วันอังคาร, 23 เมษายน 2567

สํญญาฯแรงประมูลทีวีดิจิตอล ธุรกิจควักเงิน

13 พ.ค. 2013
167
Spread the love

สํญญาฯแรงประมูลทีวีดิจิตอล ธุรกิจควักเงิน

                รอลุ้นกันอยู่นาน สำหรับผู้ประกอบการที่เฝ้าติดตามการประมูลทีวีดิจิตอล ว่าจะเริ่มต้น “ราคา”  เท่าไร  ล่าสุดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้เคาะตัวเลขราคาเบื้องต้นออกมาให้ผู้ประกอบการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา   และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ

                          นักวิชาการจาก “ฐานเศรษฐกิจ” พบว่าราคาที่ออกมาดังกล่าวนั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในแง่ของราคาอาจจะเป็นเรื่องดี  แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้อุตสาหกรรมสื่อทีวีเกิดการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจะทำให้มีผู้ประกอบการรายเล็กอีกจำนวนมากตามเข้ามาในการประมูล ครั้งนี้มากขึ้น
เมื่อย้อนไปในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา กสทช. ได้จัดสูตรการจัดช่องทีวีดิจิตอลใหม่ โดยจัดสรรช่องรายการออกเป็น “3-7-7-7”   แทนที่สูตรเดิม “5-5-10-4”  ซึ่งสูตรดังกล่าวหมายถึง  ช่องเด็กและเยาวชน ถูกปรับลดลงเหลือ 3 ช่องจากเดิม 5 ช่อง , ช่องข่าว ปรับเพิ่มเป็น 7 ช่องจากเดิม 5 ช่อง , ช่องรายการทั่วไปลดลงเหลือ 7 ช่องจากเดิม 10 ช่อง และช่องเอชดีเพิ่มขึ้นเป็น 7 ช่องจากเดิม 4 ช่อง

alt

การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น กสทช.ได้ออกมาให้ความเห็นว่าช่องเอชดี และช่องรายการข่าว เป็นช่องที่มีผู้ประกอบการให้ความสำคัญเป็นจำนวนมาก แต่การประมูลดังกล่าวก็มีข้อกำหนดเช่นกัน  คือ ห้ามผู้ประกอบการที่ประมูลช่องเอชดี จะไม่สามารถประมูลช่องข่าวได้ขณะที่ผู้ประมูลช่องข่าวก็ไม่สามารถประมูลช่อง เอชดีได้เช่นกัน   สูตรใหม่นี้ ยังส่งผลกระทบหนักไปยังผู้ประกอบการรายเล็กและผู้ที่จะเข้าประมูลช่องเด็ก เนื่องจากมีสัดส่วนช่องน้อยลงขณะที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจำนวนมาก จึงเป็นอีกช่องที่น่าจับตามองถึงการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น
++ ไขปริศนา “ราคา” ตั้งต้น  
นายไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการทีมวิจัยศึกษามูลค่าคลื่นความถี่ทีวีดิจิตอล กล่าวถึงที่มาของ “ตัวเลข”  ราคาเริ่มต้นการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การคำนวณตัวเลขราคาเริ่มต้นการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทช่องธุรกิจนั้นมาจาก กระแสรายรับและรายจ่ายของอุตสาหกรรมสื่อทีวีดิจิตอล 24 ช่อง ว่าจะมีกระแสรายรับ-รายจ่ายเท่าไร เมื่อได้ต้นทุนแล้วจะคูณระยะเวลา 15 ปี (เวลาการรับใบอนุญาต) หลังจากนั้นคิดส่วนเกินรายรับ-รายจ่าย ออกมาได้เท่าไรคือมูลค่าในปัจจุบัน
ขณะเดียวกันในแง่ของมูลค่าราคาค่าโครงข่ายต้องขึ้นอยู่กับเกณฑ์มัสต์แคร์รี ได้หรือไม่ หากมัสต์แคร์รีได้ก็จะมีราคาแพงหน่อย (เนื่องจากระบบจะยิงสัญญาณขึ้นดาวเทียม และเกิดการแย่งกันใช้) ซึ่งในเบื้องต้นราคาเดิมที่เคยคำนวณไว้ราคาโครงข่ายจะอยู่ที่ประมาณ 60 ล้านบาทต่อปี สำหรับช่องความคมชัดมาตรฐาน(SD) แต่เมื่อเปลี่ยนสูตรใหม่ต้องทำให้ตัวเลขดังกล่าวเปลี่ยนไปด้วย โดยตัวเลขอาจจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นต้องรอดูปัจจัยหลายด้าน ขณะที่ช่องความคมชัดสูง (HD) อาจจะต้องคูณราคาโครงข่ายดังกล่าวไปอีก 3 เท่า เนื่องจากคุณภาพหรือคลื่นที่ได้รับมามากกว่า 3 เท่า เช่น 60×3 = 180 ล้านบาทต่อปี (ตัวเลขดังกล่าวเป็นการคำนวณคร่าวๆ)
++ กสท.เคาะราคาต่ำกระตุ้นการแข่งขัน
การเคาะราคาเริ่มต้นการประมูลช่องทีวีดิจิตอลของกสท.  นั้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลเบื้องต้น โดยปรับขึ้นจากราคาทีมวิจัยศึกษามูลค่าคลื่นความถี่ทีวีดิจิตอลนำเสนอก่อน หน้านี้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ดังนี้ ช่องรายการความคมชัดสูง (HD)  ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท ปรับขึ้นจากทีมวิจัย ซึ่งนำเสนอที่ 1,507 ล้านบาท ช่องรายการความคมชัดมาตรฐาน (SD)  ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท ปรับขึ้นจากราคา 374 ล้านบาท  ช่องข่าว ราคาเริ่มต้น 220 ล้านบาท ปรับขึ้นจากราคา 211 ล้านบาท และช่องเด็ก ราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท ปรับขึ้นจากราคา 134 ล้านบาท ซึ่งจากการคำนวณตัวเลขทั้งหมดของมูลค่าคลื่นทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง คิดเป็นมูลค่ารวม 15,190 ล้านบาท
โดยพ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  กล่าวว่า ราคาที่กำหนดออกมาดังกล่าวเป็นราคาที่กสท.ยอมรับได้   และกสท.ได้นำมาปรับอีกครั้ง  ขณะที่ราคาจริงจะเป็นเท่าไรนั้นคงขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน  โดยหลังจากนี้จะนำราคาดังกล่าวนำเข้าสู่ที่ประชุมกสทช. และนำไปสู่กระบวนการร่างประชาพิจารณ์ต่อไป
นอกจากนี้ยังนำเสนออัตราการที่ผู้ร่วมประมูลจะต้องเคาะราคาทุกครั้ง  ซึ่งช่องเด็ก เคาะเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 ล้านบาท ช่องข่าว เคาะเพิ่มขึ้นครั้งละ 2 ล้านบาท  ช่องวาไรตี (SD) เคาะเพิ่มขึ้นครั้งละ 5 ล้านบาท และช่องวาไรตี (HDX  เคาะเพิ่มขึ้นครั้งละ 10 ล้านบาท  โดยผู้เข้าประมูลแต่ละรายมีสิทธิ์ประมูลได้ไม่เกิน 3 ช่อง ยกเว้นผู้ที่ประมูลช่อง HD ห้ามประมูลช่องข่าว
++ เล็งแจกคูปอง 690 บาท
นอกจากนี้หลังจากที่ได้เงินการประมูลดังกล่าวทั้งหมดมา กสทช.จะนำเงินมาหารจำนวน 22 ล้านครัวเรือน ซึ่งจะเท่ากับ 690 บาท จัดทำเป็นคูปองแจกให้กับประชาชน  เพื่อนำไปซื้อโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณ (Set Top Box) ที่มีจูนเนอร์ระบบ DVB T2 แต่ราคาดังกล่าวอาจจะยังไม่เพียงพอ  และต้องรอให้ถึงกระบวนการที่มีเงินสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวก่อนในภาย หลัง   ส่วนการให้ใบอนุญาตโครงข่าย  ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการคาดว่ารายละเอียดจะแล้วเสร็จภายในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายนนี้  พร้อมทั้งคาดว่าการประมูลจะเริ่มต้นเร็วสุดในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน  แต่สำหรับสัปดาห์หน้าหากหลักเกณฑ์และราคาประมูลไม่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบขอ งกสทช.  จะทำให้การเริ่มต้นประมูลต้องล่าช้าไปอีก 1 เดือน (ประมูลช่องสูงสุด)
++ เตรียมโรดโชว์ฟังความคิดเห็น
ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  กล่าวว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลดังกล่าวที่ออกมานั้น ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นตัวเลขสุดท้ายหรือไม่  เพราะต้องนำไปสู่กระบวนการขั้นตอนการประชุมบอร์ดกสทช.และประชาพิจารณ์ก่อน  ซึ่งหากเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็ต้องนำมติดังกล่าวมาปรับสูตรใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มติดังกล่าวสมบูรณ์และพึงพอใจทุกฝ่าย
โดยในช่วงไตรมาส 3 หรือ 4 ก่อนจะประมูลทีวีดิจิตอล กสท.วางแผนเดินหน้าโรดโชว์ผู้ประกอบการสื่อทีวีในประเทศและนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญสื่อด้านนี้ทั้งหมดเพื่อเข้าหารือแสดงความคิดเห็น โดยเร่งให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดก่อนการประมูล
“ตัวเลขที่ออกมาเหมือนเป็นการโยนหินถามทาง เพื่อหาทางเดินที่ถูกต้อง ซึ่งหลังจากนี้กสท.จะต้องดำเนินงานจัดการเสวนาประชุมผู้ประกอบการในประเทศ  ขณะเดียวกันราคาที่ออกมาคาดว่าเป็นราคาที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าประมูลได้  เนื่องจากกสท.ต้องการผลักดันการประมูลให้เกิดการแข่งขัน และมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เพราะหากมีจำนวนผู้เล่นน้อยรายหรือพอดีกับช่องอาจจะทำให้เกิดการฮั้วการ ประมูลได้”
นอกจากนี้ภายใน 3-5 ปีข้างหน้ามีความมั่นใจว่าทิศทางของสื่อออนไลน์จะมาแรงโดยอาจจะแซงสื่อหลัก อย่างทีวีได้  เพราะทิศทางโลกในปัจจุบันก็เดินไปแบบนั้น  หรือบางประเทศในขณะนี้ก็เกิดกรณีการซื้อคลื่นกระจายเสียง มาเพิ่มคลื่นโทรคมนาคมแล้ว  หากดูที่ประเทศไทยแม้ปัจจุบันสื่อหลักยังเป็นทีวี แต่หากต่อไปสื่อทีวีไม่มีการพัฒนาคอนเทนต์ หรือสร้างความสนใจให้กับประชาชน ประชาชนก็อาจไปพึ่งสื่อออนไลน์ซึ่งสามารถดูรายการต่างๆที่พวกเขาสนใจก็เป็น ได้  ขณะเดียวกันในแง่ของทีวีสาธารณะทางกสท.ก็จะดำเนินการเดินหน้าต่อไปเพื่อให้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามบิวตี้คอนเทสต์ที่วางไว้
++ นักวิชาการชี้ ผู้ประกอบการอย่ารีบร้อน
ผศ.ดร.ทัณฑกานต์  ดวงรัตน์ คณบดีนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  และนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย  กล่าวแสดงความคิดเห็นว่าสำหรับราคาที่ออกมาดังกล่าว เป็นราคาที่ลดลงจากการประเมินไว้ในช่วงที่ผ่านมา  ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นในแง่ของผู้ประกอบการ  แต่อยากให้ผู้ประกอบการต่างๆชะลอกันไว้สักนิด  อย่าคิดเพียงแค่อยากได้ช่องทีวีมาไว้ครอบครอง  เพราะนี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของต้นทุนต่างๆที่จะตามมา เช่น ค่าโครงข่าย  ค่าทำคอนเทนต์  ค่าจ้างบุคลากร เป็นต้น   พร้อมทั้งมองว่าในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีแรกผู้ประกอบการจะต้องอยู่ในช่วงภาวะการขาดทุน เนื่องจากต้องเรียนรู้ระบบดังกล่าว และการจับเทรนด์ในตลาด
อีกทั้งอยากให้นึกถึงสื่อทีวีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  แม้ปัจจุบันยังคงเป็นสื่อกระแสหลัก  แต่เมื่อเกิดช่องจำนวนมากขึ้น  สื่อดังกล่าวก็จะถูกลดบทบาทลงไป และกลายเป็นสื่อกระแสรองได้ในอนาคต  เพราะปัจจุบันสื่อออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น  ซึ่งต่อไปสื่อประเภทนี้จะกลายเป็นสื่อกระแสหลักหลังจากนี้ภายใน 3-4 ปี  ขณะเดียวกันมองว่าการเพิ่มราคาตั้งต้นการประมูลช่องเด็กมากขึ้นจากเดิมนั้น ไม่เป็นธรรม  เนื่องจากกลุ่มนี้เคยถูกลดช่องแล้วก็ไม่ควรเพิ่มราคาอีกทั้งช่องนี้ยังมี สปอนเซอร์เข้ามาน้อย
++ ติงการแจกใบอนุญาตทีวีสาธารณะ
ขณะเดียวกันในด้านของทีวีดิจิตอลประเภทช่องสาธารณะก็ยังไม่จบสิ้น เพราะก่อนหน้าวันที่ กสท. จะเคาะราคาตัวเลขประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจออกมา ผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรสื่อภาคประชาชนและนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน  ภายใต้ชื่อ คณะทำงานติดตาม กสทช. (NBTC Watch)ได้ยื่นข้อเสนอต่อกสทช. และสาธารณะ ดังต่อไปนี้  1.  กสทช.  ควรออกใบอนุญาตการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกและใบอนุญาตการให้บริการโครง ข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ก่อนเปิดรับคำขอใบอนุญาตการจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
2. การพิจารณาให้ใบอนุญาตการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการ สาธารณะ ต้องมีหลักเกณฑ์การประกวดเพื่อคัดเลือกผู้รับใบอนุญาตที่มีความเป็นธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้ และเป็นไปตามเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ ดังนี้  2.1. ความเหมาะสมของโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กร 2.2. ความเหมาะสมของแผนหรือแนวทางในการจัดทำผังรายการและรูปแบบในการผลิตเนื้อหา รายการ  2.3. ความเหมาะสมของแผนหรือแนวทางในการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือเงินสนับสนุนการ ดำเนินการ  2.4. ความเหมาะสมของแนวทางหรือกลไกในการติดตามตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกองค์กร  2.5. ความเหมาะสมของแผนความพร้อมด้านเทคนิคและกระบวนการผลิตเนื้อหารายการ
3. การออกหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการ สาธารณะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 28 ใน พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป และเกี่ยวข้องกับการแข่งขันในการประกอบกิจการ หรือมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ  หรือหากกสทช. ยังยืนยันเดินหน้าให้ใบอนุญาตโดยปราศจากหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนโปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้และไม่เปิดโอกาสให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นส่วน รวมของผู้ได้รับผลกระทบอย่างรอบด้านก็จะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อ ประโยชน์สาธารณะโดยรวม อันอาจนำไปสู่การฟ้องร้องในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้

ขอบคุณที่มา http://www.thanonline.com

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ