วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ฟันธง ! อีก 3 ปี นสพ.ไทยจะหายไป

Spread the love

ฟันธง ! อีก 3 ปี นสพ.ไทยจะหายไป “นักข่าว” ต้องปรับตัวขนานใหญ่

 

“…ขณะ นี้มีแพล็ตฟอร์มเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สื่อจะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ซึ่ง 3-5 ปีข้างหน้า สื่อสิ่งพิมพ์จะหายไปจากวงการสื่อไทย เช่นที่เกิดขึ้นในอเมริกา เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยนไป…”

เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2556 ที่ผ่านมา หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “Reporter Connect…คนข่าวรุก ยุคดิจิตอล” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณ วุฒิในแวดวงสื่อมวลชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแชร์ประสบการณ์ตรง ในการก้าวสู่เส้นทางคนข่าวในยุคดิจิตอลอย่างมืออาชีพ

นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันนับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่สื่อมวลชนต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ ที่จะต้องปรับรูปแบบการนำเสนอให้เป็นแบบดิจิตอล ด้วยการหลอมรวมเข้ากับสื่อใหม่ ขณะที่สื่อทีวีก็จะก้าวสู่การเป็นโซเซียลทีวีมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขัน และพฤติกรรมผู้บริโภคข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่เป็นผู้รับข่าวสารเพียงอย่างเดียว สู่การเป็นทั้งผู้รับ และผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน

นาย มานะ กล่าวว่า คาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า สื่อสิ่งพิมพ์จะหายไปจากประเทศไทย เช่นที่เคยเกิดขึ้นในวงการสื่อต่างประเทศ ดังนั้นหน้าที่ของนักข่าว จึงต้องดึงความมีส่วนร่วมของผู้บริโภคสื่อ ตั้งแต่กระบวนการผลิต ทั้งการเลือกประเด็นข่าว และการนำเสนอ เพื่อความลึกและกว้าง รวมถึงความรวดเร็วในการนาเสนอข่าวสาร

“ขณะ นี้มีแพล็ตฟอร์มเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สื่อจะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ซึ่ง 3-5 ปีข้างหน้า สื่อสิ่งพิมพ์จะหายไปจากวงการสื่อไทย เช่นที่เกิดขึ้นในอเมริกา เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยนไป” นายมานะกล่าว

นาย มานะ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันนักข่าวจะต้องทำหน้าที่ ในการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารอย่างรอบคอบมากขึ้น มีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้ ก่อนที่จะนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้นๆ เพื่อคงความน่าเชื่อถือของการเป็นสื่อมวลชน

นายวิชัย วรธานีวงศ์ ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โลกยุคดิจิตอลทำให้การสื่อสารมีความสะดวก สบายมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารมีการเชื่อมโยงถึงกัน และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีทั้งข่าวจริง ข่าวลวง และข่าวปล่อย เกิดขึ้นจำนวนมาก เพื่อสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในสังคม ขณะที่พฤติกรรมผู้รับสารได้เปลี่ยนไป โดยมักจะมีการบอกต่อ รีวิว ข่าวนั้นๆในโลกโซเซียล จากเดิมที่จะเป็นเพียงผู้เสพสารอย่างเดียวเท่านั้น ในขณะที่ระยะเวลาความสนใจในการรับสารสั้นลง จึงทำให้ความเร็วในการนำเสนอข่าวเป็นเรื่องสำคัญ

“นัก ข่าวในฐานะผู้ทำหน้าที่ด่านหน้าในการคัดกรองข้อมูลข่าวสาร จึงต้องมีการปรับตัวให้สอดรับกับกระแสที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้านก่อนนำเสนอต่อสาธารณะชน และต้องยึดมั่นในจรรณบรรณวิชาชีพการเป็นสื่อมวลชนที่ดี” นายวิชัยกล่าว

ด้าน น.ส.วลัยพร ตอมพุดซา รีไรเตอร์ สถานีโทรทัศน์ Money Channel บอกว่า ปัจจุบันสื่อและโครงสร้างสื่อเปลี่ยนไป โดยเป็นอุตสาหกรรม และมีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นเมื่อเทียบจากอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นการรักษาไว้ซึ่งจรรณยาบรรณ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากขึ้น

“ส่วน ตัวเห็นว่า เรื่องของจรรณยาบรรณกับความเป็นมืออาชีพ เป็นคนละประเด็น โดยความเป็นมืออาชีพ คือขีดความสามารถ ทักษะ ในการทำงานตามความต้องการของแต่ละอาชีพ เช่น การทำข่าวทีวี นอกจากการคัดเลือกประเด็นข่าวและการเขียนข่าวให้ถูกต้องตามรูปแบบ ยังอาจต้องรู้ด้านเทคนิคด้วย เช่น มีความรู้เรื่องมุมกล้อง แสง การลำดับภาพหรือแม้กระทั่งการมิกซ์ภาพและเสียงด้วย” น.ส.วลัยพรกล่าว

น.ส.วลัย พรยังกล่าวว่า ส่วนจรรยาบรรณจะเป็นกรอบการดำเนินงาน เพื่อให้การทำหน้าที่สื่อมวลชนมีความน่าเชื่อถือ ทั้งการให้เกียรติและเคารพความจริงและประชาชน การมีจุดยืนที่ชัดเจน เปิดกว้าง และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ถือเป็นจรรณยาบรรณที่นักข่าวควรจะต้องมี.

 

 

 

ขอบคุณที่มา http://www.isranews.org/isranews

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ