วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

สัมมนาหัตถกรรมแฮนเมด

19 ก.ค. 2013
291
Spread the love

จัดสัมมนาหัตถกรรมแฮนเมดเชียงใหม่

             ศ.ศ.ป. ผนึกกำลังภาคเอกชนไทยและต่างประเทศพัฒนาผู้ประกอบการหัตถกรรมไทย – พม่า สู่ตลาดอังกฤษและตะวันตก

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. ร่วมกับบริติซเคานซิล (British council), โครงการแฮนเมดเชียงใหม่(Handmade-Chiangmai) และเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์(Chuangmai Creative City) ร่วมกันจัดสัมมนา การพัฒนาหัตถกรรมระหว่างประเทศอาเซียนภายใต้หัวข้อ “การเข้าสู่ตลาดประเทศอังกฤษและตลาดตะวันตกของหัตถกรรมไทยและพม่า”(UK&Western Market Access for Thai and Myanmar Craft Entreneur) และกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ “Thai-UK Business matching” เพื่อกิจกรรมนำร่องโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ศ.ศ.ป. และ  บริติชเคานซิลและกลุ่มแฮนเมดเชียงใหม่ ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการหัตถกรรมไทย

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน จ.เชียงใหม่ นายพงศ์วัฒนา เจริญมายุ ผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจการค้า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ และคุณคริส กิบสัน ผู้อำนวยการบริติชเคานซิล ประจำประเทศไทย คุณเฮเลน โจฮันเนสสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จากวิทยาลัยด้านงานหัตถกรรม กรุงลอนดอน และคุณแคนเทอลีน ล็อค ผู้สั่งซื้อสินค้าและผู้พัฒนาแบรนด์เดอะนิวคราฟเมน ร่วมสัมมนาฯครั้งนี้

โดยนายพงศ์วัฒนา กล่าวว่า งานสัมมนาครั้งนี้เป็นกิจกรรมนำร่องโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ศ.ศ.ป. และบริติชเคานซิลและกลุ่มแฮนเมดเชียงใหม่ ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการหัตถกรรมไทย การเจาะตลาด ให้กับผู้ประกอบการทั้งชาวไทยและพม่า และเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้งานหัตถกรรมไทยและพม่ามีเอกลักษณ์ และคุณค่าของแต่ละประเทศได้มีโอกาสออกสู่สากล สามารถเข้าสู่ตลาดประเทศอังกฤษ ยุโรป และตะวันตกมากขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และผู้สั่งซื้อและผู้พัฒนาแบรนด์จากประเทศอังกฤษมาบรรยายให้ความรู้ แนะแนววิธีการเจาะตลาดให้กับผู้ประกอบการไทยและพม่า เพื่อพัฒนาภายใต้อัตลักษณ์หัตถกรรมของตน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดสากล โดยเฉพาะอังกฤษและยุโรปที่มีสัดส่วน GDP จากการนำเข้าสินค้าหัตถกรรมอันดับต้น ๆ ของโลก ในงานยังได้มีโอกาสสร้างเครือข่าย จับคู่ทางธุรกิจระหว่างกัน เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ส่งต่อให้ผู้นำเข้าประเทศแถบยุโรปเพื่อขยายฐานการตลาดต่อไป

ด้านนายคริส กิบสัน ผู้อำนวยการบริติช เคาน์ซิล ประจำประเทศไทย เพิ่มเติมว่า ทางบริติชเคาน์ซิลได้ประชาสัมพันธ์สินค้าพื้นเมืองเชียงใหม่ผ่านเว็บไซด์แฮนด์เมดเชียงใหม่ เพื่อต้องการผลัดกันสินค้าสู่สายตาผู้เข้ามาชม ซึ่งนอกจากสินค้าพื้นเมืองแล้วเรายังโปรโมทสินค้าที่อยู่ในภูมิภาคนั้นด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ทางศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)ได้เข้ามาร่วมทำงานเกิดความร่วมมือกัน และในวันนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้บรรยายจะให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการในเชียงใหม่    สำหรับความกังวลที่ว่าอาจจะมีการแย่งตลาดสินค้ากันระหว่างไทย-พม่านั้น ไม่น่ากังวล เนื่องจากแต่ละแห่งจะมีพื้นฐานศิลปวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอยู่แล้ว การร่วมมือกันจะช่วยลดอุปสรรค ก่อให้เกิดความร่วมมือดี ๆ ระหว่างกันและยังเป็นการจับคู่ทางธุรกิจที่ดีในอนาคตมากกว่า และนอกจากนั้นยังมีตลาดที่น่าจับตามองคือตลาดสินค้าหัตถกรรมอังกฤษที่เป็นตลาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 500 ล้านคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าแฮนเมดให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าพร้อมขยายฐานการตลาดต่อไป

โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ 2 ท่านได้แก่ คุณเฮเลน โจฮันเนสสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จากวิทยาลัยด้านงานหัตถกรรม กรุงลอนดอน และคุณแคนเทอลีน ล็อค ผู้สั่งซื้อสินค้าและผู้พัฒนาแบรนด์เดอะนิวคราฟเมนมาแบ่งปันและแนววิธีที่เดินทางเข้ามาร่วมด้วยและโดยในวันแรก(วันที่ 18 ก.ค. 2556) เป็นการสัมมนาและบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษทั้ง 2 ท่านให้ข้อมูลการตลาดเชิงลึกให้ทราบถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค, แนะแนวทางการพัฒนาธุรกิจ, เทคนิคการทำสื่อการตลาด, เทคนิคการเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์, แนะแนวด้านการออกแบบอย่างเข้มข้น เช่น วิธีการเล่าเรื่องราวของผู้ผลลิตให้โดนใจกลุ่มผู้ซื้อ เป็นต้น ประกอบกับผู้ประกอบการชาวไทยจะสามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจกับผู้ประกอบการจากประเทศพม่าที่เข้าร่วมกิจกรรม และวันที่สอง(วันที่ 19 ก.ค.2556) จะเป็นการให้คำปรึกษาและเจรจาตับคู่ธุรกิจ แบบตัวต่อตัว เพื่อคันสรรผลิตภัณฑ์ส่งต่อให้ผู้นำเข้าในยุโรป เพื่อขยายฐานการตลาดต่อไป

 

การสัมมนาดังกล่าวเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการหัตถกรรมไทยและพม่า

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ