วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

สปช. 3 นำสื่อมวลชนสัญจรเกษตรล้านนาอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1

Spread the love

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 นำสื่อมวลชนสัญจรเกษตรล้านนาอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 นำสื่อมวลชนสัญจรเกษตรล้านนาอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1 ในจังหวัดลำพูนและลำปาง ระหว่างวันที่  7-8 สิงหาคม 2556 เพื่อเผยแพร่กระบวนการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และขยายฐานผู้บริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัย รวมทั้งสร้างความโดดเด่นของสินค้าเกษตรและการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา เวลา 08.30 น. นางธารทิพย์ งามขำ ผอ.สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 นำคณะสื่อมวลชนจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 40 คน เดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดลำพูนและลำปาง พร้อมกล่าวว่าตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ในการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหารเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญได้มาตรฐานของโลกและสามารถเชื่อมโยงการผลิตไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและสาขาอื่นๆ รวมถึงการสร้างความตระหนักต่อเกษตรกรและผู้บริโภคให้มั่นใจสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยมีมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันการผลิตทางการเกษตรของประเทศมีการพึ่งพาสารเคมีในปริมาณมากจนเกินความจำเป็นทำให้ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูงขึ้น และมีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้สุขภาพของเกษตรกรและความปลอดภัยของผู้บริโภค

ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีตกค้างในผลผลิต จากสภาพการผลิตทางการเกษตรในปัจจุบันและพฤติกรรมในการบริโภคที่ให้ความสนใจต่อการผลิตและบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัยมากขึ้น นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ควรส่งเสริมและสร้างความตระหนักต่อเกษตรกรในการผลิตสินค้าทางการเกษตรและผู้บริโภคสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้รับมาตรฐานต่อไป

สำหรับจุดแรกที่สื่อมวลชนดูงานคือการเก็บเกี่ยวผลผลิตตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยนายมงคล ทองกลาง อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน กล่าวว่า ในพื้นที่สวนลำไยได้เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยวิธีการหมักใช้มูลสัตว์มาหมักชีวภาพรวมกับเศษผลไม้ ซึ่งใช้ราดตรงโคนต้นลำไยเพื่อให้ซึมเข้าสู่ดินส่งผลต่อการเติบโตของผลและผลิใบที่สวยงาม พร้อมไม่ทำลายหน้าดินสร้างอาหารให้กับจุลินทรีย์ในดินสำหรับผลผลิตลำไยเมื่อเทียบกับก่อนและหลังใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้น แตกต่างกันตรงความปลอดภัยเมื่อสู่ผู้บริโภค ส่วนขนาดลูกโตสม่ำเสมอ ผิวสวย พร้อมทั้งต้นลำไยมีความสมบูรณ์แข็งแรง ส่วนปริมาณราคา ณ ตอนนี้ 7 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีความพึงพอใจกับผลผลิตเป็นอย่างดี

หลังจากนั้นเดินดูงานกรรวบรวมผลผลิตของสมาชิกเกษตรกรสหกรณ์การเกษตรประตูป่า โดยมีนางมาลี เปรมมณี ผู้จัดการสหกรณ์ ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวถึงกระจายผลผลิตลำไย แก้ไขปัญหาราคาตกต่ำว่า สหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด จับมือบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการค้าลำไย เพื่อจำหน่ายและจัดส่งลำไยสดคุณภาพทั่วประเทศ เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดกระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยได้ขายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมโดยไม่ต้องผ่านพ่อ ค้าคนกลาง ซึ่งทางสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด เป็นผู้รวบรวมลำไยสดช่อเกรดมาตรฐาน AA และ A จากสมาชิกและสหกรณ์เครือข่ายและคัดคุณภาพ บรรจุกล่องละ 5 กิโลกรัม ส่งจำหน่ายให้แก่บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามคำสั่งซื้อทั่วประเทศ เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดกระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ไม่เกินระยะเวลา 3 วัน ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยได้ขายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมโดยไม่ต้องผ่านพ่อ ค้าคนกลาง โดยสหกรณ์มีการรับประกันหากสินค้าไม่ได้คุณภาพตามเกรดที่ระบุ ยินดีรับสินค้าคืนและคืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วน และเดินทางไปเข้าชมการผลิตแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ณ บ้านสันป่าเหียง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง หลังจากนั้นเข้าที่พัก จากนั้นวันที่  8 สิงหาคม 2556 เวลา 09.00 น. คณะสื่อมวลชนเดินทางไปยังจังหวัดลำปางเพื่อเข้าดูงานเรื่องการพัฒนาคุณภาพลำไยปลอดภัย  บ้านสบเป๊าะ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหลัดลำปาง โดยมี นายบุญมี สมณะ ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลำไย อำเภอแม่ทะ ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวว่า การทำเกษตรปลอดภัยส่งผลดีต่อจุลินทรีย์ในดิน ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งทำ ให้ได้ลำไยที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

และเดินทางไปดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมการแกะสลักไม้บ้านหลุก ตำบลนาครัว และเข้าดูการพัฒนาคุณภาพสับปะรดปลอดภับแบบครบวงจร ในกระบวนการผลิต การแปรรูป ปละการจำหน่าย ณ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง  ซึ่งจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ทางผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สื่อมวลชนจะนำข้อมูลกลับไปสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักต่อเกษตรกรและผู้บริโภคสินค้า ให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพของตัวเอง รวมถึงมีกระบวนการตรวจสอบยองสินค้าเกษตรที่สามารถยืนยันแหล่งผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค.

 

ชมภาพเพิ่มเติม  https://www.facebook.com/media

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ