วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ปลดล็อคฟรีทีวี : คนดูเสรีเพราะมีทีวีดิจิทัล

Spread the love

ปลดล็อคฟรีทีวี : คนดูเสรีเพราะมีทีวีดิจิทัล

 

ทีวีดิจิทัลคืออะไรอยากให้อธิบายอย่าง  

   ง่ายๆชาวบ้านฟังแล้วเข้าใจ ?
อดิศักดิ์: เปรียบเทียบนะปัจจุบันประเทศไทยที่ผ่านมามีตลาดเก่ามีอยู่ 6 แผงก็คือ 6 ช่องมีมา 50 ปีแล้วไอ้แผงที่ 6คือ Thai PBS เกิดขึ้นหลังสุดแต่ก็ขายของไม่ได้ได้แต่โชว์แผงที่ขายของดีคือช่อง 3 ช่อง 7 ครองส่วนแบ่งตลาด70-80 เปอร์เซ็นต์คนดูเยอะมีละครดราม่าคนดูเยอะ
     ต่อมาเมื่อ 5 ปีที่แล้วเกิดการบูมของจานดาวเทียมกับเคเบิลท้องถิ่นเปรียบเสมือนหาบเล่แผงลอยเกะกะมีอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองเนื้อหาที่ดีก็มีที่ไม่ดีก็มีแต่เนื้อหาที่ดีมันถูกจำกัดเพราะตลาดมีแผงขายอยู่แค่ 6 แผงขณะที่คนผลิตเยอะมันก็ต้องออกไปที่อื่น
     ในช่วงระหว่างนั้นมีการออกกฎหมายเรียกว่าพรบ.วิทยุโทรทัศน์ระบุว่าให้จัดตั้งเป็นองค์กรขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบจึงทำให้เกิดตลาดใหม่เป็นระบบดิจิทัลก็เหมือนกับปรับปรุงตลาดเก่าให้เป็นระเบียบอย่างดี  ติดแอร์ให้คนมาประมูล24 แผงขายก็คือ 24 ช่องเป็นช่องธุรกิจและอีก 12 ช่องที่เป็นสาธารณะของหน่วยงานราชการและยังมีอีก 12 ช่องที่อยู่ในชุมชนคือขายสินค้าโอท็อปเรียกว่าทีวีชุมชนออกอากาศในรัศมี 50 กิโลเมตรแต่ 24 ช่องธุรกิจกับ 12 ช่องสาธารณะสามารถดูได้ทั่วประเทศแต่ช่องสาธารณะไม่ต้องประมูลเขาก็จัดสรรที่ให้เลยส่วนชุมชนเขาก็ให้เฉพาะชุมชนฉะนั้นตอนนี้น่าจับตาที่การประมูล 24 ช่องธุรกิจนี้
จะเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างไร ?
อดิศักดิ์ : เกิดแน่นอนเพราะผู้บริโภคจากเดิมเขามีทางเลือกน้อยไป  ได้ซื้อของแค่ 6 แผงสินค้าก็จำเจเปรียบเหมือนผังรายการของ 6 ช่องที่เหมือนเดิมตลอดไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงละครก็น้ำเน่าเหมือนเดิม
มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้อง   
    เปลี่ยนเป็นทีวีดิจิทัล ?
อดิศักดิ์ : มีความจำเป็นมากเพราะจากเดิม 1 คลื่นความถี่มีได้ 1 ช่องแต่ถ้าเป็น 1 คลื่นความถี่ของดิจิทัลมีได้ 4ช่อง 6 ช่องซึ่งคุ้มค่ากว่าและมีความคมชัดมากกว่าระบบทีวีดิจิทัลเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะระบบทีวีอนาล็อกเขาผลิตแล้วอุปกรณ์ในปัจจุบันนี้มันก็ไม่ได้เป็นแบบอนาล็อก
คิดว่าผู้บริโภคจะเปลี่ยนมาดูใน
   ระบบดิจิทัลหรือไม่เพราะส่วนใหญ่ติด 
   จานดาวเทียมกันอยู่แล้ว ?
อดิศักดิ์ : จานดาวเทียมมีข้อจำกัดเข้าถึงได้ประมาณ 50 -60 เปอร์เซ็นต์กับเคเบิลและไม่สามารถที่จะยกออกมาจากนอกบ้านได้แต่ดิจิทัลทีวีเป็นเหมือนคลื่นความถี่ภาคพื้นดินเอาทีวีมาก็เปิดได้เลยทีวีที่รองรับระบบดิจิทัลจะมีจูนเนอร์ที่สามารถเปิดและดูได้อย่างนี้มันก็ดูง่ายขึ้นดูในรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงก็ดูได้ถ้าเป็นระบบดิจิทัลทีวีดูได้หมดถ้าเป็นทีวีดาวเทียมมันดูไม่ได้
แล้วตลาดดาวเทียมจะมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ?
อดิศักดิ์ : พูดง่ายๆพอดิจิทัลทีวีมากสทช.ก็จะเข้ามาจัดระบบดาวเทียมเหมือนหาบเล่แผลงลอยจะถูกขีดเส้นว่าเอาขายเฉพาะตรงนี้นะห้ามออกมานอกเส้นนะมีข้อจำกัด
     ก็ดีถ้าเขาไปเล่นงานช่องที่ขายยาขายอะไรหรือนำเสนอภาพที่รุนแรงหรือยั่ว
กามรมณ์
     การจัดระเบียบขีดเส้นเช่นนี้เป็นเรื่องดีแต่เป็นห่วงเพราะช่องขายของมันเยอะและไม่มีกำลังคนที่ตรวสอบกำกับดูแลเพียงพอสำหรับบ้านที่ติดจานดาวเทียมอยู่เขาก็ยังดูต่อไปไม่เป็นไรเมื่อทีวีดิจจิทัลเกิดขึ้นก็ยังคงดูผ่านดาวเทียมได้
ผู้บริโภคจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง
    เพื่อรับระบบทีวีดิจิทัล ?
อดิศักดิ์ : ถ้าบ้านไหนมีเสาก้างปลามีโทรทัศน์แบบเดิมอยู่ก็เพียงแต่ซื้อท็อปบล็อกราคาประมาณ 1,000 บาทซึ่งกสทช.จะแจกคูปองส่วนลดหลังประมูลเสร็จแต่จริงๆแล้วมันไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอกเพราะว่าถ้าจะเปลี่ยนโทรทัศน์เครื่องใหม่มันก็มีโทรทัศน์ที่เป็นจูนเนอร์ที่ถูกบิวท์อิน (ใส่เครื่องรับสัญญาณในตัวเครื่อง) เข้าไปแล้วนั่นหมายความว่าเราซื้อมาเราสามารถดูในระบบดิจจิทัลได้เลย
ผู้ประกอบการได้ประโยชน์อะไรบ้างกับ
   ทีวีดิจิทัล ?
อดิศักดิ์ : ผู้ผลิตรายการจากเดิมต้องไปอ้อนวอนพวกช่อง 3 7 9 จ่ายเงินใต้โต๊ะต่อไปนี้ช่องต้องมาง้อผู้ผลิตรายการดีๆให้ไปทำรายการเพราะช่องมีเยอะขึ้นและยังมีหน่วยราชการที่อาจจะมาจ้างอีกในขณะที่เอเจนซี่โฆษณาจากเดิมต้องไปง้อช่อง 3 5 7 9 เพื่อลงสื่อโฆษณาของตนราคาโฆษณาก็แพง
     การที่ราคาโฆษณาแพงทำให้ผู้บริโภคไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วเวลาไปซื้อของมักถูกบวกค่าโฆษณาไปด้วยแต่ถ้าค่าโฆษณามันต่ำลง
ราคาของก็อาจจะลดลงเป็นผลตามกลไกการตลาดเมื่อราคาโฆษณาต่ำลงก็ทำให้ต้นทุนโดยรวมต่ำลงด้วย
     ทุกวันนี้ช่อง 3 กับช่อง 7 บงการได้ทุกอย่างเลยไม่ถูกใจค่ายละครนี้ก็ไม่ให้ทำละครฉายไปครึ่งเรื่องปิดไปเฉย-เซ็นเซอร์ปิดไม่ให้ดูผมเชื่อว่าการมี 24 ช่องธุรกิจทำการแข่งขันกันจะทำให้แต่ละช่องใช้วิจารณญาณของตัวเองยกตัวอย่างซีรีย์ฮอร์โมนผมฟังผู้บริหารของช่อง 3 7 และผู้บริหารของ  RS และ GMM คุยกันว่าซีรีย์อย่างนี้มันออกฟรีทีวีได้ไหมในทัศนคติของช่อง 3 และช่อง 7 เขาบอกว่าออกไม่ได้หรอกแรงไปแต่ถามฝั่ง RS และ GMM เรื่องนี้มันเด็กๆมากเลยถ้าเราได้ทำเราจะทำมากกว่านี้เพราะมันเป็นเรื่องจริง
ช่อง 3 ช่อง 7 เป็นระบบสัมปทานการตัดสินว่าคุณทำผิดหรือไม่บางทีมันใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลของรัฐมนตรีของผบ.ทบ. ผอ.ช่อง 5,ผอ. ช่อง 9 ที่กลัวผิดสัมปทานกลัวถูกถอนออกจากช่องเพราะระบบสัมปทานที่ถูกผูกขาด
     การมีกลไกทางกฎหมายรองรับว่ากสทช.จะออกคำสั่งยุติรายการนั่นนี่ทำได้โดยมีกระบวนการไม่ได้ใช้การตัดสินส่วนบุคคล  พอเป็นอย่างนี้คนที่ได้เป็นคนรับอนุญาตเขาก็จะไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มั่นคงแต่จะรู้สึกโอเคว่ามีกฎหมาย
   ประเทศที่เจริญแล้วมันต้องมีกฎหมายถ้าเดินตามกฎหมายทุกคนก็โอเคและสามารถโต้แย้งได้เพราะมีศาลปกครองเราก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปเชื่อคุณร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ถ้าช่อง 3 ช่อง 7 ไม่มีใครกล้าหือผอ.ช่อง 9 บอกผิดเป็นถูกก็ต้องนั่นแหละถูกต้องแล้ว
     การเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกสู่ดิจิทัลจะเป็นผลดีในระยะยาวถึงแม้ระบบสัมปทานของช่อง 3 และช่อง7 ยังไม่หมดแต่เมื่อมันมีช่องใหม่เข้ามาแข่งขันเขาจะอยู่นิ่งไม่ได้แล้วจะทำละครแบบเดิมไม่ได้แล้วเพราะมันมีทางเลือกมากขึ้นอาจจะได้ในระยะต้นๆเพราะโครงข่ายมันยังไปไม่ถึงเท่าไหร่แต่ในระยะยาวเมื่อประชาชนมีทางเลือกทีนี้กลไกทางการตลาดมันจะทำงาน
รู้สึกเป็นห่วงอะไรหรือไม่กับการเปลี่ยน
   ผ่านจากระบบทีวีอนาล็อกมาเป็น
   ทีวีดิิจิทัลในครั้งนี้ ?
อดิศักดิ์ : ผมกังวลที่ทำงานของกสทช. ตอนนี้ออกกฎระเบียบเยอะเหลือเกินที่ออก
กฎระเบียบเยอะก็เพื่อให้ตัวเองดูมีอำนาจบางเรื่องมันไม่ใช่หน้าที่ของกสทช. อย่างศูนย์กลางเซ็นเซอร์จริงๆรัฐธรรมนูญเขาออกระบบไม่ให้มีการเซ็นเซอร์แล้วคุณก็พยายามที่จะใช่อำนาจเดี๋ยวเรียกคนทำฮอร์โมนไปเดี๋ยวเรียกคนทำนั่นนี่ไปมันเป็นการใช้อำนาจที่เยอะเกินไปนี่ก็คือความเสี่ยง
     ในต่างประเทศองค์กรแบบกสทช. ไม่มีแล้วนะเขากำกับดูแลกันเององค์กรแบบกสทช.มีหน้าที่แค่ออกใบอนุญาตเขาออกใบอนุญาติให้เพราะคลื่นมันเป็นสมบัติสาธารณะใช่ไหม? คุณออกใบอนุญาติคุณให้ผลประโยชน์แก่รัฐเท่าไหร่นี่คือหลักสำคัญ
ขอบคุณภาพและข่าว
cnxnews รายงาน