วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู

Spread the love

ศึกษาดูงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู

สัญจร

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่จัดกิจกรรมนำสื่อมวลชนสัญจร ศึกษาดูงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู และการบริหารจัดการเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ ในวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2558 ตามโครงการประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ปี 2558 ณ จังหวัดจันทบุรี

นางอุบลรัตน์ คงกระพันธ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมนำสื่อมวลชนสัญจร ศึกษาดูงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู และการบริหารจัดการเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ ในวันที่ 24-27 พฤษภ าคม 2558 ตามโครงการประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ปี 2558 ณ จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารตามภารกิจยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ ที่เน้นสู่การอยู่ดีกินดีมีสุขของประชาชน ประสานสื่อภาคประชาชน ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ให้ร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และการเกษตรนางสาวกฤตชญา ศิริสรรพ นักประชาสัมพันธ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาอันเป็นรูปแบบ “การจัดการทรัพยากรชายฝั่งด้านประมงและการเกษตรอย่างยั่งยืน” ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 61,026 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 23 หมู่บ้าน ตามแนวชายฝั่งทะเล และพื้นที่ตอนในของอำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบปัญหาเสื่อมโทรมของพื้นที่เพาะปลูก ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรและการประมงลดต่ำลง จึงมีพระราชดำริที่จะทำการศึกษาพัฒนาพื้นที่ในเขตที่ดินชายทะเล เพื่อแนะนำให้ประชาชนได้มีความรู้ และเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม จึงพระราชทานพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 ความว่า “…ให้พิจารณาพื้นที่เหมาะสม จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลของจังหวัดจันทบุรี…” ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2524พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กับนายเล็ก จินดาสงวน และนายสุหะ ถนอมสิงห์ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดจันทบุรี ความว่า“…ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล…” ซึ่งจากการดำเนินงานตามแผนแม่บทที่ผ่านมา การดำเนินงานสามารถบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานให้ไว้ในระดับหนึ่ง เช่น การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกร การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยสามารถขยายผลสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ฯ ก่อให้เกิดรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริได้ครบถ้วนสมบูรณ์ และเกิดความยั่งยืน สามารถนำผลสำเร็จไปขยายผลสู่ประชาชนมากยิ่งขึ้นจากการที่จังหวัดจันทบุรี มีความอุดมสมบูรณ์สูงมากมีการปลูกผลไม้ซึ่งนำรายได้เข้าสู่จังหวัดจำนวนมหาศาลในแต่ละปี โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลำไย เฉพาะปี 2556 ลำไยของจังหวัดจันทบุรี มีมูลค่าการส่งออก 8,100 ล้านบาท ปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 9,600 ล้านบาท ปลูกมากในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว ประมาณ 150,000 ไร่ ขณะที่แหล่งปลูกใหญ่อย่างภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกลำไยประมาณ 800,000 ไร่ แต่กลับมีปริมาณการส่งออกเทียบเท่ากับจังหวัดจันทบุรี โดยตลาดส่งออกหลักยังเป็นจีน มีล๊งมาตีราคารับซื้อผลผลิต และให้แรงงานของล๊งเก็บเอง ในราคากิโลกรัมละ 50 บาท คละเกรดเบอร์ 3,2 และ 1 และจะขายได้ราคาสูงสุดในช่วงตรุษจีน ปีนี้ราคากิโลกรัมละ 75 บาท ซึ่งต่างจากการเก็บลำไยของทางภาคเหนือ ที่เจ้าของสวนต้องจ้างแรงงานเก็บดร.อิสิวุฒิ ตั้งเกียรติ นายกสมาคมชาวสวนลำไยจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีสวนลำไยของตนเอง 30 ไร่ จำนวน 405 ต้น ปลูกสับกัน เพื่อเปิดทางช่องลม ให้ทรงต้นลำไยมีพุ่มสวย เจริญงอกงามได้ดี ปีนี้เพิ่งเก็บลำไย ได้ 98 ตัน ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ได้เงินมาเกือบ 5 ล้านบาท ขณะที่ลงทุน 1 ล้าน 2 แสนบาท ได้มองว่าการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ต้องลงทุน กล้าเสี่ยงที่จะพัฒนาคุณภาพของผลผลิตตลอดเวลา ต้องนำหลักวิชาการมาช่วย มีเทคนิคการใส่สารเร่งลำไย การให้น้ำที่เหมาะสม เวลาออกผลผลิตก็จะเก็บเป็นช่อแทนการรูด เมื่อเก็บผลผลิตเสร็จในหน้าแล้งจะใช้เทคนิคการเหวี่ยงน้ำเพื่อชะล้างสารเคมีต่างๆ ออกจากต้นลำไย และจะรอแต่งตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูฝน หลังการแทงช่อของยอดที่ 2 เมื่อแต่งกิ่งแล้วจะให้ปุ๋ยเดือนละครั้ง มีการพักต้นลำไย 4-7 เดือน และสิ่งสำคัญในการจะทำให้ผลผลิตลำไยได้ราคาดี คือ ลำต้นต้องสมบูรณ์ ซึ่งต้นพันธุ์อีดอที่ปลูกในสวนแห่งนี้ มีอายุ 8 ปี ได้มาจากกิ่งตอน ส่วนอีกเทคนิคหนึ่ง คือ ไม้ค้ำ จะนำท่อเอสล่อน ขนาด 2 หุน กรอกปูนซีเมน ทำเป็น 2 ขนาด คือ 2 เมตร และ 4 เมตร เพื่อใช้ปลูกปลายค้ำยันต้น ซึ่งได้ผลดีกว่าการตัดไม้ไผ่ค้ำยัน ได้ทรงพุ่มสม่ำเสมอ แข็งแรง และใช้ได้หลายปี ไม่ต้องเปลี่ยนทุกปีเหมือนไม้ไผ่ค้ำยันนายกฤษนันท์ ทองทิพย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรีมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดทั้งปีมากกว่าจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่มีการขุดบ่อน้ำหรือใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ เน้นการให้น้ำลำไยอย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่ มีความเป็นมืออาชีพ รับเทคโนโลยีการผลิตได้เร็ว กล้าตัดสนใจ กล้าลงทุน มีการวางแผนการผลิตและมีการกำหนดช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยที่แน่นอน สำหรับแนวทางที่น่าจะนำไปประยุกต์และนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในจังหวัดเชียงใหม่ได้ คือ เกษตรกรควรเลือกช่วงการผลิตลำไย ตั้งเป้าการผลิตไว้ล่วงหน้า ว่าจะให้ผลผลิตอออกในฤดู หรือ นอกฤดู หรือทำทั้ง 2 อย่าง โดยดูความพร้อม ความรู้ เทคโนโลยี ซึ่งสามารถติดต่อขอรับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ได้ นอกจากนั้น ผลผลิตต้องเน้นคุณภาพ เช่น การคัดขนาดผล สีเปลือก ควรมีการตัดแต่งกิ่งตามหลักวิชาการเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและตัดแต่งช่อผลบ้างเพื่อให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงตลาดผู้บริโภค หรือ คู่ค้าเป็นหลัก คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ปฏิบัติตามมาตรฐานของ GAP บำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อให้ดินมีช่วงว่างในการถ่ายเทอากาศส่งผลให้ลำไยมีการเจริญเติบโตที่ดี ดังนั้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะพาผลผลิตลำไยของทั้งประเทศขายได้ราคาดี การรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ อาจนำพาไปสู่ผลผลิตที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ เนื่องจากลำไยยังเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก ในการนี้ ทั้งตัวเกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อจะนำพาผลผลิตลำไยไปสู่ตลาดส่งออกที่สดใส ไม่กลายเป็นสร้างภาระให้แก่เกษตรกร ด้านการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู และการบริหารจัดการเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการปลูกลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจโดยในปี 2558 พื้นปลูกลำไยทั้งหมด 313,391 ไร่ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 298,013 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ให้ผลในฤดูกาลประมาณ 206,953 ไร่ และพื้นที่ให้ผลผลิตนอกฤดูกาลประมาณ 91,060 ไร่ ผลผลิตปี 2558 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 268,461 ตัน แยกเป็นผลผลิตในฤดูกาลประมาณ 142,798 ตัน และนอกฤดูประมาณ 125,663 ตัน ผลผลิตฤดูกาลออกสู่ตลาดมาที่สุดในเดือนสิงหาคม – กันยายน ราคา กิโลละประมาณ 14.03 บาท มูลค่ารวมโดยประมาณ 4,185.57 ล้านบาท (ข้อมูลจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งส่งผลต่อราคาลำไยในช่วงนี้ที่ราคาตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว นอกจากผลผลิตกระจุกตัวแล้วปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตลำไย ได้รับผลกระทบมากที่สุด ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานทั้งในระดับพื้นที่ หรือระดับประเทศ ได้พยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอดทั้งการป้องกันแก้ไขปัญหาระยะสั้น เช่นการพยุงราคาผลผลิต โดยการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต การส่งเสริมการแปรรูป และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้มีการพัฒนาลำไยที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้แก่เกษตรกร

 

สำนักข่าว CNX NEWS เจาะข่าว ตรงใจคุณ