วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

นิทรรศการประมง 4 ภาค

Spread the love

             “ประมงไทย รับรู้ สู้ภัยพิบัติ ยืนหยัดสู่อาเซียน”

กรมประมง ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ จัดนิทรรศการประมง 4 ภาคในหัวข้อ “ประมงไทย รับรู้ สู้ภัยพิบัติ ยืนหยัดสู้อาเซียน” หวังให้เกษตรกรมีความรู้ รับมือผลกระทบสภาวะโลกร้อน พร้อมจัดเสวนาเสริมทักษะพัฒนาศักยภาพประมงอาสา

เมื่อวันที่ 29 พ.ค.56 ที่ผ่านมา เวลา 10.00 น.ที่ห้องแกรนด์ภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดนิทรรศการประมง 4 ภาค ในหัวข้อ “ประมงไทย รับรู้ สู้ภัยพิบัติ ยืนหยัดสู่ อาซียน” โดยมีนายเชวงศักด์ เร่งไพบูลย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี ภายในงานได้จัดให้มีนิทรรศการแสดงพันธุ์ปลาท้องถิ่นหายาก หรือสัตว์น้ำเศรษฐกิจประจำถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ ปลาเทราต์ ซึ่งเป็นปลาในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเลี้ยงเป็นรายได้ โดยในระยะแรกนำมาทดลองเลี้ยงที่สถานนีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ เป็นปลาน้ำจืดที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณภูมิต่ำ และเป็นปลาราคาแพง สำหรับปลาเสตอร์เจี้ยน ที่นำมาจัดแสดงภายในงาน เป็นปลาที่สามารถนำไข่ มาผลิตคาเวียร์ได้ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและทดลองเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีต่อไป

นายเชวงศักด์ เร่งไพบูลย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรที่ประกอบอาชีพเพาะสัตว์ถึง 592,000 รายโดยตรง ที่จะต้องปรับตัวให้สามารถอยู่ในภูมิภาคนี้ได้และไม่เสียเปรียบ ดังนั้นกรมประมงในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่ ที่ต้องให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกทางเศรฐกิจ จึงได้จัดงานนิทรรศการประมง 4 ภาค ได้แก่ ภาคกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น และภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดเดือนพฤษภาคม 2556 เพื่อให้ความรู้เกษตร ในหัวข้อ “ประมงไทย รับรู้ สู้ภัยพิบัติ ยืนหยัดสู่อาเซียน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ 1.เตรียมพร้อมในการรับมือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้งโรคระบาดสัตว์น้ำ 2.เตรียมความพร้อมสำหรับเกษตรกรและประมงอาสา ให้ความรู้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3.เสริมสร้างทักษะและศักยภาพของเกษตรกรและประมงอาสาที่สามารถเป็น Smart farmer ได้. จังหวัดเชียงใหม่มีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 12,468 ราย มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมาณ 9,355 ไร่ และมีพื้นที่ทำการประมงน้ำจืด ประมาณ 1,394,515 ไร่ ผลผลิตสัตว์น้ำของจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 18 ตันต่อวัน ปริมาณความต้องการบริโภคสัตว์น้ำในจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 40 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือนำเข้าจากต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง นครสวรรค์ สุพรรณบุรี พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เป็นต้น ปลาน้ำจืดที่นิยมบริโภค 5 อันดับแรกได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก ปลาช่อน และปลาสวาย ชนิดปลาที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงมากที่สุดได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลากดหลวง ปลาสวาย เป็นต้น.

 

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ