 

การสำรวจอวกาศ คือการใช้วิทยาการด้านดาราศาสตร์และอวกาศเพื่อสำรวจและศึกษาห้วงอวกาศภายนอก การศึกษาอวกาศในทางกายภาพสามารถทำได้ทั้งโดยยานอวกาศที่ควบคุมโดยมนุษย์หรือโดยหุ่นยนต์   ประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวยอย่างอเมริกากับประเทศที่ไม่รวยจริงอย่างรัสเซีย พยายาม เกทับบลัฟแหลก  กันในเรื่องการสำรวจอวกาศมาตั้งแต่เมื่อ50กว่าปีก่อน แรกๆดูเหมือนเป็นการแข่งขันกันในด้านตัวบุคคล หรือนักวิทยาศาสตร์มากกว่า ว่าประเทศไหนจะมีคนเก่งมากกว่ากัน ในเรื่องความก้าวหน้าของการออกไปนอกโลก  ทั้งที่ในประเทศของแต่ละประเทศตอนนั้น แค่รถยนต์ยังทำไม่เข่าท่าสักเท่าใด

การเฝ้าสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า หรือที่เรียกว่าวิชาดาราศาสตร์ ได้กระทำกันมานานดังปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์       การใช้จรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาดใหญ่ที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้การสำรวจอวกาศในทางกายภาพมีความเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศเป็นผลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำยุครวมถึงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความอยู่รอดในอนาคตของมนุษย์ชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ในทางทหารหรือทางกลยุทธ์ที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในบางครั้งจึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงประโยชน์ของการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและความปลอดภัย

การสำรวจอวกาศเป็นประเด็นการแข่งขันที่สำคัญระหว่างขั้วอำนาจ เช่นในระหว่างสงครามเย็น การสำรวจอวกาศยุคใหม่ช่วงแรกเป็นการแข่งขันกันระหว่าง2ประเทศคือรัสเซีย กับสหรัฐอเมริกาก็จริง แต่ก็ยังพบข่าวการทดลองอะไรที่เกี่ยวกับอวกาศของนักวิทยาศาสตร์อินเดีย จีน ญี่ปุ่น บ่อยครั้ง แต่แล้ว ผลที่ออกมากลายเป็นว่า  ประวัติศาสตร์กับบันทึกว่านาซีเยอรมันส่งจรวด V-2 ขึ้นไปสู่อวกาศได้เป็นชาติแรกก่อนอเมริกาและรัสเซียเสียอีก

 

แข่งกันไปแข่งกันมา พอเวลาเอาจริง รัสเซียก็ชนะอเมริกาตรงที่สร้างยานอวกาศแต่ไม่มี่คนไปกับยานออกไปโคจรรอบโลกได้เป็นครั้งแรกFโดยดาวเทียมสปุตนิก 1  เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 (อยากทราบว่า พ.ศ.เท่าใด เอา 543 บวกเข้าไปครับ)

แค่เดือนเดียว วันที่ 3 พฤศจิกายน 1957  รัสเซียบุกหนัก  ส่งยานอวกาศ สปุตนิก 2 ออกไปท่องจักรวาล ครั้งนี้ส่งสุนัขชื่อ ไลก้า ไปกับยานอวกาศครับ เป็นประวัติศาสตร์ของจักรวาลที่ สุนัข ออกไปนอกโลกได้ก่อนคน    และพอปี 1961 คราวนี้รัสเซีย ส่งคน ชื่อ   ยูริ กาการิน เป็นมนุษย์อวกาศคนแรกของโลก  ไปกับยานอวกาศ   ภายใน 5 ปี รัสเซียออกนำหน้าอเมริกาไปห่างทีเดียว

ถึงจะออกนอกโลกทีหลัง แต่อเมริกาก็เอาชนะรัสเซียตรงที่ส่งคนไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ได้ก่อน  การพิชิตดวงจันทร์เป็นครั้งแรกโดยยานอพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 นะครับ ต้องแทรกตรงนี้หน่อย ประเดี๋ยวแฟนๆอเมริกาจะโมโห

สำหรับการทดลองต่างๆนั้นที่สำคัญๆ วันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1959 รัสเซียได้ประดิษฐ์ดาวเทียม”ลูน่า1″และได้ส่งมันขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้มันเข้าพุ่งชนพื้นผิวดวงจันทร์ และนำข้อมูลของพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกแต่ประสบความล้มเหลวเนื่องจากดาวเทียมลูน่า1ได้หลุดไปโคจรรอบดวงอาทิตย์แทน

วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1959 หลังจากลูน่า1ประสบความล้มเหลวรัสเซียได้ประดิษฐ์”ลูน่า2″และได้ส่งมันขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งโดยคราวนี้พุ่งชน พื้นผิวของดวงจันทร์ได้สำเร็จและนำข้อมูลกลับมายังโลกเป็นครั้งแรกของโลกที่ดาวเทียมไปถึงพื้นผิวของดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลก

ค.ศ. 1964 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานสำรวจอวกาศชื่อว่า”มารีเนอร์4″ไปสำรวจดาวอังคารและถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารกลับมายังโลก ซึ่งทำให้รู้ว่าดาวอังคารมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากเช่นเดียวกับดวงจันทร์และพบปากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก

และวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานอพอลโล11พร้อกับนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่ได้เหยียบ พื้นผิวของดวงจันทร์

ปี ค.ศ. 1971 รัสเซีย ได้ส่งยานสำรวจอวกาศ”มาร์3″ลงจอดบนดาวอังคารเพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นผิว อุณหภูมิ ภูมิศาสตร์ ชั้นบรรยากาศ รวมถึง สนามแม่เหล็กบนดาวอังคาร

ปี ค.ศ. 1971 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานมารีเนอร์9ไปสำรวจดาวอังคารอีกครั้งและพบ ภูเขาไฟ น้ำแข็งที่ขั้วดาว และตรวจพบดาวบริวารของดาวอังคาร2ดวงซึ่งได้รับการตั้งชื่อ ในเวลาต่อมาว่า”โฟบอส”และ”ดีมอส”

ปี ค.ศ. 1975 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานไวกิ้ง1ไปดาวอังคารพร้อมกับได้ส่งยานไวกิ้ง2ตามไป เพื่อสำรวจพื้นผิวหุบเขา ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 รัสเซีย ส่งสถานีอวกาศที่ชื่อ  เมียร์ออกไปโคจรรอบโลกได้สำเร็จ มีการทดลองและสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมายซึ่งเป็นสถานีอวกาศสถานีแรกของโลก

ปี ค.ศ. 1997 สหรัฐอเมริกาได้ปล่อยหุ่นยนต์สี่ล้อชื่อ”โซเจอร์เนอร์”จากยานพาทไฟน์เดอร์ลงสู่พื้นผิวดาวอังคารข้อมูล ถ่ายภาพ วิเคราะห์ส่วนประกอบของ หิน และ ดินบนดาวอังคารส่งกลับมายังโลก

นี่เป็นข้อมูลสำคัญๆที่ค้นคว้ามาจากตำราทางวิชาการ เพื่อจะบอกเล่าให้ท่านผุ้อ่านได้ทราบว่า50กว่าปีที่ผ่านมา ประเทศมหาอำนาจต่างๆไม่ว่ารัสเซีย อเมริกา  อินเดีย ญี่ปุ่น จีน ต่างก็ทุ่มเทเงินงบประมาณมากมายมหาศาลเพื่อพิชิตอวกาศ และเป้าหมายที่เราคิดกันตลอดมาคือ หนทางที่จะส่งคนธรรมดาที่จะล้นโลก ออกไปอยุ่ยังโลกใหม่ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอกหลายร้อยปี จนผู้เขียนอย่างผมตายไปแล้ว เราก็ยังมีคงวามหวังว่า มนุษย์ น่าจะอพยพไปอยุ่โลกอื่นได้ หากว่า การสำรวจพบปัจจัยที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้บนโลกอื่น

                        แต่เมื่อไม่กี่วัน กลับพบข่าวว่า จีน มีวิสัยทัศน์กว้างไกลกว่า

                         ท่านลองอ่านบทความนี้ก่อน

สุดขอบโลกใช่จะหยุดยั้งความใฝ่ฝันของมนุษยชาติได้และในยุคที่โลกมีทรัพยากรร่อยหรอลงไปจากการบริโภคอย่างตะกละตะกลามของมนุษย์ทำให้ห้วงอวกาศและดวงดาวต่างๆกลายเป็นจุดหมายใหม่ในการขุดค้นหาทรัพยากรมาป้อนอุตสาหกรรมต่างๆบนโลกใบนี้

ไม่ใกล้ไม่ไกลไปจากโลกเบี้ยวๆใบนี้ก็มีดวงจันทร์ดาวบริวารของโลกที่อยู่ใกล้ที่สุดจึงกลายเป็นฐานการศึกษาและอาจจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่ใกล้โลกที่สุดก็เป็นได้ดังนั้นรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจทางอวกาศของโลกจึงส่งยานสำรวจไปสำรวจดวงจันทร์กันหลายต่อหลายครั้งตั้งแต่โครงการอะพอลโลขององค์การนาซาสหรัฐอเมริกาจนถึงยานเฉิงเอ๋อของรัฐบาลจีนที่ส่งขึ้นไปสำรวจ

ทรัพยากรบนดวงจันทร์และจะนำตัวอย่างกลับมายังโลกเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ความคุ้มค่าและปัจจัยอื่นๆเพื่อการทำเหมืองบนดวงจันทร์

ในเวลานี้ยานสำรวจดวงจันทร์เฉิงเอ๋อ3 ของจีนกำลังตื่นขึ้นมาจากการหลับ (Hibernation) ที่ทำให้ยานประหยัดพลังงานเพื่อรอปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงจันทร์ด้วยการใช้สเปคโตรกราฟิกหรือการสำรวจพื้นผิวโดยการตรวจวัดคลื่นแสงและการเจาะพื้นผิวด้วยคลื่นเรดาร์เพื่อประเมินสภาพเบื้องล่างโดยยานลำนี้จะทำงานร่วมกับยานฉางเอ๋อ5 ที่จะนำตัวอย่างจากดวงจันทร์ที่ยานฉางเอ๋อ3 เก็บขึ้นมาส่งกลับมายังโลกเพื่อตรวจหาธาตุฮีเลียม-3

เหตุผลที่จีนต้องการค้นหาฮีเลียม-3 นั่นคือการสร้างความมั่นคงทางพลังงานนั่นเองเพราะฮีเลียม-3 เป็นไอโซโทป (Isotope) ของฮีเลียม (He) แต่มีนิวตรอนมากกว่าฮีเลียมและเป็นธาตุที่มีความเสถียรทั้งยังนำมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้ระบบ “ฟิวชั่น” (Fusion) หรือการหลอมรวมของธาตุตั้งต้นเพื่อปลดปล่อยพลังงานที่อยู่ในพันธะเคมี (Chemical Bond) ที่มีอยู่มหาศาลออกมาและนำไปใช้ผลิตไฟฟ้า

ข้อดีของการใช้ฮีเลียม-3 ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าคือตัวฮีเลียม-3 ไม่ก่อให้เกิดกัมมันตรังสีไม่มีอันตรายเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิชชั่น (Fission) ที่ใช้การยิงอะตอมเพื่อทำลายพันธะเคมีของธาตุกัมมันตรังสีที่ใช้เป็นธาตุตั้งต้นในการผลิตพลังงานไฟฟ้าดังเช่นที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลในยูเครนและโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ-ไดอิจิในญี่ปุ่น

นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าฮีเลียม-3 มีการสะสมตัวอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์จำนวนมหาศาลพอเพียงที่จะนำมาใช้ผลิตพลังงานในโลกได้นานกว่า1 หมื่นปีจากการพัดพาของลมสุริยะที่ส่งฮีเลียม-3 มาสะสมตัวอยู่บนดวงจันทร์ขณะที่โลกนั้นมีสนามแม่เหล็กที่หนาแน่นกว่าทำให้ธาตุสำคัญชนิดนี้เข้ามาถึงพื้นผิวโลกได้ไม่มากนัก

ความเป็นไปได้ในการทำเหมืองฮีเลียม-3 บนดวงจันทร์ขึ้นอยู่กับตัวอย่างที่ยานเฉิงเอ๋อ5 ของจีนจะนำกลับมายังพื้นโลกและหากมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนเชื่อว่ามหาอำนาจอย่างจีนและนานาประเทศที่มีศักยภาพในด้านกิจการอวกาศคงตามก้นจีน นำทรัพยากรจากต่างดาวมาใช้บนโลกใบนี้อย่างแน่นอน

                        เห็นไหมครับ  ในขณะที่เราคิดกันแต่ว่า จะอพยพผู้คนไปสร้างถิ่นที่อยู่ใหม่บนโลกอื่น แต่จีนกลับคิดจะนำเอาพลังงานจากโลกอื่นหรือดาวดวงอื่นมาใช้บนโลกเรา โดยคิดไปทำเหมืองฮีเลี่ยมบนดาวอื่น(ดวงจันทร์) ทำแล้วส่งยานอวกาศไปขนกลับมาใช้งานบนโลกซึ่งมีความเป็นไปได้มากกว่า

                              ผมต้องนับถือจีนจริงๆละครับ แม้ว่านักท่องเที่ยวบ้านเขาจะมารุงรังรกหูรกตาคนบ้านเราก็ตาม

 

อรุณ  ช้างขวัญยืน  /  รายงาน………….

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ