วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

ทึ่ง! มช.ใช้สาหร่ายผลิต ‘ไบโอดีเซล’

06 ม.ค. 2013
408
Spread the love

ทึ่ง! มช.ใช้สาหร่ายผลิต ‘ไบโอดีเซล’

 

มช.วิจัยสาหร่าย นำมาใช้ทำ ‘ไบโอดีเซล’ คาดแล้วเสร็จภายในปี 56

 

                          6 ม.ค. 56  รศ.ดร.ยุวดี พีรพรพิศาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยเรื่องพลังงานชีวภาพของสาหร่ายขนาดเล็ก จากบริษัท แอลวีเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) โรงงานปูนซีเมนต์ ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก ซึ่งหากนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กจะทำให้เจริญอย่างรวดเร็ว และจะนำมวลของสาหร่ายมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งคาดว่างานวิจัยในเรื่องนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้แน่นอน

โดยสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) ที่พบเห็นทั่วไปทั้งในน้ำและบนบก หรือในอากาศในรูปของสปอร์ แต่ที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือในน้ำ ซึ่งเรียกสาหร่ายขนาดเล็กนี้ว่า แพลงก์ตอนพืช โดยจะดำรงชีวิตด้วยการสังเคราะห์แสง ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นวัตถุดิบ และให้ผลลัพธ์เป็นน้ำตาล ซึ่งจะเป็นอาหารของพืชและก๊าซออกซิเจน และจากใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการสังเคราะห์แสงจึงช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มก๊าซออกซิเจนให้กับแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมได้

ขณะเดียวกันสาหร่ายขนาดเล็กยังนำมาเป็นพลังงานได้ ทั้งเซลล์ของสาหร่ายที่มีกรดไขมันค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเทียบกับพืชราว 20% แต่บางชนิดอาจสูงถึง 60-70% ซึ่งหากเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเหล่านี้ได้เป็นปริมาณมากและนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (esterification) ในที่สุดจะได้ไบโอดีเซล ใช้เป็นน้ำมันเต็มรถยนต์ หรืออาจจะใช้กระบวนการทางกายภาพโดยการเผาด้วยความร้อนสูงที่เรียกว่าไพโรไลซิส (pyrolysis) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อนในสภาวะไร้อากาศและได้น้ำมันก็ออกมาเช่นกัน

ทั้งนี้ สาหร่ายขนาดเล็กได้เปรียบพืชน้ำมัน ทั้งมีกรดไขมันสูง ยังเพาะเลี้ยงง่าย ใช้สารอาหารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เก็บเกี่ยวได้เร็วราว 2-3 สัปดาห์ น้ำเลี้ยงสาหร่ายยังสามารถเลี้ยงรุ่นต่อไปได้อีกหลายครั้ง และการเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กใช้พื้นที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับการปลูกพืชน้ำมันชนิด จึงได้เกิดการวิจัยอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศแถบทวีปอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย แม้กระทั่งในเอเชีย ขณะที่ในประเทศไทยก็พบว่ามีกลุ่มนักวิจัยที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายน้ำมันหรือน้ำมันจากสาหร่ายมาเป็นระยะเวลาที่นานพอและผลวิจัยอยู่ในระดับที่นำพึงพอใจ เชื่อว่างานวิจัยดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์

 

ขอบคุณภาพและข่าว จาก http://www.komchadluek.net

Linkข่าว

http://www.komchadluek.net/detail/20130106/148780/%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%21%E0%B8%A1%E0%B8%8A.%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5.html#.UOkfBORFVhA

 

 

สำนักข่าว 
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน