วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

สมาชิกใหม่สวนสัตว์เชียงใหม่ “เลียงผา”บัญชีหมายเลข 1 ไทย : สัตว์ป่าสงวน‏

Spread the love

สมาชิกใหม่สวนสัตว์เชียงใหม่ “เลียงผา”บัญชีหมายเลข 1 ไทย : สัตว์ป่าสงวน‏

วันนี้ วันที่ 1 พ.ค. 57 เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ลูกน้อยเลียงผาเพิ่มอีก 1 ตัวเกิดจากพ่อชื่อ ผาไม้ อายุประมาณ 6 ปี ได้รับมาจากสวนสัตว์ดุสิต แม่ชื่อ หน่อย อยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ อายุประมาณ 3 ปี เลียงผาที่อยู่ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีทั้งหมด 10 ตัว เกิดใหม่ 1 ตัว รวมทั้งหมด 11 ตัว ปัจจุบันนำมาจัดแสง 2 ตัว และอยู่ในส่วนของการเพาะขยายเลียงผา ที่จุดสวนสัตว์เปิด จำนวน 8 ตัว และได้ลูกน้อยเพิ่ม 1 ตัว รวมเป็น 9 ตัวสุขภาพแข็งแรงดีครับ

ชื่อไทย เลียงผา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capricornis Sumatraensis
ชั้น Mammalia
อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Bovidae
วงศ์ย่อย Caprinae
สกุล Capricornis
ชื่ออื่น อังกฤษ : Serow, Southern Serow, Mainland Sero
สถานภาพการคุ้มครอง ไซเตส : บัญชีหมายเลข 1 ไทย : สัตว์ป่าสงวน

เลียงผา 
สัตว์กีบรูปร่างคล้ายแพะ ลำตัวสั้น ขายาว ขนดำยาว ขนชั้นนอกชี้ฟู ขนบริเวณตั้งแต่โคนเขาจนถึงหัวไหล่ยาวและฟู อาจมีสีแตกต่างกันไปตั้งแต่ขาวถึงดำ หัวโต หูใหญ่ตั้ง มีเขาเป็นรูปกรวยเรียว โค้งไปทางข้างหลังเล็กน้อย ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมียมาก ตัวที่เขายาวที่สุดเคยวัดได้ถึง 28 เซนติเมตร โคนเขาเป็นลอนย่น กะโหลกด้านหน้าแบน มีต่อมน้ำตาอยู่ใต้ตา ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างสารกลิ่นฉุนเพื่อใช้ในการทำเครื่องหมายประกาศอาณาเขต หางสั้นและเป็นพู่ ความยาวลำตัว 1.5 เมตร หางยาว 15 เซนติเมตร ความสูงที่หัวไหล่ 1เมตร หนักประมาณ 85-140 กิโลกรัม
รอยตีนของเลียงผามีขนาดใกล้เคียงคล้ายรอยตีนเก้ง แต่กีบเลียงผาค่อนข้างขนานกัน ไม่งุ้มเข้าหากันอย่างสัตว์กีบชนิดอื่น และปลายกีบของเลียงผาค่อนข้างทู่กว่าของเก้ง
เลียงผาพบตั้งแต่แคชเมียร์ในประเทศอินเดีย เชิงเขาหิมาลัย แพร่ไปถึงอัสสัม ลงมาถึงจีนและพม่า ไทย มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบในป่าหลายประเภททั่วประเทศยกเว้นที่ราบ พวกที่อยู่ในบังกลาเทศและพื้นที่ข้างเคียงอยู่ในชนิดย่อย”Capricornis sumatraensis rubidus“ส่วนพวกที่อยู่ในคาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตราคือชนิดย่อย”Capricornis sumatratraensis sumatraensis
อาศัยอยู่ตามภูเขาที่เปิดโล่ง เลียงผามักอาศัยอยู่ตัวเดียวหรือบางครั้งเป็นฝูงเล็ก ปีนป่ายและกระโดดไปตามหน้าผาชันได้อย่างคล่องแคล่ว และปีนต้นไม้ก็ได้ นอกจากนี้ยังว่ายน้ำได้เก่ง จึงพบได้ตามเกาะด้วย ออกหากินเฉพาะตอนเย็นและตอนเช้า เลียงผามีนิสัยหวงถิ่น อาณาเขตของเลียงผากว้างเพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตร มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งพักผ่อน กินหญ้า และบางครั้งก็กินยอดอ่อนและใบไม้ มีจุดถ่ายมูลประจำ ตอนกลางวันเลียงผาจะหลบอยู่ในพุ่มหรือในถ้ำตื้น ๆ ใต้ชะง่อนหิน
เลียงผามีจมูก หู และตาไวมาก ศัตรูในธรรมชาติคือหมาใน เมื่อถูกต้อนจนมุม จะต่อสู้ด้วยเขาอย่างเอาเป็นเอาตาย
เลียงผาผสมพันธุ์ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน แม่เลียงผาตั้งท้องนาน 7 เดือน ออกลูกทีละตัว ลูกเลียงผาอยู่กับแม่เป็นเวลา 1 ปี ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 30 เดือนตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อ
อายุ 30-36 เดือน มีอายุขัย 10 ปี
การที่เลียงผาชอบอยู่ตามหน้าผาชันเป็นธรรมชาติที่ช่วยให้หลีกเลี่ยงสัตว์นัก ล่าได้ดี แต่โชคร้ายที่เป็นเป้าโดดเด่นของปืนนายพราน และหน้าผาหินปูนซึ่งเป็นที่อยู่หลักก็ถูกทำลายไปมาก
ปัจจุบันเป็นสัตว์หายาก ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้อยู่ในระดับอันตราย เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ของไซเตส

 

CNX NEWS รายงาน


สมาชิกใหม่สวนสัตว์เชียงใหม่ “ปาก้า”สัตว์ใกล้สูญพันธ์‏

Spread the love

สมาชิกใหม่สวนสัตว์เชียงใหม่ “ปาก้า”สัตว์ใกล้สูญพันธ์‏

วันที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 9.30 น. รับแจ้งเจ้าหน้าที่ดูแล “ปาก้า”จากทวีปอเมริกาใต้ ได้เกิดลูกออกมาในสวนสัตว์เชียงใหม่ 2 ตัวยังไม่ทราบเพศ ตอนนี้มีสุขภาพแข็งแรงและสมบรูณ์ “ปาก้า “ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์นำมาจากประเทศของทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะคล้ายกับหมูป่า เป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน มี 2 ชนิด ทั้ง mountain pacaและ lowland paca   (lowland paca จัดแสดงในสวนสัตว์เชียงใหม่)

พ่อชื่อ ณเดชน์   อายุ 4 ปี แม่ชื่อ กาก้า อายุ 3 ปี ได้มาจากสวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือน มกราคม 2557

ปัจจุบันล่าสุดให้ลูกแก่สวนสัตว์เชียงใหม่ จำนวน 2 ตัว รวมแล้ว 4 ตัว

 

ปาก้า มี 2 ชนิด ทั้ง mountain pacaและ lowland paca(จัดแสดงในสวนสัตว์เชียงใหม่)

ชื่อสามัญ

Common name

Lowland paca

ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Cuniculuspaca

พบในหลายประเทศของทวีปอเมริกาใต้ได้แก่ ได้แก่ Argentina; Belize; Bolivia

ในธรรมชาติ ปาก้าได้ถูกล่าจากเสือจากัวร์ เสือ cougar และหมา bush dogs และถูกล่าจาก เกษตรกรเนื่องจากปาก้าทำลายผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ มันเทศ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดพบจำนวนมากในพื้นที่คุ้มครอง ไม่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามจำนวนของปาก้าในธรรมชาติลดลง เนื่องจากการล่า และพื้นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายปาก้า จับคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamous) โดยใน 1 ปี

ปาก้าสามารถผสมพันธุ์และผลิตลูกได้ 1-2 รุ่น โดยไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของพืชอาหาร ปาก้ามีรอบเป็นสัด ประมาณ 32.5 วัน ตั้งท้องนาน 97-118 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว โดยตัวเมียจะเลี้ยงลูกตัวเดียว จนหย่านมอายุ 3 เดือน และโตเต็มวัยอายุ 8-12 เดือน ปาก้ามีอายุขัย ประมาณ 12.5 ปี

CNX NEWS รายงาน