วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

ครู-นักเรียน จวกเละบนโลกออนไลน์ ค้านนโยบาย“พงศ์เทพ”ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

Spread the love

ครู-นักเรียน จวกเละบนโลกออนไลน์ ค้านนโยบาย“พงศ์เทพ”ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ  ได้มีการประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเพื่อรับฟังนโยบายเตรียมความพร้อมรับเปิดภาคเรียน 2556 ว่า  ตนได้มอบนโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กให้ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา นำไปดำเนินการ   โดยถ้าโรงเรียนขนาดเล็กแห่งใดอยู่ในข่ายไม่จำเป็นต้องคงอยู่ก็ให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนั้น   โดยโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในข่ายควรยุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมาก  เป็นโรงเรียนที่ด้อยคุณภาพและมีโรงเรียนใกล้เคียงที่มีคุณภาพรองรับ และโรงเรียนขนาดเล็กที่จะถูกยุบมากถึง 14,816 โรงเรียน เมื่อวันที่ 8 พ.ค.56 และภายหลังจากที่มีข่าวออกมาก็ได้มีเสียงวิภาษณ์วิจารณ์จากครู-นักเรียนผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นบนโลกออนไลน์ว่าเป็นนโยบายทำลายชาติแบบถาวรหรือไม่อยู่ในขณะนี้

ครูผู้ด้วยโอกาสท่านหนึ่งใช่ชื่อว่า “ครูต๊ะ”ได้โพสลงเฟสบุ๊คส่วนตัวถึงแนวนโยบายเรื่องนี้ว่าจากข่าวที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ได้เปิดเผยถึงนโยบายของตนในปี 2556 ที่ได้มอบหมายให้ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ไปดำเนินการ

คือ ให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมาก (โรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยมากของท่านก็คือ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คน มีทั้งหมด 14,816 โรง โดยมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 60 คน มีทั้งหมด 5,962 โรง แยกเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวน 709 โรง ,มีนักเรียนตั้งแต่ 21-40 คน จำนวน 2,090 โรง , นักเรียน 41-60 คน จำนวน 3,163 โรง)

โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารนั้นมันก็มีเด็กไม่ถึง 120 คนทั้งนั้นแหละ โรงเรียนขนาดเล็กมันไม่มีคุณภาพตรงไหน ดังบทกวีที่ว่า

“โรงเรียนเล็กหรือใหญ่เป็นไรเล่า

ถ้าครูเอาใจใส่ได้ทั่วถึง

พบครูดีทีไรใจคำนึง

ว่าเมืองไทยได้หนึ่งโรงเรียนดี”

โรคสมองกลวงนั้นมันติดต่อลุกลามไปทั่วทั้งคณะรัฐบาลแล้ว การตัดสินคุณภาพของโรงเรียนด้วยขนาด ก็เหมือนกับการดูถูกครูผู้สอนเหล่านั้นนั่นเอง อยากให้ท่านรัฐมนตรีได้มีโอกาสเห็นว่า ครูในโรงเรียนเล็กๆเหล่านั้นเขายอมเสียสละและทุ่มเทกับการศึกษาเพียงใด แต่พออ่านข่าวมาถึงตรงที่บอกว่า รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง จำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อลดการต้าน ต้องชี้แจ้งให้ชุมชนเข้าใจว่า รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่งและไม่สามารถนำงบประมาณจาก เงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียม

แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐ อเมริกา ยังมีการปิดโรงเรียนขนาดเล็กแม้แต่ในเมืองหลวงอย่างกรุงวอชิงตัน ดีซีอยู่บ่อยครั้ง ถ้าเห็นว่า โรงเรียนในย่านใดไม่มีประโยชน์จะคงไว้ แม้มีนักเรียน 60 คน หรือโรงเรียนขนาด 300 คน ยังถูกปิด

อย่างไรก็ตาม การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้จัดระบบรับส่งนักเรียนไว้รองรับแล้ว โดยได้เตรียมงบประมาณไว้จัดซื้อรถตู้ 1,000 คัน สำหรับรับส่งนักเรียนอ่านแล้วสงสาร เด็ก และ ครู ที่ด้อยโอกาสทั้งหลายจริงๆเลย ส่วนในฐานะที่เป็น ครูคนหนึ่ง

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง เช่นที่จังหวัดสมุทรสาครบ้านเกิดของตน มีนักเรียนประมาณ 20 คน และเป็นชาวต่างชาติทั้งนั้น  ก็ต้องถามว่าอย่างนี้จะเปิดไว้ทำไม คุณภาพก็ไม่ได้  ขณะที่โรงเรียนข้างเคียงที่มีคุณภาพก็อยู่ห่างแค่ไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร   ถ้ายุบแล้วย้ายเด็กไปเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักเรียนและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในภาพรวม  แต่อย่างไรก็ตามในการยุบรวมก็จำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อลดการต่อต้านด้วย โดยต้องชี้แจ้งให้ชุมชนเข้าใจว่า รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่งและไม่สามารถนำงบฯจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน  ขนาดประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ยังมีการปิดโรงเรียนขนาดเล็ก แม้แต่ในเมืองหลวงกรุงวอชิงตัน ดีซีก็มีการปิดอยู่บ่อยครั้ง  ถ้าเห็นว่าโรงเรียนในย่านใดไม่มีประโยชน์จะคงไว้ แม้มีนักเรียน 60 คน หรือโรงเรียนขนาด 300 คนก็ยังถูกปิด

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า  การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้จัดระบบรับส่งนักเรียนไว้รองรับแล้ว โดยได้เตรียมงบฯจัดซื้อรถตู้ 1,000 คัน แต่ในบางพื้นที่ ตนเห็นว่า อาจให้เอกชนเข้ามาประมูลรับไปบริหารจัดการแทนได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบฯของรัฐได้มาก ขณะเดียวกันในกรณีที่เด็กย้ายไปโรงเรียนใหม่ซึ่งอยู่ไม่ไกลมาก อาจจะจัดงบฯซื้อจักรยานให้เด็ก  ซึ่งจะเป็นวิธีที่ประหยัดกว่าการจัดรถรับส่ง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังคงอยู่ก็ต้องมีการบริหารจัดการใหม่ ใช้วิธีรวมกลุ่มจัดการเรียนการสอน   นำครูและทรัพยากรมาใช้ร่วมกันเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากขึ้น

ด้านดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (กพฐ.) กล่าวว่า  โรงเรียนขนาดเล็กที่ สพฐ.ตั้งเป้ายุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งก็ต้องไปสำรวจว่ามีจำนวนเท่าใด  ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนทั่วประเทศ มีประมาณ 17,000 โรง จากจำนวนโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 3 หมื่นโรง

 

ทีมข่าว cnxnews รายงาน

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ