คนถือบัตร ATM รีบไปติดต่อแบงก์ครับ เพื่อเปลี่ยนบัตรใหม่เป็น.. ชิปการ์ด ..

Spread the love

scoop2

สกู๊ปพิเศษ CNX NEWS 

คนถือบัตร ATM รีบไปติดต่อแบงก์ครับ เพื่อเปลี่ยนบัตรใหม่เป็น.. ชิปการ์ด ..

 

ท่านผู้อ่านครับ มีข่าวออกมาว่า หลังจากถึงกำหนดให้ลูกค้าธนาคารที่ใช้บัตรเอทีเอ็ม แบบแถบแม่เหล็ก เปลี่ยนไปใช้ บัตรแบบใหม่ ซึ่งเป็นบัตรเดบิตแบบชิป ที่มีความปลอดภัยมากกว่า และ เพื่อรองรับระบบอีเพย์เม้น หรือระบบชำระเงินออนไลน์ ในอนาคต โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.2559 ที่ผ่านมา และให้เปลี่ยนบัตรที่มีอยู่ประมาณ 60 ล้านใบให้เสร็จในปี 2562นั้น

ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และ มีความสงสัยว่าจะต้องไปเปลี่ยนหรือไม่ และจะเสียเงินในการเปลี่ยนบัตรใหม่หรือไม่ และ มีค่าธรรมเนียมอะไรหรือไม่อย่างไร..เรามีความคืบหน้ามาบอกครับ

จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ขณะนี้ธนาคารต่างๆประกาศความพร้อมในการเปลี่ยนบัตรตามนโยบาย กันบ้างแล้ว

แต่ การประชาสัมพันธ์ และให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรมีค่อนข้างน้อย ไม่มีการเปิดเผยว่าในการเปลี่ยนบัตรครั้งนี้จะต้องเสียเงิน หรือว่าสามารถเปลี่ยนฟรีมากนัก ทำให้ยังมีความสับสนกันพอสมควร

และจากที่สำรวจพบว่า  ธนาคาร ไทยพาณิชย์ มีการแจ้งในเพจของธนาคารชัดเจนว่า ลูกค้าของธนาคารสามารถนำบัตรแบบเดิมไปเปลี่ยนได้ฟรี จนถึงวันที่ 31กรกฎาคม 2559 ซึ่งเท่ากับว่า หลังวันที่ 31 กรกฎาคมไปแล้วจะมีการคิดค่าธรรมเนียมสำหรับทำบัตรใหม่ส่วนธนาคารกสิกรไทย ได้ประกาศความพร้อมโดยมีการเปลี่ยนบัตรเป็น 3 แบบ คือ บัตรเดบิต K-Debit card บัตรเดบิต K-My Play บัตรเดบิต K-Max Plusทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่สนใจเปลี่ยนบัตรเดบิตจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นชิปการ์ด สามารถติดต่อที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขาทั่วประเทศได้ตั้งแต่วันนี้ โดยจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า และเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมรายปีตามประเภทของบัตร

ด้าน ธนาคาร กรุงเทพ ออกประกาศ เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรบีเฟิสต์ ธนาคารกรุงเทพ แบบแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท โดย ฟรี! ค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทน* ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ วันนี้ – 31 ธ.ค. 59 แต่มีเงื่อนไขมากมายดังนี้ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทนเฉพาะกรณีการขอออกบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทดแทนบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรบีเฟิสต์ แบบแถบแม่เหล็ก โดยไม่ใช่กรณีที่บัตรหาย ลืมรหัส เปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตร หรือบัตรชำรุดบัตรที่สมัครในเขตนครหลวง สามารถติดต่อขอออกบัตรทดแทนได้ที่ธนาคารกรุงเทพสาขาในเขตกรุงเทพฯ หรือปริมณฑลที่ท่านสะดวก สำหรับบัตรที่สมัครในเขตต่างจังหวัด สามารถติดต่อขอออกบัตรทดแทนได้ที่ธนาคารกรุงเทพสาขาในเขตต่างจังหวัดที่ท่านสะดวกกรณีขอออกบัตรทดแทนเนื่องจากบัตรหาย ลืมรหัส เปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตร หรือบัตรชำรุด ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทน 100 บาท ต่อบัตรธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารประกำหนดกรณีที่ลูกค้าขอออกเป็นบัตรประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท เช่น บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ทแรบบิท บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ทแรบบิทศิริราช

ส่วน ธนาคารกรุงไทยยืนยันว่า สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ถือบัตรแบบแถบแม่เหล็ก ซึ่งมีจำนวนกว่า 12 ล้านใบนั้น ยังสามารถใช้บริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตามปกติจนกว่าบัตรจะหมดอายุหรือไปจนถึงสิ้นปี 2562สำหรับบัตรที่หมดอายุหรือบัตรชำรุดเสียหาย ลูกค้าสามารถเปลี่ยนบัตรหรืออัพเกรดประเภทบัตรได้ โดยไม่เสียค่าทำบัตรได้ที่ทุกสาขาทั่วประเทศ ส่วนค่าธรรมเนียมรายปี ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมตามสิทธิประโยชน์ของบัตรแต่ละประเภท ซึ่งบัตรประเภทคลาสสิก เสียค่าธรรมเนียมรายปีเพียงปีละ 200 บาททั้งนี้ ในการเปลี่ยนบัตร ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในส่วนของค่าธรรมเนียม ให้เป็นไปตามเดิมของแต่ละธนาคาร ซึ่ง ไม่มีการระบุลงไปชัดเจนว่า การเปลี่ยนบัตรเพราะต้องการรักษาความปลอดภัย และรองรับระบบอีเพย์เม้นนั้น จะให้ประชาชนไปเปลี่ยนได้ฟรี ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของแต่ละธนาคาร ที่จะกำหนดเองว่า จะยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือทำบัตรใหม่หรือไม่ ..และ มีการกำหนดช่วงเวลาสำหรับการเปลี่ยนให้ฟรีในบางธนาคารเท่านั้น

         ผมจึงขอสรุปว่า ต่อจากนี้ไป ลูกค่าของแต่ละธนาคารจะต้องสืบหาข้อมูล เพื่อเปลี่ยนบัตรจากแถบแม่เหล็กมาเป็นแบบชิป จากธนาคารที่ใช้บริการเอง มีข่าวว่า ลูกค้าธนาคารจำนวนมาก บ่นกันว่า จากการลองสืบค้นขอมูลในเวปไซต์ของแต่ละธนาคารก็มีการประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยและบางแห่งก็ไม่ได้ประกาศชัดเจนแต่อย่างใด จนมีเสียงพูดกันมากว่าทุกธนาคารพยายามไม่บอกรายละเอียด เพราะต้องการให้ลุกค้าไปติดต่อเอง ทั้งนี้ธนาคารจะมีรายได้จากการเปลี่ยนบัตร ใบละ100บาท หรือบางธนาคารพยายามจะให้บริการฟรี แต่มีเงื่อนไข คือชักชวนให้ทำประกันอุบัติเหตุเสียค่าประกันราวๆ500ถึง600แต่ก็มีบางธนาคารให้บริการฟรี

     ใครเป็นลูกค้าธนาคารไหนก็ติดต่อสอบถามกันนะครับบางคนอาจโชคดีได้ของฟรี  บางคนอาจจะเสียเงิน แล้วแต่ดวงละครับ  ครานี้

ขอขอบคุณข่าว จาก Sanook Money ออนไลน์

อรุณ ช้างขวัญยืน/เรียบเรียง/รายงาน

 

CNX NEWS เจาะข่าว  ตรงใจคุณ