วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ แนะคาถา 5 ย. ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

Spread the love

สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ แนะคาถา 5 ย. ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมเตือนประชาชนหากถูกสุนัขและแมว กัดหรือข่วน ขอให้รีบทำความสะอาดแผล แล้วไปพบแพทย์ทันที
นางสุธีรัตน์ มหาสิงห์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เนื่องจากในช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งอากาศที่ร้อนอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้สัตว์หงุดหงิดง่าย ประกอกับเป็นช่วงปิดเทอม เด็กที่เล่นกับสุนัขจึงมีโอกาสถูกกัดได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นสุนัขในบ้านที่ได้รับวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม อาจได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากที่สุนัขของตนเองไปเล่นกับสุนัขจรจัดนอกบ้านได้ โดยแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้สุนัขกัดหรือทำร้าย ด้วย คาถา 5 ย. ได้แก่ “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแย่ง อย่าหยิบ อย่ายุ่ง” 1.) อย่าเหยียบ บริเวณลำตัว ขา หรือหางของสัตว์ 2.) อย่าแยก สัตว์ที่กำลังกัดกัน 3.) อย่าแหย่ สัตว์เพราะอาจโดนข่วนหรือกัดได้ 4.) อย่าหยิบ อาหารขณะสัตว์กำลังกิน 5.)อย่ายุ่ง กับสัตว์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า
ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมปศุสัตว์รายงานว่า ปี 2561 จังหวัดที่พบสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร กาฬสินธ์ และอำนาจเจริญ ตามลำดับ โดยสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2561 นี้ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย ที่ จังหวัดสุรินทร์ สงขลา และตรัง ซึ่งทั้ง 3 รายไม่ไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนในปี 2560 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 11 ราย จากการสอบสวนโรค พบว่าเมื่อถูกสุนัขกัดส่วนใหญ่ล้างแผลเองที่บ้าน ร้อยละ 82 ไปรักษาที่สถานพยาบาลเพียงร้อยละ 18 โดยสุนัขที่กัดเกือบครึ่งหนึ่งเป็นสุนัขจรจัด และพบว่าไม่มีประวัติหรือไม่ทราบการได้รับวัคซีนถึงร้อยละ 89.7
อย่าไรก็ตาม ขอให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกัน โดยเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงสุนัข-แมวในจำนวนที่พอเหมาะ คุมกำเนิดด้วยการทำหมัน พาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี เลี้ยงในบริเวณบ้าน อย่าปล่อยออกไปนอกบ้านโดยไม่ดูแล เพราะหากถูกหมาบ้ากัดก็อาจติดโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงเมื่อประชาชนถูกสุนัขแมวกัดหรือข่วน ให้รีบล้างแผลโดยใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างบริเวณบาดแผลหลายๆ ครั้งอย่างเบามือ ใส่ยา โดยทาหลังจากการล้างแผลและซับให้แห้ง กักหมา 10 วัน จากนั้นให้รีบมาพบแพทย์เพื่อพิจารณาการตัดสินใจรับวัคซีนหรือไม่ และต้องมาฉีดวัคซีนให้ครบตรงตามนัดทุกครั้ง ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้ารักษาไม่หายแต่สามารถป้องกันได้ด้วยตนเอง


สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เตือนประชาชนให้ป้องกันตนเองจากมลพิษหมอกควันและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน

Spread the love

              สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เตือนประชาชนให้ป้องกันตนเองจากมลพิษหมอกควันและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน

 

วันนี้ 21 มีค. 2556 นายแพทย์วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเตือนประชาชน ให้ป้องกันตนเองจากมลพิษหมอกควันและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ว่า หากจำเป็นต้องออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้ง ให้สวมใส่เสื้อแขนยาว แว่นตา และหน้ากากอนามัยโดยซ้อนกระดาษทิชชู 2 ชั้น ลดการสูดฝุ่นละอองสะสมในปอด และกันการระคายเคืองผิวหนัง และระคายเคืองเยื่อบุตา
ที่รร.ยุพราชเกินกว่า 210 ไมโครกรัม/ลบม. ที่ศาลากลาง วัดได้ 185 ไมโครกรัม/ลบม. ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ในเบื้องต้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้แจ้งไปยัง รพสต.(สถานีอนามัยเดิม)ทุกแห่งให้แจกหน้ากากอนามัยผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด และโรคเรื้อรัง ยอดจำนวนหน้ากากอนามัยที่สนับสนุนเบื้องต้นแก่ทุกหน่วยบริการ 50000 ชิ้น และยังมีสำรองอีกจำนวนหนี่ง
รวมทั้ง อสม.ทุกหมู่บ้านได้ออกเคาะประตูบ้านสอบถามอาการ ภกลุ่มโรคที่อาจเกิดจากภาวะมลพิษหมอกควัน เพื่อประสานขอความช่วยเหลือจาก รพสต.ในพื้นที่และรายงานสถานการณ์ทุกวัน

 

 

สำนักข่าว

cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน


สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มอบเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับอสม.

28 พ.ย. 2012
284
Spread the love

สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มอบเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับอสม.

สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มอบเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับอสม.

 

สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มอบเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับอสม. จ.เชียงใหม่ พร้อมมอบโล่เกียรติคุณหมู่บ้านต้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งและโล่เกียรติคุณโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติประจำปี 2555

เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2555 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเวียงพิงค์ สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่

นายวัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการมอบเครื่องวัดความดันฯและมอบโล่

โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางสำนักงานสาธารณสุขจ.เชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดสรรเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) สำหรับเป็นเครื่องมือให้ อสม.เชียวชาญที่ได้รับการอบรมโดยสำนักงานสาธารณสุขจ.เชียงใหม่ไปแล้วในปีงบประมาณ 2555 ซึ่งกระจายอยู่ในทุกหมู่บ้านอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน ให้สามารถดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นได้อย่างทั่วถึง ภายใต้โครงการ สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย โดยจ.เชียงใหม่มี อสม.ทั้งสิ้น 34,604 คน ที่กระจายอยู่ทั้ง 2,120 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 25 อำเภอ โดยจะรับการจัดสรรโครงวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ละ 1-3 เครื่อง ตามเกณฑ์จำนวนหลังคาเรือนโดยหลังคาเรือนต่ำกว่า 200 หลังคาเรือนได้รับการจัดสรร 1/หมู่บ้าน,หลังคาเรือน 201-800 หลังคาเรือน ได้รับการจัดสรร 2 เครื่อง/หมู่บ้าน และหลังคาเรือน 801 หลังคาเรือนขึ้นไปได้รับการจัดสรร 3/หมู่บ้าน

การจัดสรรเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลสำหรับอสม.ครั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจ.เชียงใหม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบิการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลจำนวน 4,217 เครื่อง โดยการสนับสนุนครั้งนี้คาดว่าจะทำให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองโรคอย่างทั่วถึง และในปีต่อไปกระทรวงสาธารณสุขจะมีการจัดสรรอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นๆสำหรับอสม.อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ อสม. ได้ปฏิบัติงานในการคัดกรองโรควิถีชีวิตไทย 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง หัวใจ และหลอดเลือดสมอง ที่เป็นปัญหาคุกคามสุขภาพของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

สำหรับการมอบโล่เกียรติคุณหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โดยความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับโล่เกียรติคุณโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2555 นั้น ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการเจ็บปวดและเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ทางสำนักงานสาธารณสุขจ.เชียงใหม่ได้ดำเนินโรงการหมู่บ้านชุมชนต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเรื้อรัง จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2555

ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหมู่บ้านที่มีปัจจัยเอื้อ ได้แก่ มีลานกีฬาหรือสถานที่ในการออกกำลังกายและมีพื้นที่/แหล่งน้ำสำหรับปลูกผักของหมู่บ้านเพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบของ จ.เชียงใหม่ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการผลักดันส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องละได้ขายพื้นที่ดำเนินงานเพื่อให้ครอบคลุมในทุกอำเภอ อำเภอละ 1 หมู่บ้านรวมทั้งสิน 25 หมู่บ้านโดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการปฏิบัติตาม 2อ. ได้แก่ อ.1) ออกกำลังการสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ถึง 5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที อ.2) อาหาร โดยเน้นกินผัก ผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปและลดอาหารไขมันรวมทั้งส่งเสริมให้ดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียนเขตพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ทุกพื้นที่เป้าหมายมีการตื่นตัวรวมพลังขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ และเป็นการพัฒนาทรัพยากรของหมู่บ้านให้เกิดคุณค่า ทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนในหมู่บ้านรวมทั้งหมู่บ้านอื่นที่สนใจได้เข้ามาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีโดยมีหมู่บ้านส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจากทุกอำเภอ อำเภอละ 1 หมู่บ้านรวม 25 หมู่บ้าน จำนวนโรงเรียน 7 โรงเรียน หมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ได้รับโล่เกียรติคุณ ได้แก่ 1. หมู่บ้านท่าควาย ม.12 ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 2. หมู่บ้านป่าสักขวาง ม.13 ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และ 3. หมู่บ้านสะรวงใน ม.2 ต.สะรวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ จ.เชียงใหม่ ที่ได้รับโล่เกียรติคุณ ได้แก่ 1. โรงเรียนสืบนทีธรรม อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 2. โรงเรียนหมู่บ้านสหกรณ์ 2 อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 3. โรงเรียนไตรมิตรวิทยา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

ปัจจุบันยอดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีประมาณ 100,000 คน เนื่องจากทีปัจจัยเพิ่มขึ้น เช่น เรื่องการดื่มสุรา เรื่องกินเค็มและอื่นๆอีกมากมาย ใน จ.เชียงใหม่มีประชากรมาก โรคที่เกิดขึ้นก็มีมากมาย อีกทั้งมีผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันและโรคเบาหวานคู่กัน ซึ่งโรคพวกนี้จะเกิดขึ้นหากไม่ดูแลสุขภาพ.

สำนักข่าว

cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน