วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

สมาคมนักข่าวฯออกแถลงการณ์ร้อง 6 ข้อ “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก”

Spread the love

สมาคมนักข่าวฯออกแถลงการณ์ร้อง 6 ข้อ “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก”

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ออกแถลงการณ์ 6 ข้อ เรียกร้อง สังคมไทย ร่วมกันตระหนัก ถึงคุณค่าของ “เสรีภาพ ที่ไม่ถูกคุกคาม” ทั้งการนำเสนอข่าวด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย สมาคมสิทธิเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และองค์การยูเนสโก ร่วมจัดกิจกรรมในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกหรือ เวิลด์ เพรส ฟรีดอม เดย์ โดยให้วันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชน

ซึ่งเห็นว่า ปัจจุบันการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในทุกประเภทในยุคที่มีการบรรจบกันของ เทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้จะมีสื่อต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เพื่อรายงานข่าว ความคิดเห็น หรือจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง ส่งผลให้สื่อมวลชนถูกสังคมตั้งคำถามถึงการใช้เสรีภาพและความเป็นกลางท่าม กลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้น องค์กรวิชาชีพสื่อ จึงออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดยในโอกาสนี้ วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงเรียกร้องฝ่ายต่างๆ ให้ร่วมกันตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพ “เสรีภาพที่ ไม่คุกคาม” ดังนี้

1. สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพการแสดงความเห็น และการแสดงออกของประชาชน ภายใต้ หลักการ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม” คือ เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกของบุคคลและสื่อมวลชนต้องมีความ ปลอดภัย ปราศจากการถูกแทรกแซงคุกคาม

2. ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชน ตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

3. ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมืองการรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพเป็นเรื่อง สำคัญ เสรีภาพในการแสวงหาข่าวสารและรายงานข่าวสารให้ประชาชนรับรู้เพื่อประโยชน์ สาธารณะ ต้องไม่ถูกขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐ และอำนาจทุน รวมทั้งกลุ่มการเมืองและกลุ่มอิทธิพลใดๆ ที่สำคัญต้องร่วมกันสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพผู้ที่เป็นสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้า ทั้งที่เป็นสื่อของรัฐและเอกชน

4. สื่อมวลชนต้องร่วมกันเสริมสร้างบทบาทในการขับเคลื่อนหาทางออกในสังคม แสดงบทบาทนำในการเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันสร้างบรรยากาศของการใช้เหตุผลหาทางออกให้กับสังคม เพื่อให้สังคมไทยออกจากความขัดแย้ง ความแตกแยก

5. ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ โดยต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะชนอย่าง เปิดเผยและเป็นธรรม

6.ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ชีวิตประจำวันของประชาชนถูกแวดล้อมด้วย สื่อ มีปริมาณข่าวสารจำนวนมาก การรู้ทันสื่อ จึงมีความสำคัญ ต้องแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง ต้องหาข้อมูลจากสื่อหลายๆ สื่อ เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งพึงตระหนักว่า สื่อออนไลน์เป็นพื้นที่สาธารณะ หากไม่ระมัดระวังอาจมีผลกกระทบกับตัวเองและบุคคลอื่นได้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

 

ขอบคุณที่มา http://news.springnewstv.tv

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ