วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส บรรยายอนาคตประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก

07 พ.ย. 2012
334
Spread the love

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก บรรยายเชิงวิชาการในหัวข้อ อนาคตประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก บรรยายเชิงวิชาการในหัวข้อ อนาคตประเทศไทยในเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ก้าวผ่านเศรษฐกิจยุโรป พร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร. กิริฏา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ได้บรรยายวิชาการเกี่ยวกับอนาคตไทยในเศรษฐกิจโลกให้กับนักศึกษาว่า การพัฒนาของไทยใน 25 ปีที่ผ่านมา ได้ขยับสถานะจากที่มีรายได้ต่ำ เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางรายได้สูง เปลี่ยนเป็นประเทศที่เน้นโครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อัตราความยากจนลดลงจากกว่าร้อยละ 40 เป็นน้อยกว่าร้อยละ 10 มีอัตราการเข้าโรงเรียนชั้นประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 100 และอัตราการเกิดน้อยกว่าร้อยละ 1 ต่อปี ประเทศไทยทำได้โดยการรักษาระบบเศรษฐกิจและเปิดนโยบายการแข่งขันโดนเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิต การค้า และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและมีสภาวะเศรษฐกิจมหาภาคที่มั่นคงและมีบรรยายการลงทุนที่เอื้อต่อนักลงทุน แต่ว่าการพัฒนานี้มีอัตราที่ช้าลงใน 5 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลง และมีอันดับความสามารถในการแข่งขันลดลง การปฎิรูปครั้งใหญ่จึงมีความจำเป็นในการทำสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้ดีขึ้น

โอกาสและความท้าทายของคนไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไปเพราะวิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์และยูโรโซน ทำให้อัตราทางเศรษฐกิจลดลง จากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปราะบางและคาดการว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปในอนาคต ด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าที่คาดการไว้ก่อนหน้า เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยาง น้ำตาล และข้าวซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นการท้าทายของไทย เช่น ด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วและตลาดในประเทศจีน ด้านราคาสินค้าเกษตรหลักที่ต่ำลง เช่น ข้าว ยางพารา ด้านการแข่งขันจากประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่กำลังจะก้าวขึ้นมาใกล้เคียงกับประเทศไทยโดยเฉพาะจีน และด้านความเสี่ยงกับภัยพิบัติทางธรรมชาติมากขึ้น จากการเติบโตของการส่งออกของไทยและการเติบโตของการส่งออกของสหภาพยุโรปมีอัตราการส่งออกใกล้เคียงกับการเติบโตของการส่งออกของไทยสู่สหภาพยุโรป จีน และอาเซียน ด้านโอกาสของไทย โลกมีการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางโดยเฉพาะในจีนทำให้กำลังซื้อสูงขึ้น , มีการลงทุนและทุนเคลื่อนย้ายในเอเชียตะวันออกมากขึ้น  , มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและการเปิดกว้างมากขึ้น (AEC และ FTAs) และราคาพลังงานเพิ่มในอัตราที่ช้าลง โอกาสทางการค้าควรจะเพิ่มขึ้นถึงแม้การเติบโตของจีนจะช้าลง โดยคาดว่าการชะลอตัวของจีนภายในปี 2573 จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 5 และอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณร้อยละ 6.6 การเติบโตและการขยายขนาดเศรษฐกิจโลกในปี 2573 แทบได้กับ 15 เท่าของเศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันและในปี 2573 จีนจะเป็นประเทศรายได้สูงที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา โดยโอกาสทางการค้าจะเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้สูงขึ้น ด้านการปรับสมดุลของจีนมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการค้า โดยการปรับสมดุลอาจนำไปสู่อุปสงค์ที่มากขึ้นของสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้ามาในจีนและนำไปสู่อุปสงค์ของการบริการที่มากขึ้นในจีน การที่จีนยกระดับห่วงโซ่แห่งคุณค่าขึ้น จะส่งแรงกดดันต่อประเทศอื่นที่ดำเนินการในแบบเดียวกัน จากการที่จีนเตรียมความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดประเทศที่สาม และการลงทุนชั้นดีโดยตรงจากประเทศจะเข้ามาในจีนทำให้เกิดผลกระทบโดยจะขยายส่วนแบ่งตลาดได้ยากขึ้นและเป็นการสร้างขีดจำกัดในการยกระดับห่วงโซ่แห่งคุณค่า

ประเทศไทยต้องทำอย่างไรเพื่อประสบความสำเร็จใน “การจัดระเบียบโลกใหม่” ? 1. ไทยควรทำอะไรเพื่อรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยาวนาน โดยทำให้แน่ใจว่ามีมาตรการทางการคลังรองรับมากเพียงพอหากมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงรัฐบาลต้องใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ , เร่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AEC 2558 จีนและอินเดีย , แสวงหาตลาดใหม่โดยเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและการแข่งขันเพราะการแข่งขันทางการค้าของโลกเพิ่มสูงขึ้น  2.ไทยต้องพาตัวเองให้หลุดพ้นจาก “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง” และมีการเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม การหลุดพ้นจาก “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง” โดยระบบการศึกษาและการฝึกอบรมต้องสามารถเตรียมกำลังแรงงานให้พร้อมสำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ , หยุดการปกป้องภาคบริการเพื่อความสามารถในการผลิตและการเติบโตที่ดีขึ้น ด้านการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมคือการลดความยากจนอย่างต่อเนื่องและลดความไม่เท่าเทียมของรายได้และโอกาส

และยังกล่าวต่ออีกว่า ผลการเรียนของนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุง โดยคะแนนเฉลี่ยของโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ของประเทศในกลุ่ม OECD และประเทศไทย ทราบว่า ในปี 2003-2006 คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในประเทศไทยลดลงและในปี 2006-2009 คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเท่ากับปี 2003 ส่วนคะแนน PISA ในกรุงเทพ ฯ เมื่อเทียบกับในสหรัฐอเมริกาถือว่าใกล้เคียงกันแต่คะแนน O-NET ต่ำที่สุดของประเทศไทยคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศไทยต้องพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ เทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษ สำหรับเหตุผลที่บริษัทในประเทศไทยไม่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพราะขาดแคนบุคลากรที่มีคุณภาพสร้างขีดจำกัดให้บริษัทในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 66 ในการมุ่งสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งลดลงจากปี 2543 ถึง 6 อันดับต่างจากประเทศจีน และเวียดนามที่มีอันดับการมุ่งสู่เศรษฐกิจฐานความรู้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แนวโน้มของโลกด้านการค้าและภาคบริการจะมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในการค้าโลก แต่ธุรกิจด้านบริการของประเทศไทยเติบโตขึ้นค่อนข้างช้า.

สำนักข่าว 
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน