วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ค่าแรง 300 ช้ำไม่หยุด อุตสาหกรรมผนึกชื่อ 70 จังหวัด ค้านขึ้นต้นปีหน้า

Spread the love

ค่าแรง 300 ช้ำไม่หยุด อุตสาหกรรมผนึกชื่อ 70 จังหวัด ค้านขึ้นต้นปีหน้า ทำแรงงานจ้องกลับบ้านแน่

 

ค่าแรง 300 ช้ำไม่หยุด อุตสาหกรรม ผนึกชื่อ 70 จังหวัด ค้านขึ้นต้นปีหน้า  ทำแรงงานจ้องกลับบ้านแน่

Mthainews: นำร่อง 7 จังหวัดก่อนหน้านี้กับค่าแรง 300 บาท ทั้งกรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ และจังหวัดภูเก็ต ยังมีบางส่วนที่บกพร่องทั้งระบบขั้นรุนแรง ทำให้ผู้ประกอบการ (เอกชน) ปิดบริษัทลงหลายบริษัท หนำซ้ำลูกจ้างยังไม่สามารถเบิกเงินครบตามที่มีประกาศบังคับใช้กับผู้ประกอบการ

ล่าสุด รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้านนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2555 ต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อยืนยันว่า ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากนโยบายนี้ และไม่เห็นด้วยกับ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ออกมาอ้างว่าเอกชนไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง

จังหวัดทั้ง 70 จังหวัด ต้องการให้นายกรัฐมนตรีรับทราบความเดือดร้อน และหามาตรการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา เช่นเดียวกับ นโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร อาทิ นโยบายรับจำนำข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เพราะภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญไม่ต่างกับภาคเกษตร

ดังนั้นอาจออกมาตรการช่วยในระยะแรกเช่น จ่ายค่าแรงส่วนต่างให้กับ ภาคเอกชน เพื่อลดผลกระทบโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีสัดส่วนถึง 90% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ เพราะยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งปัจจุบันแม้เปิดกิจการอยู่เพราะพยายามประคอง กิจการ ในลักษณะหลังชนฝา

ซึ่งหากจับตาดูกันเข้าจริง ๆ แล้วประธานอุตสาหกรรมจังหวัดต่างไม่พอใจอย่างมาก แต่สำหรับข้อเสนอที่มีต่อนายกรัฐมนตรีก็ประกอบด้วย

1.ต้องการให้รัฐบาลคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เพราะกระทบต่อความสมารถของผู้ประกอบการในภูมิภาค โดยเฉพาะเอสเอ็มอี และหากเศรษฐกิจมีความผันผวนรุนแรงจนกระทบต่อค่าครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนได้ตามความเหมาะสม
2.ต้องการให้มติการขึ้นค่าจ้างปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
3.ลูกจ้างต้องจบการศึกษาขั้นต่ำ ประถมศึกษาปีที่ 4 มีใบประกาศหรือเอกสารยืนยันรับรองจากกระทวงศึกษาธิการ
4.หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำและปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด
5.รัฐบาลต้องมีโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม

แต่ผลกระทบที่เรา ๆ แทบไม่รู้นั้น หากมาดูกันจริง ๆ หลายฝ่ายก็ตั้งข้อคิดไว้คงไม่พ้น การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งราคา Intermediate goods และ final goods โดยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์รวมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตสินค้าของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นตามแรงกดดันของราคาสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

หากรัฐบาลไม่มีมาตรการควบคุมแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เหมาะสม ปัจจัยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว จะส่งผลให้อุปสงค์โดยรวมในระบบเศรษฐกิจลดลง ซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะกดดันให้ระดับผลผลิตลดลงได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากมาตรการคุมเงินเฟ้อของภาครัฐ  มีประสิทธิภาพ ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะเป็นเพียงชั่วคราว

การปิดกิจการและปัญหาการเลิกจ้าง เนื่องจากนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีสัดส่วนต้นทุนในส่วนของการจ้างแรงงานต่อต้นทุนรวมในระดับสูง โดยจากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการบางส่วนจำเป็นต้องปิดกิจการ หากไม่มีมาตรการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวอาจเพิ่มแรงกดดันให้ผู้ประกอบการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมากได้

ส่วนปัญหาสุดท้ายคงไม่พ้นการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตที่มีค่าจ้างสูง เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล (ที่กำลังเป็นปัญหา) และตามเขตในเมืองใหญ่ เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงคือ ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน เนื่องจากการดำเนินการปรับนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันนั้น จะมีการดำเนินการทั่วประเทศ แรงงานบางส่วนกลับไปภูมิลำเนาเดิม ซึ่งอาจทำให้โรงงานอุตสาหกรรมในเขตที่มีค่าจ้างสูง ขาดแคลนแรงงานในระยะสั้นอย่างรวดเร็วได้

 

ขอบคุณข่าวและภาพ จาก MThai News

สำนักข่าว

cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน