วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

สถานการณ์และแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก H7N9 ในจังหวัดเชียงใหม่

Spread the love

สถานการณ์และแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก H7N9 ในจังหวัดเชียงใหม่

 

คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ/โรคระบาดจังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดขึ้น ดร.ทพ.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ/โรคระบาดจังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนก H7N9 เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดขึ้น โดยสถานการณ์ไข้หวัดนก H7N9 ซึ่งเกิดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ถึง 28 เมษายน 2556 มีผู้ติดเชื้อ H7N9จำนวน 127 ราย เสียชีวิต 23 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 18.11 กระจายตามมณฑล และเทศบาลนคร โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบพื้นที่ของการแพร่ระบาดของผู้ติดเชื้อ H7N9 ในประเทศจีน พบว่าสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนเมษายน 2556 มีพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 3 จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มณฑล ซานตง มณฑลเจียงซี มณฑลหูหนาน มณฑลฝูเจี้ยน และเกาะไต้หวัน ส่วนข้อมูลผู้ติดเชื้อ มีอายุตั้งแต่ 2 ถึง 91 ปี ซึ่ง 2 ใน 3 มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และ 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อเป็นเพศชาย

โดยเป็นกลุ่มที่มีอายุและเพศคล้ายกัน ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกับผู้ติด เชื้อ influenza A(H5N1) ที่พบได้ทั้งในเด็กชาย เด็กหญิง และนักเรียน นอกจากนั้นข้อมูลของผู้ติดเชื้อเพศชายที่มีอายุ 50 – 64 ปี / 65 -79 ปี มีจำนวนเป็น 4 -5 เท่าของกลุ่มอายุ 20 – 34 ปี ทั้งนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ว่า ขณะนี้ผลการชันสูตรศพชายชาวเซี่ยงไฮ้อายุ 87 ปี ที่เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ซึ่งต่อมาลูกชายอีก 2 คน ได้ป่วยเป็นโรคเดียวกัน แต่ในส่วนของคนโตอายุ 38 ปีนั้นพบว่าหายขาดได้ ส่วนลูกชายคนเล็กอายุ 25 ปี ซึ่งมีอาชีพขายหมูกลับเสียชีวิต และในส่วนขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยืนยันจากผลการชันสูตรศพแล้วพบเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คนอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถติดต่อกันได้ง่ายนัก นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าเชื้อไข้หวัดนก H7N9 ยังไม่ตอบสนองต่อยาโอเซลทามิเวียร์ และคนยังสามารถเป็นพาหะของโรคได้โดยไม่แสดงอาการ ด้าน นพ.ริชาร์ด เว็บบี้ แผนกโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเพื่อการวิจัยในเด็กเซนต์จูดสหรัฐอเมริกา ระบุไว้ว่า H7N9 สามารถก่อให้เกิดการระบาดจากคนสู่คนได้มากที่สุดในบรรดาหวัดนกทุกสายพันธุ์
สำหรับมาตรการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการกำหนดมาตรการไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย มาตรการเฝ้าระวังโรคในกลุ่ม ผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง มีประวัติเดินทางกลับจากต่างประเทศและมีอาการปอดบวม ผู้ป่วยปอดบวมเป็นกลุ่มก้อนผู้ป่วยปอดบวมที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ มาตรการการเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษา โดยการตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกัน ยา ห้องแยก แล็ป จัดเตรียมบุคลากรในการคัดกรอง ดูแลรักษา สอบสวนโรค มาตรการในชุมชน โดยมอบหมายให้ อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เฝ้าระวังโรคในคนและสัตว์ และมาตรการด้านการสื่อสารความเสี่ยงในกลุ่มประชาชนทั่วไป
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกเชื้อ H5N1 ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม โดยการเปิดเผยของ World Health Organization’s (WHO’s) Western Pacific Regional Office เปิดเผยว่าพบผู้ติดเชื้อ human H5N1 influenza จำนวน 1 ราย ผู้ติดเชื้อเป็นเพศหญิงอายุ 20 ปี อาศัยในจังหวัด Long An เริ่มป่วยวันที่ 11 เมษายน 2556 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 14 เมษายน 2556 มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกตายของเพื่อนบ้าน ปัจจุบันอาการคงที่ และ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2556 ถึง 26 เมษายน 2556 มีรายงานผู้ติดเชื้อ จาก 4 ประเทศ จำนวน 6 ราย เสียชีวิต 2 ราย จากประเทศกัมพูชา (จังหวัด Kampot ) 1 ราย อียิปต์ 2 ราย เวียดนาม 2 ราย และบังคลาเทศ 1 ราย ผู้ติดเชื้อ ร้อยละ 83.3 มีประวัติสัตว์ปีกก่อนมีอาการ

ขอขคุณภาพ จาก www.cmvmedia.com

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน